Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
indiecator : อินดี้เคเตอร์
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2021 เวลา 15:17 • สุขภาพ
ถอดคำชี้แจงเรื่องวัคซีนโควิด ของนายกประยุทธ์
วันนี้ (15 มิ.ย.) เวลา 14.02 น. เฟสบุ๊ค "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha" โพสต์คำชี้แจงเรื่องวัคซีนโควิดที่มีปัญหาวุ่นวายในช่วงที่ผ่านมา เราลองมาถอดคำชี้แจงและวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นกันครับ
2
ในโพสต์ค่อนข้างยาว ผมขออนุญาตสรุปเฉพาะใจความสำคัญ หากตกหล่นประเด็นใดหรือตีความผิดก็ต้องขออภัย และเสนอแนะติชมกันในคอมเมนต์ได้เลยครับ
นายกเริ่มด้วยการบอกภาพรวมว่า เรากระจายวัคซีนไปแล้ว 7 ล้านโดส ฉีดไป 6.5 ล้านโดส และสัปดาห์ที่ผ่านมา ฉีดไป 2 ล้านโดสในสัปดาห์เดียว ปัจจัยสำคัญคือการกระจายวัคซีน ตรงนี้นายกเข้าใจดี รู้สึกไม่สบายใจในปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามแก้ปัญหาทุกวัน
หลังจากนั้นมีการแจกแจงหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน คือ
1. ศบค. ทำหน้าที่ กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการจัดสรรวัคซีน
2. กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ จัดส่งวัคซีนตามที่ ศบค. กำหนด
3. จังหวัด ทำหน้าที่ จัดสรรวัคซีนภายในจังหวัดของตัวเอง โดยต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่มี จนกว่าจะได้รับวัคซีนในรอบต่อไป เนื่องจากวัคซีนทยอยมาเป็นรอบ และจะส่งออกทันทีที่ได้รับ
(ความคิดเห็น) ย่อหน้านี้เริ่มมีประเด็นครับ การแจกแจงหน้าที่รับผิดชอบ อันนี้เข้าใจ แต่ก็งงๆ กับหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเพียงผู้จัดส่งวัคซีนให้จังหวัด ซึ่งก่อนหน้านี้ทำไมออกตัวแรงเหลือเกิน จนนึกว่ามีอำนาจมากกว่าคนส่งของ
Photo : https://www.sanook.com/news/8396586/
และประเด็นสำคัญคือ เหมือนจะบอกว่าให้จัดสรรและวางแผนฉีดให้เหมาะสมกับวัคซีนที่จะมาในรอบต่อไป
คำถามคือ วัคซีนรอบต่อไปจะมาเมื่อไร แล้วทำไมเราต้องทยอยฉีดไปเรื่อยๆ ทั้งๆที่มีวัคซีนอยู่ในมือแล้ว ความจริงคือ ควรรีบฉีดให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ไม่ใช่หรือ เพราะเราต้องการให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเร็วที่สุด
ต่อมาพูดถึงเรื่อง "สูตรในการจัดสรรวัคซีน" คือ
1. กระทรวงสาธารณสุขจัดส่งให้ทุกจังหวัดทันทีที่ได้รับวัคซีน ยกเว้นจังหวัดที่ฉีดได้ครบตามเป้าหมายแล้ว หรือยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
2. จำนวนวัคซีนที่แต่ละจังหวัดได้รับมีปัจจัยต่างๆที่นำมาคำนวณ คือ จำนวนประชากร จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้จองในระบบ ทั้งหมอพร้อมหรือระบบอื่นๆของจังหวัด และกลุ่มเฉพาะ เช่น อาชีพเสี่ยง พื้นที่เศรษฐกิจ
3. หากวัคซีนไม่พอ ให้แต่ละจังหวัดจัดสรรให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มโรคเสี่ยงที่ลงทะเบียนไว้ก่อน
4. หากต้องชะลอการฉีดระหว่างรอวัคซีน ต้องยึดลำดับเดิมไว้ ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
Photo : https://www.prachachat.net/local-economy/news-640606
(ความคิดเห็น) เห็นสูตรแล้ว อยากเห็นโปรแกรมที่ใช้คำนวณมากครับ งาน Data Mining ต้องมาครับ จบงานนี้น่าจะมีข้อมูลประชาชนที่ลึกล้ำแน่นอน
ส่วนลำดับความสำคัญเป็นอย่างไรไม่ได้บอกไว้ชัดเจน แต่ก็พอจะตีความได้ว่า จัดให้แต่ละจังหวัดตามจำนวนประชากรก่อน แล้วค่อยนำปัจจัยอื่นๆมาคำนวณอีกที
หมายความว่า หากมีการระบาดเกิดขึ้นที่จังหวัดใด หรือเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง จังหวัดนั้นก็จะได้วัคซีนเพิ่ม ซึ่งน่าจะต้องไปลดจำนวนวัคซีนของจังหวัดอื่นลงตามสัดส่วน
ข้อ 3 และ 4 อันนี้ถูกต้องครับ แต่คงต้องมองเป็นรายจังหวัด เพราะถ้ามองภาพทั้งประเทศจะพบว่า บางจังหวัดเริ่มฉีดให้คนทั่วไปแล้ว แต่บางจังหวัดอาจจะยังฉีดให้กลุ่มเสี่ยงไม่ครบ ก็จะมีคำถามว่า ทำไมไม่ฉีดกลุ่มเสี่ยงให้หมดก่อน
ย่อหน้าท้ายๆ นายกพูดถึงการจัดส่งวัคซีนจากผู้ผลิตที่ควบคุมได้ยาก และการแพร่ระบาดในกรุงเทพทำให้เร่งฉีดในพื้นที่นี้ จนอาจไปกระทบผู้ที่ลงทะเบียนไว้ก่อน และย้ำอีกรอบว่าพยายามแก้ไขปัญหาทุกวันและขออภัยในปัญหาที่เกิดขึ้น
Photo : https://mgronline.com/china/detail/9640000038896
และยืนยันว่า สามารถจัดหาวัคซีนได้ตามเป้าหมาย 100 ล้านโดส สำหรับประชาชน 50 ล้านคน หรือ 70% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้ และจะดำเนินการจัดหาเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า
(ความคิดเห็น) เรื่องการจัดส่งวัคซีนจากผู้ผลิต ตรงนี้ก็เข้าใจได้ครับในสถานการณ์ตอนนี้ แต่ก็แอบคิดย้อนกลับไปว่า ถ้าเราขยับกันเร็วกว่านี้มันคงไม่เป็นแบบนี้ แต่ก็ได้แค่บ่นครับ เพราะมันผ่านมาแล้ว
ส่วนการระดมฉีดวัคซีนในพื้นที่การแพร่ระบาดสูงอย่างกรุงเทพ ก็ถือว่ามีเหตุผล แต่น่าจะชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจตั้งนานแล้วนะครับ ผมว่าทุกคนพร้อมรับฟังเหตุผล แต่ก็อาจจะมีทั้งคนที่พอใจและไม่พอใจ เป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนตัวผมเป็นคนต่างจังหวัด ก็เห็นด้วยกับการเร่งลดการแพร่ระบาดในพื้นที่เสี่ยงสูงก่อน แค่ขอให้วัคซีนที่เอาส่วนของต่างจังหวัดไปถูกนำไปใช้อย่างตรงจุดและตรงตามสูตรที่พูดถึงก็แล้วกันครับ
อ้างอิง
https://www.facebook.com/prayutofficial
บันทึก
2
2
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
COVID-19 Update
2
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย