ครั้งที่เจ็บหนักสุดคือ Knight เปิดบิลใหม่กับรองเท้าแบรนด์ญี่ปุ่นนี้แต่ของยังไม่ทันขายก็โดนฉีกสัญญาจากเจ้าของแบรนด์ Onitsuka Tiger สัญญาถูกเปลี่ยนมือให้นักกีฬามวยปล้ำที่ได้ลิขสิทธิ์ในการขายรองเท้าแบรนด์นี้แต่เพียงผู้เดียวแทน ใช่ค่ะ! บทเรียนความเจ็บปวดของผู้ประกอบการหน้าใหม่คือ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือ คนที่มีชื่อเสียงกว่าย่อมได้เปรียบคน No Name
(2) บทเรียนที่สอง เริ่มต้นธุรกิจในวันที่ไม่พร้อม
หลังจากที่ Phil ตัดสินใจว่าจะเลิกซื้อแบรนด์ Onitsuka Tiger จากญี่ปุ่นและมาทำแบรนด์ของตัวเอง ก็ได้ชักชวน Bill Bowerman และ Jeff Johnson มาเป็นพนักงานรุ่นแรก แม้เหตุการณ์ที่เลวร้ายนี้จะเกิดขึ้นกะทันหัน แต่เพราะมองเห็นศักยภาพของทีมงานทั้งสองทำให้ Phil ไม่ลังเลที่จะมอบหมายงานให้เหมาะกับคนจนพลิกสถานการณ์ให้เป็นไปได้ด้วยดี
Bowerman อดีตครูสอนวิ่งที่หลงใหลการประดิษฐ์รองเท้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง เขาชอบที่จะศึกษาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้ลูกศิษย์วิ่งได้ดี ครั้งหนึ่ง Phil ก็เคยเป็นหนูทดลองสวมใส่รองวิ่งที่ครูผู้นี้ออกแบบให้ครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นคุณครูท่านนี้จึงรับหน้าที่เป็น “ผู้ออกแบบรองเท้า” อีกคนก็คือ Johnson เขาคือเพื่อนร่วมชมรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัยที่มีความมุ่งมั่นขั้นสุด แต่ชีวิตก็เป๋ ๆ ตอนเลิกกับแฟน Phil จึงรีบชวนให้รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลร้านรองเท้า เขารับหน้าที่ดูแลความต้องการของลูกค้ารายคนจนสร้างฐานแฟน ๆ จากการใส่ใจรูปทรงและขนาดของเท้าลูกค้าในทุกขั้นตอน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ NIKE เรื่องราวของทีมงานก็หนักหนาพอสมควรเพราะทุกคนล้วนมีความคิดของตัวเองที่มักสวนทางกันกว่าจะก่อร่างสร้างตัวเป็นร้านห้องแถวก็บอกเลยว่าผ่านการทะเลาะอย่างหนัก ตั้งแต่การตั้งชื่อแบรนด์ยันหน้าที่ในการดูแลร้าน
บริษัท Blue Ribbon ดำเนินการมาแล้ว 5 ปี ยอดขายโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่สถานการณ์ทางการเงินไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะธนาคารเริ่มไม่ยอมปล่อยกู้แล้วเท่ากับว่าเงินหมุนเวียนในธุรกิจก็มาจากเงินเดือนของ Phil เขาจึงตัดสินใจกลับไปหาคู่ค้าคนดีคนเดิมเพื่อขอเจรจาธุรกิจอีกครั้ง ครั้งนี้เขาได้พบกับผู้จัดการคนใหม่ช่วงแรกเหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดีเพราะ Phil ใช้วิธีติดสินบน ดังนั้น Phil จึงวางตำแหน่งสายสืบให้กับผู้จัดการคนใหม่เพื่อช่วยให้เขาได้รู้การตัดสินของคนในเพื่อประเมินข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบแต่อีกนัยหนึ่งก็เพื่อให้ผู้จัดการช่วยจัดการผลประโยชน์ให้ ในระยะหลังความสัมพันธ์เริ่มแย่ลง ในจุดนี้เหมือนการอ่านนิยายมากกว่าเพราะเรื่องราวทำให้จินตนาการถึงบทบาทผู้ดี-ผู้ร้ายในวงการธุรกิจเลยทีเดียว
บทเรียนครั้งนี้ที่ Phil จะได้รับคือการเลือก Key Partnership ที่เหมาะสมกับธุรกิจจะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยงานในสิ่งที่ไม่ถนัดได้ แต่การเลือกคู่ค้ากับแบรนด์ที่มีโครงสร้างบริษัทไม่เหมาะสมจะเป็นปัญหาเหมือนกับที่เคยเจอ เมื่อ Phil ลองเปลี่ยนเส้นทางด้วยการมองหาโรงงานผลิตรองเท้าแทน ถ้าเป็นคำตอบที่ถูก Phil จะได้ตัวช่วยในการทำสิ่งที่ไม่ถนัดและประหยัดต้นทุนได้ ส่วนการมองหาแหล่งเงินทุนใหม่ ถ้าเป็นคำตอบที่ใช่ Phil จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจด้วยการเพิ่มสภาพคล่องของทุนหมุนเวียนในธุรกิจไปได้ ถ้าอยากรู้ว่า Phil จะตัดสินใจยังไงต้องลองอ่านในหนังสือเล่มนี้นะคะ 🙂