7 มิ.ย. 2021 เวลา 00:07 • สุขภาพ
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง คืออะไร?
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูป (Hallux Valgus หรือ Bunion) คือ การที่นิ้วหัวเเม่เท้าเอียงเข้าหานิ้วชี้มากเกินไป จนทำให้กระดูกนิ้วโป้งเท้านูนออกมา อาจพบว่าหนังบริเวณโคนนิ้วที่ยื่นออกมาอาจเป็นสีแดงซึ่งทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากผิวหนังทั้งที่จริงแล้วมีสาเหตุจากกระดูก เวลาเดินหรือใส่รองเท้าก็จะรู้สึกเจ็บ ทำให้เดินไม่สะดวก
3
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง คืออะไร?
สาเหตุของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
โรคนี้มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่ที่เป็นสาเหตุหลัก
1. ผู้ที่มีโครงสร้างเท้าที่ผิดปกติ
เช่น เท้าแบน หรือกระดูกนิ้วหัวแม่เท้าเอียงออกเอง
2. การสวมรองเท้าที่มีลักษณะหัวเเหลมหรือหัวเเคบเป็นเวลานาน ๆ
เช่น... รองเท้าส้นสูง รองเท้าเเฟชั่นต่าง ๆ สาวออฟฟิศที่ชอบใส่รองเท้าประเภทนี้ไม่ควรประมาท เพราะมันอาจทำให้เกิดถาวะ ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงผิดรูป
3. พันธุกรรมหรือเป็นมาตั้งเเต่กำเนิด
สาเหตุนี้... เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้เเต่เราสามารถป้องกันไม่ให้นิ้วหัวแม่เท้าเอียงมากขึ้น
4. ผู้ที่มีภาวะโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น เกาต์, รูมาตอยด์
อาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
ในระยะแรกที่นิ้วหัวแม่เท้าเริ่มเอียงอาจจะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใด ๆ แต่เมื่อนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มเอียงมากขึ้นหรือเมื่อสวมรองเท้าที่มีหัวรองเท้าแคบบีบรัดอาจเริ่มมีอาการแสดงที่สังเกตได้
1. โคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านนอกปูดออก
2. มีอาการบวมแดงหรือปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า
3. หนังบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าหนาขึ้น
4. นิ้วหัวแม่เท้าเอนไปทางนิ้วอื่น
5. มีอาการปวดต่อเนื่องหรือปวดเป็นพัก ๆ
6. มีตาปลาเกิดขึ้นหากมีการเสียดสีระหว่างนิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้
7. ขยับนิ้วหัวแม่เท้าหรือเดินได้ลำบาก
ในบางกรณี อาจเกิดการปูดบวมที่บริเวณนิ้วก้อยเท้า (Bunionettes) ได้
1
หากมีความผิดปกติดังต่อไปนี้...
"ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา"
- โคนนิ้วหัวแม่เท้าปูดนูนอย่างเห็นได้ชัด
- ปวดนิ้วหัวแม่เท้าหรือเท้า หรืออาการไม่ดีขึ้น
- ขยับหรือเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่เท้าหรือเท้าได้ลดลง
- ไม่สามารถหารองเท้าที่พอดีกับเท้าได้
การรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
การรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ อาการปวด และแรงกดที่หัวแม่เท้า โดยสามารถแบ่งวิธีรักษาออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้
1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด
- เลือกสวมใส่รองเท้าที่พอดีและมีพื้นที่ด้านหน้าเพียงพอที่ไม่ทำให้นิ้วเท้าเบียดแน่นเกินไป
- ใช้แผ่นหรือเทปแปะนิ้วเท้าเพื่อช่วยปรับให้นิ้วเท้ากลับไปอยู่ในตำแหน่งปกติและช่วยลดแรงกดบริเวณที่กระดูกที่ปูดนูนออกมาด้วย
- รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) อาทิเช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen)
- สวมอุปกรณ์พยุงเท้าเพื่อช่วยประคองบริเวณที่มีอาการ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด อย่างการยืนเป็นระยะเวลานาน
- ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการหรือเมื่อใช้เท้าเป็นเวลานานเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหรือบวม
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
ในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดมากขึ้นหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- การตัดกระดูกส่วนเกินออกเพื่อจัดนิ้วเท้าให้กลับไปสู่ตำแหน่งปกติ
- การผ่าตัดเนื้อเยื่อบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าที่มีอาการบวมออกไป
- การผ่าตัดเพื่อจัดเรียงกระดูกบริเวณปลายเท้าเพื่อแก้ไขการเอียงผิดรูปของเท้า
- การผ่าตัดเชื่อมกระดูกในบริเวณข้อนิ้วที่มีอาการ
#สาระจี๊ดจี๊ด
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาตามมาเสมอไป แต่หากไม่ทำการรักษาก็ไม่อาจหายเองได้และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น
- ถุงน้ำป้องกันการเสียดสีอักเสบ (bursitis) คือ การอักเสบของถุงน้ำที่เป็นตัวรองรับการเสียดสีบริเวณกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อใกล้ข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวด
- นิ้วเท้าหงิกงอผิดปกติ (hammer toe) โดยมีสาเหตุจากข้อต่อตรงกลางนิ้วโค้งงอผิดปกติ ทำให้ปวดและมีแรงกด
- อาการปวดและการอักเสบที่ฝ่าเท้า
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
1
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา