23 มิ.ย. 2021 เวลา 10:45 • สิ่งแวดล้อม
แมลงก้นกระดก
1
แมลงก้นกระดก เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวประมาณ 7-8 มม. มักอาศัยบริเวณพงหญ้าอับชื้น ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน
1
แมลงก้นกระดก
ที่อยู่ของแมลงก้นกระดก
ปกติจะพบกับแมลงก้นกระดกได้ตามพงหญ้า หรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ แต่พอหน้าฝน จะมีการระบาดของ แมลงกระดก ทำให้เป็นอันตรายต่อคนทุกวัย ทั้งผู้ใหญ่ เด็กเล็ก และทารก
พิษแมลงก้นกระดก
แมลงก้นกระดก ปล่อยพิษที่มีชื่อว่า พิเดอริน (Pederin) ซึ่งมีลักษณะเป็นกรดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนเป็นรอยไหม้หลังจากสัมผัสพิษประมาณ 8-12 ชั่วโมง โดยส่วนมากมักเกิดจากการสัมผัส ปัด หรือบี้ตัวแมลง จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง
อาการของผู้สัมผัสแมลงก้นกระดก
- มีอาการแสบร้อน เริ่มเกิดผื่นเมื่อผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง
- เป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน หรือมีรอยไหม้ลักษณะเป็นทางยาว
- บางรายอาจเกิดผื่นบริเวณตามข้อพับ
- อาจมีตุ่มน้ำ ตุ่มพอง และตุ่มหนอง ใน 2-3 วัน คล้ายตุ่มน้ำจากโรคงูสวัด
- กรณีที่เกิดผื่นบริเวณกว้าง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- หากโดนบริเวณตา หรือเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้
วิธีการรักษา
สำหรับการรักษา เบื้องต้นเมื่อโดนพิษจากแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลล้างทันที แต่หากเกิดตุ่มน้ำและรอยแดงขึ้นแล้วสามารถทายาเพื่อรักษารอยแดงซึ่งจะหายไปเองประมาณ 2-3 วัน แต่หากมีอาการรุนแรงเนื่องจากแพ้พิษให้รีบพบแพทย์ แพทย์จะใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ในการรักษา ส่วนรอยดำที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ จางและหายไปเอง ไม่เป็นแผลเป็น
วิธีป้องกัน
เราสามารถป้องกันแมลงก้นกระดกด้วยการปิดหน้าต่างและประตูให้สนิท เนื่องจากแมลงประเภทนี้ชอบเข้ามาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน และตรวจเช็คบริเวณที่นอนเสมอว่าไม่มีแมลงอยู่
#สาระจี๊ดจี๊ด
หากพบแมลงก้นกระดกห้ามสัมผัสโดยการปัด หรือบดขยี้ ควรใช้วิธีเป่า หรือสะบัดออก
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา