24 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • สิ่งแวดล้อม
อัพเดท : ภารกิจเก็บกู้ซากอวนยักษ์ที่โลซิน สำเร็จลุล่วงแล้ว 💙
ท่ามกลางข่าวเครียดเรื่องโควิดก็พอมีเรื่องให้ชุ่มชื่นหัวใจอยู่บ้าง :) อวนยักษ์ที่ถูกทิ้งอยู่ใต้ทะเลที่เกาะโลซินถูกเก็บกู้เรียบร้อยแล้ว โดยเวลาปฏิบัติงานทั้งหมด 2 วัน ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ สื่อมวลชน ผู้เชี่ยวชาญ และนักดำน้ำมืออาชีพมากกว่า 30 คน
ภาพจาก Siamdive Thailand
การดำน้ำครั้งนี้ใช้การดำน้ำแบบพิเศษเรียกว่า ไนตร๊อกซ์ (Nitrox) ซึ่งต้องเรียนเพิ่มเติม ก็คืออากาศที่ใช้ในถังดำน้ำจะมีสัดส่วนของออกซิเจนมากกว่าปกติ
โดยทั่วไป อากาศที่ใช้ในการดำน้ำลึกจะเป็นอากาศธรรมดาที่ใช้หายใจ ซึ่งประกอบไปด้วย ไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% และ ก๊าซอื่นๆอีก 1% แต่ถังไนตร็อกซ์จะลดปริมาณไนโตรเจนลง และเพิ่มออกซิเจนให้เข้มข้นกว่าเดิม โดยส่วนมากจะไม่เกิน 40%
🤿 ทำไมต้องใช้ไนตร็อกซ์?
ด้วยปริมาณออกซิเจนที่มากขึ้น จึงทำให้ดำน้ำได้นานมากขึ้น แต่ความลึกสูงสุดที่ดำได้จะลดลง เพราะออกซิเจนที่ความดันอากาศสูงจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงไม่ควรดำลึกเกินกว่า 40 เมตร ดังนั้น ที่เลือกใช้ไนตร็อกซ์ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ เข้าใจว่าพื้นที่ปฏิบัติงานลึกไม่เกิน 30 เมตร และต้องการเวลาใต้น้ำนานๆเพื่อตัดอวน
การดำน้ำแบบปกติ มักจะอยู่ใต้น้ำไม่เกินหนึ่งชั่วโมง นอกจากต้องระวังอากาศหมดแล้ว ยังต้องระวัง ภาวะสะสมก๊าซไนโตรเจนในเนื้อเยื่อ กล่าวคือ เมื่อความลึกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศก็จะเพิ่มขึ้น ก๊าซไนโตรเจนปริมาณมากที่ร่างกายไม่ได้ใช้จึงเดินทางไปกับกระแสเลือดและสะสมบริเวณเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย ยิ่งดำน้ำนานก็จะยิ่งสะสมเยอะ
ดังนั้นเมื่อต้องการจะขึ้นจากน้ำจึงต้องขึ้นให้ช้าที่สุด ค่อยๆไต่ระดับจากความลึกมากๆมาระดับที่ตื้นขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งตื้น ความดันยิ่งลดลง ฟองก๊าซไนโตรเจนที่สะสมอยู่ก็จะถูกปล่อยออกมาจากร่างกาย ถ้าขึ้นจากน้ำเร็วเกิน จะทำให้ฟองก๊าซถูกปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายถึงชีวิต
การใช้ไนตร็อกซ์จึงมาช่วยแก้ปัญหาการสะสมของก๊าซไนโตรเจน เพราะมีสัดส่วนก๊าซไนโตรเจนน้อยกว่าปกติ แต่การดำไนตร็อกซ์หลายครั้งติดกัน ก็อาจเป็นอันตรายต่อปอดได้ เพราะการหายใจด้วยออกซิเจนความเข้มสูงเป็นเวลานานอาจทำให้ปอดบาดเจ็บ
สำหรับภารกิจนี้ ทีมปฏิบัติงานมีการเตรียมพร้อมทุกด้าน ประชุมวางแผนก่อนลงน้ำทุกครั้ง หลังจากทีมเก็บกู้ทำการกู้อวนสำเร็จในแต่ละจุด ทีมนักวิจัยจะเริ่มสำรวจแนวปะการัง ว่าได้รับผลกระทบอย่างไร ตรงไหนบ้าง
และนี่คือคลิปวิดีโอแห่งความประทับใจ ช่วงที่อวนผืนแรกถูกเก็บ
🤿 ขณะนี้อวนทุกผืนถูกเก็บกู้เรียบร้อย จากการประเมินความเสียหายของทีมวิจัย พบว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ คิดเป็นบริเวณ 2,750 ตารางเมตร และ พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายระดับกลาง (20-30%) คิดเป็นบริเวณ 500-900 ตารางเมตร ซึ่งทางทีมวิจัยจะติดตามผลระยะยาว และหาทางฟื้นฟูแนวปะการังต่อไป
1
ภาพจาก Siamdive Thailand
ภาพจาก Siamdive Thailand
ภาพจาก Siamdive Thailand
ภาพจาก Siamdive Thailand
EveryGreen ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ โลกจะสวย พวกเราต้องช่วยกัน 💙
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา