Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Brain Club
•
ติดตาม
19 มิ.ย. 2021 เวลา 11:41 • ประวัติศาสตร์
#36 The Brain Club : History ความอดอยากที่แคว้นเบงกอล (Bengal Famine)
" คุณจะสามารถเห็นเด็กตัวน้อยๆ ที่อยู่ในสภาพอิดโรยกำลังนั้งเขี่ยหาเมล็ดพืชจากของเสียคนอื่นมากิน "
หนึ่งในเรื่องราวการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่สุดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อาจถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา นั้นคือเหตุการณ์ "ความอดอยากที่แคว้นเบงกอล (Bengal Famine) " ที่ไม่ได้เกิดจากน้ำมือธรรมชาติโดยตรง แต่เป็นฝีมือมนุษย์เจ้าอาณานิคมของพวกเขาเอง
ในช่วงเวลานั้นอินเดียตกอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงถูกดึงเข้าร่วมฝ่ายเดียวกับอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น แคว้นเบงกอลที่มีพื้นกว่างใหญ่ไพศาลเป็นอันดับที่ 13 ของอินเดีย แต่มีแหล่งอาหารหลักๆ น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในช่วงปี 1930 แค้วนเบงกอลถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในแคว้นที่ประชากรได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยที่สุดในโลก แถมยังเจอภัยมรสุมจากพายุโซนร้อนที่โหมกระหน่ำบ่อยครั้ง แต่ที่ผ่านมาพวกเขาก็ยังสามารถเอาตัวรอดมาได้แม้จะยากลำบากแค่ไหนก็ตาม
การปะทุของสงครามโลกครั้งที่ 2 มันจึงเป็นเหมือนการราดน้ำมันบนกองเพลิง ที่สร้างไฟมรณะเผาไหม้ทุกชีวิตในเบงกอล เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นขยายอำนาจเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเริ่มทำการบุกโจมตีพม่า ส่งผลให้ชาวพม่าจำนวนมากต้องหนีตายขอเข้ามาลี้ภัยในอินเดียเพื่อความหวังที่จะอยู่รอด
ไฟสงครามยังแผ่ขยายมาเรื่อยๆ จนมาถึงอ่าวเบงกอล ของอินเดีย จึงทำให้เจ้าของดินแดนอย่างอังกฤษต้องทำทุกวิถีทางเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น
นโยบายของฝ่ายอังกฤษที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับชีวิตของทหารอังกฤษที่เข้าไปประจำการรักษาดินแดนมากกว่าพลเรือนชาวอินเดีย และเพื่อประโยชน์ในการทำศึกสงคราม จึงมีการตั้งแนวรบ ระดมเสบียงอาหาร และดูดทรัพยากรต่างๆ ในอินเดียมาใช้ทำสงคราม ทำให้สภาวะทางเศรษฐกิจปั่นป่วน ชาวบ้านจึงถูกปล่อยทิ้งให้พบกับความตายอันน่าสยดสยองที่กำลังแสยะยิ้มรอรับพวกเขาอยู่
ทางญี่ปุ่นได้เข้าทำการโจมตีด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด เพื่อตัดแหล่งเสบียงของฝ่ายอังกฤษ ส่งผลให้พื้นที่เถือกสวนไร่นาของชาวบ้านถูกทำลาย ความสอดคล้องของจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณอาหารกลับลดน้อยลงจนขาดความสมดุล
ประกอบกับเจ้าของดินแดนอย่างอังกฤษไม่ได้ใส่ใจปากท้องชาวบ้าน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความอดอยากในเบงกอลในปี 1943 - 1944
อาหารมีไม่เพียงพอสำหรับทุกคน ทำให้ราคาข้าวพุ่งสูงมากขึ้นจนคนทั่วไปหลายล้านคนไม่สามารถเอื้อมถึงได้ ประกอบกับค่าแรงขั้นต่ำที่ลดลงจนไม่พอกิน โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ไม่ใช่เกษตรกร
การพบผู้คนนอนอดอยากแบบไร้ความหวังบนท้องถนนคือเรื่องปกติ เมื่อศพคนตายไม่ได้ถูกจัดการอย่างถูกวิธี บวกกับผู้ที่อยู่รอดก็ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอจากอาการขาดสารอาหารอย่างหนัก นำมาซึ่งโรคภัยต่างๆ ตามมา เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ และโรคบิด
1
เรื่องราวบางส่วนถูกถ่ายทอดสู่โลกภายนอกผ่านคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิต
" เงินทองในตอนนั้นแถมจะไม่ต่างจากใบไม้แห้ง การแย้งชิงอาหารคือเรื่องปกติ มีชายคนหนึ่งถูกตบจนเสียชีวิตตอนขโมยอาหาร เพราะหลายคนร่างกายอ่อนแอมากๆ เพียงแค่การตบก็สามารถทำให้ตายได้ "
" ผู้หญิงหลายคนต้องกลายเป็นโสเภณี เพราะต้องการหาเงิน 3 ดอลลาร์ต่อคืน เพื่อนำไปหาเลี้ยงครอบครัว "
"จำนวนคนตายเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน เราจะเห็นฝูงแร้งบินอยู่ไปมาอยู่ทั่วเมือง"
"ผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างหมดหวังหลายคนหันไปสูบฝิ่น เพื่อช่วยให้ลืมความเจ็บปวดหิวโหย"
ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะเข้ามาช่วยบรรเทาทุกข์เลี้ยงดูชาวบ้านที่หิวโหย แต่ความช่วยเหลือก็ยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าที่ควร
ความอดอยากสิ้นสุดลง ชาวอินเดียที่กลายพลเมืองของจักรวรรดิอังกฤษราวๆ 3 ล้านราย ต้องสังเวยชีวิตจากความอดอยากและโรคระบาด
การระบุจำนวนที่ชัดเจนนั้นทำได้ยาก เพราะในบางพื้นที่มีศพนอนตายเกลือนเกินกว่าจะนับไหว ถือเป็นการสังหารหมู่ทางอ้อมที่น่ากลัวมากที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์
เรียบเรียงโดย : สโมสรสมอง
ที่มา
1.
https://allthatsinteresting.com/bengal-famine#16
2.
https://economictimes.indiatimes.com/news/politics-and-nation/bengal-famine-of-1943-caused-by-british-policy-failure-not-drought-study/articleshow/68495710.cms
บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
History : ประวัติศาสตร์
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย