Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
indiecator : อินดี้เคเตอร์
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2021 เวลา 06:34 • สุขภาพ
อัปเดตสถานการณ์โควิด-19 เดลต้ากำลังระบาด วัคซีนไม่ช่วย เตียงไม่พอ
สถานการณ์โควิดในไทยกลับมาแย่ลงอีกครั้ง เทียบกับก่อนหน้านี้ที่ยอดผู้ติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ 2,000-3,000 ราย กลับเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 4,000 ราย ตามมาด้วยวิกฤติเตียงไม่พอ จากการที่มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบมากกว่าผู้ป่วยที่หาย
เกิดเป็นดราม่ามากมาย ผู้ป่วยต้องขอความช่วยเหลือจากสำนักข่าว อินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย หรือโพสต์ข้อความเพื่อหาเตียงให้ตัวเองและคนในครอบครัว
ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านสถานการณ์นี้ไปให้ได้นะครับ สำหรับบทความนี้เราลองมาสรุปสถานการณ์กันว่าตอนนี้มันวิกฤติแค่ไหนครับ
หากดูสถิติย้อนหลังจะพบว่า ตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ก็ไม่เคยต่ำกว่า 3,000 รายและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มไปยังฐานใหม่ที่ 4,000 รายอีกด้วย
ส่วนยอดผู้เสียชีวิตตามสถิติค่อนข้างแกว่งตัว ช่วงต้นเดือนอยู่ที่ประมาณ 30-35 รายต่อวัน กลางเดือนยอดดูลดลง แต่ 5 วันหลังมานี้ยอดสูงขึ้นและเริ่มมียอดเสียชีวิตเกิน 50 คนต่อวัน
หากดูตามสถิติก็พอจะบอกได้ว่า มีอัตราการระบาดเพิ่มสูงขึ้นชัดเจน และมีแนวโน้มว่าอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นด้วย จึงมีคำถามว่าโควิดสายพันธุ์เดลต้า หรืออินเดีย กลายเป็นสายพันธุ์หลักไปแล้วหรือ
คำตอบคือ "ยังครับ" แต่มีแนวโน้มสูงขึ้น ตามรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่รายงานว่า ตั้งแต่เดือน เม.ย. ถึง 20 มิ.ย. มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าแล้ว 10.43% เฉพาะในช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย. มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 13.04%
อย่างที่รู้กันว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ส่วนจะทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงกว่าสายพันธุ์อัลฟาหรือไม่นั้น ยังไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจนในขณะนี้
แล้ววัคซีนที่เรามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่
วัคซีนหลักของไทยอย่าง "ซิโนแวค" และ "แอสตร้าเซเนก้า" ยืนยันว่ายังสามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยได้ แต่...
ซิโนแวคยังประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะลดอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อได้ ด้วยประสิทธิภาพเพียง 51% แต่สำหรับสายพันธุ์เดลต้าประสิทธิภาพก็จะลดลงไปอีก
ส่วนแอสตร้าเซเนก้า เมื่อฉีดครบ 2 โดส ประสิทธิภาพจะเหลือ 60% เมื่อเจอเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งก็ยังไม่ดีพอที่จะลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดได้
ดังนั้นวัคซีนหลักที่มีอยู่จึงไม่ได้ช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์เท่าที่ควร
แล้วสถานการณ์ด้านสาธารณสุขเป็นอย่างไร
หากพิจารณาจากจำนวนผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยที่หายและกลับบ้านแล้ว จะพบว่าตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยใหม่มีมากกว่าผู้ป่วยที่หาย ทำให้ผู้ป่วยสะสมในระบบเพิ่มขึ้นทุกวันประมาณ 1,000-2,000 ราย
และนี่น่าจะเป็นที่มาของปัญหาเตียงไม่พอในเขต กทม.และปริมณฑล มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องนอนรอเตียงอยู่ที่บ้าน บางเคสถึงขั้นเสียชีวิตที่บ้านเลยทีเดียว
แล้วโรงพยาบาลใน กทม.และปริมาณมณฑลมีเตียงรองรับผู้ป่วยได้แค่ไหน
เตียงระดับ 1 สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย
เตียงระดับ 2 สำหรับผู้ป่วยที่อาการปานกลาง ต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์
เตียงระดับ 3 สำหรับผู้ป่วยหนัก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
จากข้อมูลจะพบว่า เตียงถูกใช้ไปแล้วประมาณ 80% และที่สำคัญ เตียงระดับ 3 ถูกใช้ไปกว่า 90% แล้ว ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับวิกฤติ
ผมจะไม่พูดถึงสิ่งที่ต้องทำเพื่อแก้ปัญหาในระยะสั้นหรือระยะยาวนะครับ บทความนี้ต้องการเพียงให้ข้อมูลทุกท่านเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ และระมัดระวังการใช้ชีวิต
เพราะตอนนี้สิ่งที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนหรือระบบสาธารณสุขอาจไม่สามารถช่วยเราได้ถ้าต้องติดเชื้อจริงๆครับ
อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/content/covid_19/485086
https://www.facebook.com/thaimoph
https://www.bbc.com/thai/thailand-57525497
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/944302
2 บันทึก
3
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
COVID-19 Update
2
3
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย