Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
5 ต.ค. 2021 เวลา 04:15 • ประวัติศาสตร์
ชวนสำรวจเรื่องราว "วัฒนธรรมการดื่มชา" ที่น่าสนใจ รอบโลก ตอนที่ 1
หลังจากในโพสก่อนหน้านี้ เราก็ได้พูดถึงเรื่องราวของการดื่มกาแฟรอบโลกในตอนแรกไปแล้ว
ทีนี้ก็มาถึงคิวของ “การดื่มชา” กันบ้างดีกว่า
ในเรื่องของการดื่มชา ก็จะมีความพิถีพิถันมากกว่ากาแฟอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกับชาวจีนและชาวญี่ปุ่น
ว่าแต่ จะมีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจยังไงบ้าง ?
สำหรับตอนแรกนี้ พวกเราจะขอหยิบเกร็ดความรู้ของประเทศจีน ญี่ปุ่นและรัสเซีย มานำเสนอเพื่อน ๆ ก่อน
ในตอนต่อไปพวกเราจะหยิบเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ โมรอกโกและเนปาล มาให้รับชมกันต่อ
งั้นไม่รอช้า พวกเราขอพาเพื่อน ๆ ไปรับชมกันกับภาพอินโฟกราฟิกสุดสบายตาสไตล์มือใหม่กับพวกเรา InfoStory กันดีกว่า !
วัฒนธรรมการดื่มชา มีต้นกำเนิดมายาวนาน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ จะมีบันทึกไปในทางเดียวกันว่า "ชาวจีน" คือชนชาติแรกที่รู้จักการดื่มชา
ซึ่งเกิดมาจากความบังเอิญเมื่อฮ่องเต้กำลังดื่มน้ำร้อนแต่มีเศษใบไม้ในสวนตกลงไปในถ้วยน้ำ เมื่อ 4,000 ปีที่ผ่านมา
ก่อนที่วัฒนธรรมการดื่มชาจะแพร่ขยายไปทั่วโลก ทั้งเป็นยารักษาโรค เครื่องมือทางการค้า ความเชื่อศาสนา และ การแบ่งชนชั้น
ยกตัวอย่างเช่น
-พิธีชงชาชะโดของญี่ปุ่น ที่แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิต
-วัฒนธรรมการต้อนรับแขก ด้วยการชงชาอย่างพิถีพิถันของชาวจีน
-การดื่มน้ำชายามบ่ายที่ดูหรูหราของอังกฤษ
-การทานชามินต์ (Maghrebi Mint Tea) ของชาวโมร็อกโก
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการดื่มชาประเทศจีน
ชาวจีนเริ่มต้นดื่มชากันมามากกว่า 4,000 ปีแล้ว
เรื่องตรงนี้ทำให้ผู้คนทั้งโลกมีความเชื่อว่า ชนชาติจีนอาจเป็นชนชาติแรกของมนุษยชาติที่รู้จักการดื่มชา
(ซึ่งคาดว่าเพื่อน ๆ น่าจะพอทราบหรือได้ยินกันอยู่แล้วละเนอะว่า ชาญี่ปุ่น หรือ ชาอังกฤษ ชายุโรปอย่างรัสเซียเอง ก็ได้รับอิทธิพลมาจากชาจีน แน่นอนว่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์การค้าใบชาของจีน ก็เป็นจุดที่สำคัญในการแพร่ขยายมาก ๆ เช่นกัน)
แต่เรื่องราวของการดื่มชาที่ถูกบันทักไว้ในประวัติศาสตร์ของชาวจีน ก็จะเกิดขึ้นในช่วงราชวงศ์ฮั่น หรือในช่วง 206 ปีก่อนคริสตกาล นั่นเอง
แต่คำเรียกคำว่า “ชา หรือ Cha 茶” ได้ถูกบัญญัติขึ้นในช่วงราชวงศ์ถัง หรือ ปี ค.ศ. 618 – 906 เดิมทีเป็นการเรียกใบไม้ชนิดหนึ่ง ที่พอชาวจีนโบราณนำมาต้มเนี่ย ก็จะมีกลิ่นหอมและดื่มได้ชุ่มคอ
จนกระทั่งได้เกิดเป็นวัฒนธรรมการชงชาด้วยความประณีตอย่าง กงฟูฉา (工夫茶; Gong Fu Tea Ceremony) ในเวลาต่อมา
ซึ่งจริง ๆ แล้ว เท่าที่พวกเราค้นหามา คำว่า Gongfu ในที่นี้ ก็จะเป็นคำที่คล้ายคลึงกับคำว่า Kung Fu หรือ ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟูของชาวจีน ซึ่งมันมีหัวใจสำคัญที่เหมือนกันคือ “ศิลปะ” และจะต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและความประณีตในเชิงปฏิบัตินั่นเองจ้า
จริง ๆ ต้องบอกเลยว่าเรื่องราวของชาจีนและวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนนั้น ยังมีอีกเยอะและ หลายมุมมองมากเลยละ รวมไปถึงเรื่องราวของการปลูกชาและสายพันธุ์ของชา
หากพวกเราสามารถค้นหาศึกษาจนย่อยใจความได้แล้ว พวกเราจะหาโอกาสนำมาสรุปเพิ่มเติมเป็นภาพอินโฟกราฟิกสบายตาให้เพื่อน ๆ ได้รับชมกันในภายภาคหน้านะ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากเห็นตัวอย่างวิธีการชงชาแบบกงฟูฉา ก็สามารถตามไปดูกันได้ในลิ้งด้านล่างเลยจ้า (คัดเลือกตัวอย่างที่พวกเรารับชมแล้วเข้าใจง่ายมาให้นะ)
https://www.youtube.com/watch?v=MtWVkv_dw_c
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการดื่มชาประเทศญี่ปุ่น
ว่ากันว่าวัฒนธรรมการดื่มชาของญี่ปุ่น ได้รับการแพร่ขยายมาจากประเทศจีนโดยพระชาวญี่ปุ่นในช่วงปี ค.ศ. 805
พระชาวญี่ปุ่นท่านนี้ ได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในประเทศจีน นั่นรวมไปถึงสมุนไพรและเรื่องของใบชาจากจีน
จนกระทั่งในยุคสมัยมุโรมาจิ (ข่วงปี ค.ศ. 1333-1336) ก็ได้มีพระชาวญี่ปุ่นอีกเช่นกัน ที่ได้นำเมล็ดชาดำจากประเทศจีนกลับมายังกรุงเกียวโต และได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีการชงชาแบบชะโด
ซึงพิธีการชงชาญี่ปุ่นอย่างชะโด ก็มีหัวใจสำคัญคือการแสดงออกถึงความงามของความเรียบง่าย ความกลมกลืนกับธรรมชาติและปรัชญาของชีวิตภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น
เช่น ความเรียบง่าย (Simplicity) ความบริสุทธิ์ (Purity) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติอย่างลงตัว (Harmony) ความสงบของจิตใจ (Tranquillity) และ ความสง่างาม (Beauty)
ซึ่งปัจจุบันนอกจากข้อคิดที่เราจะได้จากพิธีการชงชาญี่ปุ่นแบบนี้แล้ว
วัฒนธรรมนี้ยังคงเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อและช่วยให้ชาวต่างชาติเข้าใจวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของชาวญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นอีกด้วยนะ (ส่วนตัวพวกเราเองยังไม่เคยได้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับพิธีชงชาแบบนี้เลย แต่ถ้ามีโอกาสได้ไปญี่ปุ่นครั้งหน้า คงจะไม่พลาดต้องขอจดบันทึกไว้ในความทรงจำอย่างแน่นอน)
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากเห็นตัวอย่างพิธีการชงชาที่สวยงามแบบญี่ปุ่น ก็สามารถตามไปดูกันได้ในลิ้งด้านล่างเลยจ้า (คัดเลือกตัวอย่างที่พวกเรารับชมแล้วเข้าใจง่ายมาให้นะ)
-
https://www.youtube.com/watch?v=KfDTuNyup9Y
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการดื่มชาประเทศรัสเซีย
ต้องบอกว่านอกจากวอดก้า ที่มีชื่อเสียงของชาวรัสเซียแล้ว
วัฒนธรรมการดื่มชาเนี่ย ก็โดดเด่นไม่แพ้กันนะ !
แรกเริ่มเดิมที ชาวรัสเซียเริ่มรู้จักการดื่มชามาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 17 ในยุคของพระเจ้าซาร์มิฮาอิลที่ 1 (Mikhail) จากชาวมองโกเลีย
แต่ว่ากันว่าวัฒนธรรมการดื่มชาเริ่มจะเป็นที่นิยมในยุคสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการค้าใบชาจากชาวจีน (Peter The Great)
ส่วนเครื่องต้มน้ำที่เป็นทั้งอุปกรณ์และงานศิลปะอย่าง “ซาโมวาร์” (Samovar) ก็เป็นที่นิยมใช้สำหรับต้มน้ำเพื่อการดื่มชาของชาวรัสเซีย
ซึ่งเจ้าซาโมวาร์นี้ เป็นเครื่องต้มชาที่มีลักษณะคล้ายแจกัน ที่เพื่อน ๆ เห็นในภาพอินโฟกราฟิก
ถูกคิดค้นขึ้นมาจากคุณเฟดอร์ ลิซิตซิน ชาวเมืองตูลา ทางใต้ของกรุงมอสโก ซึ่งเขาประกอบอาชีพเป็นช่างผลิตปืนและกระสุน (ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับชา)
ว่ากันว่าจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ได้นำเจ้าเครื่องต้มน้ำนี้มาใช้ในการชงชา จนเริ่มเกิด
ซึ่งซาโมวาร์แบบดั้งเดิมเลยเนี่ย เขาจะใช้ถ่านติดไฟเพื่อให้ความร้อนกับน้ำ (ไม่ได้เป็นแบบที่ให้ความร้อนด้วยไฟฟ้าแบบในปัจจุบัน)
อีกหนึ่งจุดเด่นที่สำคัญของซาโมวาร์แบบดั้งเดิมเลยคือ ความสะดวกสบายในการต้มน้ำชาสำหรับรองรับแขกหลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน นั่นเอง (หรือสามารถต้มดื่มชาได้ตลอดทั้งวัน)
ซาโมวาร์ นอกจากจะเป็นที่นิยมในรัสเซียแล้ว ก็ยังคงมีชื่อเสียงในการดื่มชาของก็ยังนิยมใช้กันในประเทศที่ชนพื้นเมืองเป็นชาวอิหร่าน ชาวแคชเมียร์ และ ชาวตุรกี อีกด้วยเหมือนกันนะ
แหล่งอ่างอิงเพิ่มเติม
หนังสือ "The Tea Book" โดย Linda Gaylard
หนังสือ "The Story of Tea: A Cultural History and Drinking Guide" โดย Mary Lou Heiss
https://www.teasenz.com/chinese-tea/gongfu-tea-ceremony.html
https://www.silpa-mag.com/culture/article_50016
https://guide.michelin.com/.../ask-the-expert-a-beginner
...
https://pathofcha.com/.../all.../gong-fu-cha-vs-chanoyu
7 บันทึก
6
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ส่องโลกของ "ชา" - Into the Land of Tea
7
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย