24 มิ.ย. 2021 เวลา 01:40 • ประวัติศาสตร์
“English Breakfast Tea” ชาดำอังกฤษ ที่ไม่ได้เกิดในประเทศอังกฤษ
ถ้าไม่ได้กำเนิดจากอังกฤษ แล้วทำไมถึงต้องมีชื่อ “English”
แล้ว อาหารเช้า “Breakfast” มันไปเกี่ยวอะไรละ ?
ในอาหารมื้อเช้า หรือ ในตอนช่วงบ่ายของวันนี้ เพื่อน ๆ กำลังจะเลือกดื่มอะไรกันเอ่ย ชาหรือกาแฟนะ ?
ถ้าเป็นชาเนี่ย พวกเราก็อยากให้เลือกดื่มชาดำ “English Breakfast”
เพราะว่า วันนี้พวกเรา InfoStory อยากจะมาชวนเพื่อน ๆ มารู้จักกับความเป็นมาของชาดำ “English Breakfast” และเพื่อเพิ่มอรรถรสในการดื่มชาให้มากขึ้น ไปกับบทความนี้
จากหัวข้อบทความนี้ ที่พวกเราได้เกริ่นไปคร่าว ๆ ว่า “English Breakfast” เป็นชาดำอังกฤษที่ไม่ได้เกิดในประเทศอังกฤษ
ตรงนี้ก็ต้องขอขยายความเพิ่มเติมว่า
ความนิยมในการดื่มชา รวมไปถึงการนำเข้าใบชาของอังกฤษ
ไม่ได้จู่ ๆ ก็กำเนิดขึ้นมาเอง และ แต่เดิมที ใบชาก็ไม่ได้เป็นพืชเศรษฐกิจของอังกฤษอยู่แล้ว
อาจเรียกได้ว่า ชาดำที่มาจากประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ ล้วนไม่ได้มีต้นกำเนิด หรือมีถิ่นเพาะปลูกมาจากประเทศอังกฤษโดยแท้ (อย่างเช่น Earl Grey, Prince of Wales)
ซึ่งจะมีความแตกต่างกับที่มาของ ชาจีน อย่างชาอู่หลง
ชาอินเดีย อย่างชาอัสสัม หรือ ชาซีลอนจากศรีลังกา
1
(แต่จริง ๆ แล้ว ชาซีลอนเองก็มีต้นกำเนิดมาจากชาสายพันธุ์จีนนะ ไว้เดี๋ยวมาเขียนเล่าให้ฟังกัน)
โอเค แล้วชาดำ “English Breakfast” ที่พวกเราคุ้นเคยกัน มันคืออะไรละ ?
อย่างที่เพื่อน ๆ บางคนพอจะทราบมาว่า
ประเทศอังกฤษ ไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิดสายพันธุ์ชาต่าง ๆ
แต่ว่าอุตสาหกรรมใบชาโลกในสมัยศตวรรษที่ 17-19 เนี่ย มันก็เป็นที่นิยมเอามาก ๆ เลย
เรียกได้ว่า แพร่ขยายจากประเทศจีน ไปสู่เพาะปลูกในประเทศอินเดีย (ก็มาจากชาวอาณานิคมอังกฤษ และ บริษัท British East India)
East India Company
แล้วถ้าหากชาวอังกฤษต้องการจะผลิตชาดำของตัวเองขึ้นมาบ้าง
พวกเขาจะทำอย่างไรดี ?
หนึ่งในวิธีสุดยอดเยี่ยม ก็คือ นำสุดยอดใบชาสายพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาผสม หรือ การนำเครื่องเทศและสมุนไพรต่าง ๆ มาปรุงรสร่วมกับใบชาดำ ที่ทำให้เกิดเป็นรสชาติต่าง ๆ
สำหรับคอนเซปต์ของ “English Breakfast Tea” ถูกจัดว่าเป็น ชาดำแบบผสม (Blend Tea) ที่รวมใบชาดำสายพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาผสมกัน อย่างเช่น
ชาอัสสัมจากอินเดีย (Assam Tea) ชาซีลอนจากศรีลังกา (Ceylon Tea) และ ชาเคนยาจากแอฟริกาตะวันออก (Kenya Tea)
ต้องบอกว่า อันที่จริงแล้ว เราไม่อาจจะยึดสูตรส่วนผสมใด ๆ เป็นสูตรตายตัวสำหรับ English Break Tea
นั่นก็เพราะลักษณะเด่นของการเป็น Blend Tea ด้วยสุดยอดชาดำจากสายพันธุ์ต่าง ๆ ของเจ้าชาตัวนี้ นั่นเอง (พูดถึงในยุคสมัยใหม่นะ เพราะถ้าเป็นในสมัยอดีตเนี่ย สูตรเขาจะตายตัวมาก ๆเลย)
Blend Tea หรือ ชาผสม
แล้ว “English Breakfast Tea” ทำไมต้องมี "English" ?
ถึงแม้ว่า English Breakfast Tea จะไม่ได้มีต้นกำเนิดในประเทศอังกฤษ
แต่อย่างไรก็ดี ชื่อของชาตัวนี้ ที่มีคำว่า “English” เป็นส่วนหนึ่งอยู่นั้น
ก็เป็นเพราะ ชาชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยพ่อค้าชาชาวอังกฤษที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองลอนดอน เขามีนามว่า “Richard Davies” ได้ทำการผสมชาชนิดนี้ ขึ้นที่รัฐนิวยอร์ก ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมด ได้เริ่มต้นจากการที่ คุณ Richard ได้อพยพข้ามทวีป จากอังกฤษไปสู่ดินแดนแห่งอเมริกา
โดยคุณ Richard มาอาศัยอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในปี ค.ศ.1843
ภาพวาดจำลองเมือง New York ในปี 1843
ซึ่งในตอนแรก ๆ ที่คุณ Richard ย้ายประเทศมาเนี่ย
เขามีความขัดสนทางการเงินเอาเสียมาก ๆ
และเขาต้องการที่จะเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง
แล้วจะเริ่มจากอะไรดีละ ?
แน่นอนว่า ต้องเป็นการคิดค้นอะไรใหม่ ๆ
และอะไรใหม่ ๆ ที่ว่า ก็มาจากการผสมจากสิ่งเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้ว นั่นเอง
คุณ Richard มองเห็นถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมของใบชาและวัฒนธรรมของการดื่มชา
เขาก็เลยเกิดไอเดียว่า ถ้าหากเรานำใบชาดำสายพันธุ์ต่าง ๆ มาผสมกัน แล้วทำ Package ห่อสินค้าที่มีคุณภาพดีและสีสันสวยงาม
เขาก็จะสามารถนำชามาขาย ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นชาชนิดใหม่ได้เลยละ
ไม่รอช้า คุณ Richard ได้นำเงินทั้งหมดที่ตัวเองมีติดตัวมาจากเกาะอังกฤษ ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 150 ดอลลาร์สหรัฐ เริ่มต้นธุรกิจใบชาของตัวเอง
จากนั้นคุณ Richard ก็ได้เพิ่มความเป็นจุดเด่น ด้วยการสร้าง Gimmick (ซึ่งก็คือกลยุทธ์การตลาดการสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวของแบรนด์ ในแบบปัจจุบัน)
ด้วยความที่ เขาเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด ที่มาอาศัยอยู่ในอเมริกา
แล้วในโลกใหม่อย่างอเมริกา ก็ยังไม่มีใครที่คิดค้นชาผสมแบบอังกฤษ โดยคนสัญชาติอังกฤษเองเลย...
คุณ Richard ก็เกิดความหัวหมอขึ้นมา
โดยเขาได้พยายามจับจองชื่อเรียกชาดำสูตรผสมของตัวเองว่า “English Blend Tea”
ก็คือ นำชื่อ “English” หรือ ชาวอังกฤษ มาใช้เองซะเลย
ถ้าเป็นในปัจจุบัน เราก็คงจะไปยื่นจดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือ สิ่งที่เป็นหลักฐานทางกฏหมาย ว่าเราคือผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่อันนี้ และ ต้องการจะตั้งชื่อให้เป็น ชื่อนี้ ชื่อนั้น
แต่อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่าเรื่องราวของคุณ Richard เนี่ย คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นมานานกว่า 150 ปี แล้ว
เรื่องราวของการจับจองชื่อทางกฏหมาย เพื่อทำการตลาด มันก็คงจะไม่ง่ายสักเท่าไร
และวิธีที่เขาจะต้องทำคือ การทำให้สูตรชาและชื่อชาของเขา เป็นที่นิยม และ ถูกพูดถึงให้ได้มากที่สุด นั่นเอง
ต่อมา คุณ Richard ก็เลยมองว่า
เอ้อ ! ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเรื่องชาเนี่ย ก็คือกลุ่มพ่อค้าชาวจีน (ก็เพราะชายุโรป ชาอังกฤษ ชาอเมริกา หรือ แม้กระทั่งชาที่เพาะปลูกในอินเดีย ก็ต่างได้รับอิทธิพลมาจาก ชาแดงชาดำสายพันธุจีน)
เขาจึงนำสูตรชา “English Blend Tea” ของตัวเอง ไปให้พ่อค้าชาวจีนที่ประจำการอยู่ในอเมริกาลองชิม
เป็นที่แน่นอนว่า ชาผสมสูตรเด็ดแบบนี้ ก็กลายเป็นที่ประทับใจของพ่อค้าชาวจีนในทันที
พ่อค้าชาวจีนที่ต้องการจะเรียนรู้สูตร “English Blend Tea” นี้ ก็ได้ทำการใชเส้นสายของรัฐบาลจีน สอบถามไปยังประเทศอังกฤษ ว่าแบบ
“สูตรนี้จากประเทศของท่าน ได้มาจากที่ใด และ มีวิธีการทำอย่างไร ?”
อย่างไรก็ดี ไม่มีชาวอังกฤษคนใดเลย ที่รู้จักชาดำผสม “English Blend Tea”
(ก็แน่นอน เพราะมันเกิดจากคุณ Richard ผู้ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับรัฐบาลอังกฤษอะไรทั้งนั้น)
นั่นจึงทำให้กลุ่มพ่อค้าชาวจีน ต้องหันกลับมาตอบตกลง ที่จะทำการค้าร่วมกับคุณ Richard ภายใต้สูตรชาดำผสม “English Blend Tea”
ต่อมา… เรื่องราวที่น่าสะเทือนใจก็เกิดขึ้น
เมื่อการค้าชาดำของคุณ Richard กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่ทำการค้ากับกลุ่มพ่อค้าชาวจีน
นั่นจึงทำให้ คุณ Richard เกิดความรู้สึกเย่อหยิ่ง และ ต้องการจะตัดความสัมพันธ์กับกลุ่มคนจีน เพื่อออกมาทำการส่งออกชา “English Blend Tea” ของตัวเอง แบบไม่ต้องมาเสียค่าคอมมิชชั่นให้พ่อค้าคนกลาง
และ นั่นคือ จุดจบของคุณ Richard...
เพราะหลังจากที่เขาได้กระทำการตัดสินใจแบบเย่อหยิ่งแบบนี้
จึงทำให้เขาต้องตกอยู่ในที่นั่งลำบาก ขาดการสนับสนุนจากกลุ่มพ่อค้า หรือ ตัวแทนใด ๆ จนธุรกิจเริ่มขาดทุน และ ตัวเขาต้องพบกับความล้มละลาย
สุดท้าย บั้นปลายชีวิตของเขาก็จบลงแบบไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก…
ถึงแม้ว่าชีวิตของคุณ Richard จะจบลงไป
แต่ว่าสูตรชาดำผสม “English Blend Tea” ของเขา ก็ได้ถูกสานต่อ และได้ถูกคัดลอกและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
จนมาถึงในปัจจุบันที่เรารู้จักกันในชื่อของ “English Breakfast” นั่นเองจ้าา
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงทราบกันไปแล้วว่า “English” ที่เป็นหนึ่งในพยางค์ของชื่อ ชาดำผสมชนิดนี้ มาจากไหนเนอะ
แล้วคำว่า “Breakfast” ละ มันอะไรยังไง ?
ตอบได้ตรงตัวแบบสั้น ๆ เลย
สืบเนื่องจากความเข้มข้นของชาดำผสม ที่มาจากสุดยอดใบชาดำหลายถิ่นกำเนิด
จึงทำให้ ชาชนิดนี้ เหมาะกับการดื่มในช่วงเช้า พร้อมกับมื้ออาหาร นั่นเอง
และต่อมา ชา “English Breakfast” ได้ถูกขนานชื่ออย่างเป็นทางการ
อันเนื่องมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรได้ทดลองเสวยและได้แพร่หลายไปทั่วอังกฤษ ภายหลังจึงได้ตั้งชื่อเรียกว่าชาสูตรผสมชนิดนี้ว่า “English Breakfast Tea” นั่นเอง
Tea with Queen Victoria
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า จุดกำเนิดของชา “English Breakfast” อันนี้เนี่ย
ยังเป็นหนึ่งในปัญหาของสงครามฝิ่นระหว่างจีนและอังกฤษอีกด้วยนะ !
(สงครามฝิ่น จะมีชื่อเรียกว่า “Opium Wars” ซึ่งเกิดขึ้นด้วยกัน 2 ครั้งเลยละ)
แต่ถ้าให้พวกเราเล่าเรื่องสงครามฝิ่นเนี่ย
อาจต้องขอพื้นที่อีก 2 หน้ากระดาษเลยละ เพื่อน ๆ อาจจะง่วงกันแน่นอน…
ถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ อาจจะเริ่มเบื่อกันแล้วก็เป็นได้ แห่ะ ๆ
อย่างไรก็ดี พอพวกเราหาไปหามาเนี่ย
ก็ยังพบเรื่องราวที่ขัดแย้งต่อต้นกำเนิดของ “English Breakfast Tea” อีกด้วย
เรื่องราวของความขัดแย้งที่ 1 คือ
English Breakfast Tea มีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศสก็อตแลนด์ตะหากละ
โดยมีผู้คิดค้นเป็นชาวสก็อต นามว่า Robert Drysdale ในปี ค.ศ. 1892
ซึ่งเป็นสูตรผสมของใบชาดำอย่าง ชาซีลอน (Ceylon), ชาแดงฉีเหมิน (Keemun) และ ชาอัสสัม (Assam)
หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ได้ค้นพบสูตรชานี้
จึงได้นำกลับไปยังประเทศอังกฤษ และทำการตั้งชื่อใหม่เป็น “English Breakfast” นั่นเอง
(โอโห หนังคนละม้วนเลยรึเปล่าเนี่ย…)
เรื่องราวของความขัดแย้งที่ 2 คือ
มีต้นกำเนิดมาจากคุณ Richard Davies นั่นแหละ
เพียงแต่ คุณ Richard เขาต้องการจะคิดค้นสูตรจากการผสมใบชาแดงสายพันธุ์จากประเทศจีนอย่างเดียว ตะหากละ…
โอเค ถึงตรงนี้ ก็ขอพักเรื่องราวของความขัดแย้ง เอาไว้ให้เราได้มองในมุมต่างที่กว้างขึ้นมาเนอะ
ต่อมา หลายคน ๆ อาจเริ่มมีคำถามว่า
“โห...ถ้าจู่ ๆ จะตั้งชื่อ Breakfast แบบเหมารวมอะไรง่าย ๆ แบบนี้เลย แบบนี้ประเทศอื่น ๆ เขาไม่ทำกันบ้างเหรอ ?”
ตรงนี้ ตอบได้ว่า ถูกต้องนะคร้าบบ !
ยังมีชาดำแบบผสมอีกมากมาย ที่นำคอนเซปต์ชื่อของ “Breakfast” ไปใช้งาน
ยกตัวอย่างเช่น Scottish Breakfast Tea จากสก็อตแลนด์ หรือ Ireland Breakfast จากเกาะไอร์แลนด์
สุดท้ายนี้ หากเราพูดถึงชาดำที่มาจากประเทศอังกฤษแล้ว
ก็คงจะต้องพูดถึงเรื่องชาดำที่มีชื่อเสียงอีก 1 ตัว นั่นคือ “ชา Earl Grey” นั่นเอง
แล้ว English Breakfast แตกต่างยังไงกับ Earl Grey ?
เอาสั้น ๆ ก็คือ นอกจากความต่างในเรื่องของต้นกำเนิดแล้ว ความแตกต่างที่เราพอจะแยกออกมาได้แบบง่าย ๆ ก็คือ
ชา English Breakfast คือ ชาผสมจากใบชาหลากหลายสายพันธุ์ โดยจะมีสีน้ำตาลเข้ม บวกกับรสชาติที่เข้มข้นแต่ละมุน จากใบชาดำแบบผสม
ชา Earl Grey คือ ชาแดงจีน (ชาเจิ้งซานเสี่ยวจง) ผสมเข้ากับน้ำมันมะกรูด โดยจะมีสีออกเป็นทองอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม รสชาติขมแบบสดชื่น ออกเผ็ดเล็กน้อย
ปิดท้ายด้วย เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ
ในปี ค.ศ. 1843 หรือ ปีต้นกำเนิดของชา English Breakfast
ก็ยังเป็นปีที่ การ์ดคริสมาสต์ใบแรกของโลก (World First Christmas card) ได้ถูกผลิตขึ้นอีกด้วยนะ
พวกเราจึงจะขอจบเรื่องราวของ ““English Breakfast” ชาดำอังกฤษ ที่ไม่ได้เกิดในประเทศอังกฤษ” มาในที่ตรงนี้ 🙂

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา