23 มิ.ย. 2021 เวลา 12:09 • สุขภาพ
⸀ บุคลากรการแพทย์ติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน ⸥
ความน่ากังวลที่สังคมควรตื่นตัว ?
1
จากข่าวของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ประกอบกับหลายข่าวก่อนหน้านี้ ทั้งของไทยเองและจากต่างประเทศ
พบว่า มีบุคลากรการแพทย์ (Health Care Workers, HCW) ติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดส จำนวนไม่น้อย อาจทำให้หน่วยงานรับผิดชอบ ต้องเร่งหาเหตุผล และปัจจัยสนับสนุน ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ เพื่อปรับแผนการเลือกใช้วัคซีนในอนาคต และเพื่อเร่งสร้างความเข้าใจให้ประชาชนในวงกว้าง
2
👩‍⚕‍ จำนวนบุคลากรการแพทย์ที่ติดเชื้อ
หลังได้รับวัคซีนครบจากทั่วโลก
1
มีข้อมูลตัวอย่างของบางประเทศ ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นเอกสารวิจัย ถึงรายงานการติดเชื้อของ HCW หลังฉีดวัคซีนครบโดส
🔴 อินโดนีเซีย
Siloam Teaching Hospital
บุคลากรการแพทย์ 1,040 คน
ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบแล้ว
👉 ติดเชื้อ 13 คน คิดเป็น 1.25%
- 11 คน มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่
ไข้ ไอ ปวดเมื่อย
- 2 คน ไม่แสดงอาการ เจอตอนคัดกรองซ้ำ
พบว่า มีอาการหลังฉีดวัคซีนครบ ประมาณ 3 วัน
โดยเริ่มมีอาการเฉลี่ย 5 วัน (2-11 วัน) ถึงจะตรวจ RT-PCR พบเชื้อ
1
🔴 อิสราเอล
Sheba Medical Center
บุคลากรการแพทย์ 4,081 คน
ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบแล้ว
1
👉 ติดเชื้อ 22 คน คิดเป็น 0.54%
1
- 11 คน น่าจะติดจากชุมชน
- 4 คน น่าจะติดก่อนได้รับวัคซีน
1
มีอาการหลังฉีดวัคซีนครบ
ประมาณ 3.5 วัน (1-10 วัน)
🔴 สหรัฐอเมริกา
University of California, San Diego (UCSD)
University of California, Los Angeles (UCLA)
1
บุคลากรการแพทย์ ที่ได้รับวัคซีน Pfizer, Moderna ครบแล้ว
36,659 คน ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1
28,184 คน ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
👉 ติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนเข็มแรก = 342 คน , 0.93%
👉 ติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนครบ = 37 คน , 0.13%
🔴 อินเดีย
Fortis CDOC Center of Excellence for Diabetes, Metabolic Diseases & Endocrinology, New Delhi
บุคลากรการแพทย์ 107 คน
ที่ได้รับวัคซีน Covaxin, Covishield ครบแล้ว
1
👉 ติดเชื้อ 19 คน คิดเป็น 16.9%
โดย 12 จาก 19 คน อายุน้อยกว่า 40 ปี
~ 50% มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ
มีจำนวนเล็กน้อย สูญเสียการทรงตัว,
เสียการได้กลิ่นและการรับรส
มีอาการหลังฉีดวัคซีนครบ
ประมาณ 34.8 วัน (2-51 วัน)
🦠 จะเห็นว่า จากตัวอย่างที่ยกมา
และอีกหลาย ๆ งานวิจัย พบ HCW
ติดเชื้อหลังได้รับวัคซีน 1-2%
โดยยังไม่สรุปสาเหตุ
และปัจจัยเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
👩‍⚕‍ บุคลากรการแพทย์ที่เชียงราย
ติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนครบ
จากข่าวของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
แถลงเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ว่า
มีบุคลากรติดเชื้อ 39 ราย
มีอาการเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
1
จนท.ตึก 84 ปีอนุสรณ์ทั้งหมด 25 ราย
ฉีดวัคซีนครบแล้ว 16 ราย
ในจำนวนนี้ติดเชื้อ 5 ราย
เพราะฉะนั้นอัตราการติดเชื้อ
ในคนที่ฉีดครบแล้ว คิดเป็น 31.25%
มองแบบนี้อาจแคบไป
เพราะเราไม่อาจตัดสิน จากแผนกเดียวได้
ข้อมูลจากกระทรวง สธ. พบว่า
รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ มีบุคลากร 1,709 ราย แต่ถ้านับส่วนที่มีโอกาสสัมผัสคนไข้ อยู่ที่ประมาณ 1,500 คน
📌 เพราะฉะนั้น สมมติคิดตามอุดมคติ ว่า บุคลากรทั้งหมดได้รับวัคซีนครบแล้ว
จะพบว่า อัตราการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนครบ
คิดเป็น 39/1,709 เท่ากับ 2.28%
ถ้าคิดเฉพาะกลุ่มที่น่าจะสัมผัสคนไข้
1,500 คน คิดเป็น 2.6%
📌 แต่ในความเป็นจริง จากตัวอย่างของ
ตึก 84 ปีอนุสรณ์ ซึ่งดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม
มีหอผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยพิเศษ
น่าจะเป็นแผนกหลักที่รับผู้ป่วยโควิด-19
มีอัตราการได้รับวัคซีนของ จนท. 16/25 = 64%
สมมติว่าทั้ง รพ. ฉีดวัคซีนไปแล้ว 64%
คิดเป็น 1,094 คน
เพราะฉะนั้น อัตราการติดเชื้อในคนที่ได้รับวัคซีนแล้ว จะเท่ากับ 39/1,094 คิดเป็น 3.56%
1
📌 มองแบบนี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย
แต่เมื่อลองเทียบกับ
อินโดนีเซีย (Sinovac) 1.25%
อิสราเอล (Pfizer) 0.54%
สหรัฐอเมริกา (Pfizer, Moderna) 0.13%
อินเดีย (Covaxin, Covishield) 16.9%
👉 ของเชียงราย ไม่ว่าจะ 2.28%, 2.6%, 3.56%
ก็มากกว่า ค่าเฉลี่ยของหลายประเทศอยู่ดี
ยกเว้นอินเดีย ที่อาจต้องหาปัจจัยเพิ่มเติม
ที่ทำให้ข้อมูล หลุดจากค่าเฉลี่ยมาตรฐาน
📌 ลองคิดเล่น ๆ ว่า ในบุคลากร 100 คน
มีโอกาสติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน 3.56 คน อาจมองดูน้อย แต่ถ้า 100,000 คน ก็จะเท่ากับ 3,560 คน
1
😲 3,560 คน ขาดคนดูแลคนไข้
ไปอีกกี่หมื่นคน ?
📌 ทราบว่า สรุปแบบนี้อาจไม่ถูกต้อง ในเชิงสถิตินัก ? แต่ ณ ปัจจุบัน ข้อมูล ข้อเท็จจริง หาไม่ได้ง่าย ๆ เลยได้แต่สันนิษฐาน จากข้อมูลจำนวนน้อย ที่ได้รับการเปิดเผย
📌 เข้าใจอีกว่า ไม่ได้เหนือความคาดหมาย
ที่มีการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนครบ แต่ไม่ค่อยเข้าใจ.. ที่เหนือกว่าเพื่อนเกือบ 3 เท่าค่ะ !!!
🥴 อย่างน้อยก็ได้หัดคิด บนข้อมูล ข้อเท็จจริงที่จับต้องได้ ดีกว่าเห็นแล้ว แต่ไม่สะกิดใจอะไรเลย
ปล. นี่แค่จำนวนที่ได้รับการเปิดเผยเนอะคะ 🤭
👩‍⚕️ ทำไมสังคมถึงควรตื่นตัว ?
ตื่นตัว ไม่ได้หมายถึงตื่นตูม
1
แต่เห็นแล้ว ก็ควรช่วยกันกระตุ้นผู้รับผิดชอบ
ให้มีการสืบค้นข้อเท็จจริง หาสาเหตุหรือตั้งข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่ทำเหมือนเป็นเรื่องไม่สำคัญ
เพราะหลายครั้ง ที่ข้อมูลเล็ก ๆ เหล่านี้ อาจเป็นตัวสะท้อน ถึงแนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนในอนาคตได้
🔴 นี่คือภาพสะท้อนของคุณภาพวัคซีนรึเปล่า ?
ยึดตามคำจำกัดความ ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) อธิบายถึง Vaccine Efficacy (ประสิทธิภาพของวัคซีน) หรือ Vaccine Effectiveness (ประสิทธิผลของวัคซีน) ว่า
“Vaccine efficacy/effectiveness (VE) is measured by calculating the risk of disease among vaccinated and unvaccinated persons and determining the percentage reduction in risk of disease among vaccinated persons relative to unvaccinated persons.”
📌 สรุปว่า ประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลของวัคซีน ดูจากว่า “วัคซีนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค” เมื่อเทียบคนที่ฉีดกับคนที่ไม่ได้ฉีด
1
📢📢📢 ย้ำอีกครั้งนะคะว่า 📢📢📢
📌 ประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลของวัคซีน 📌
วัดจากความสามารถ ในการช่วยลดความเสี่ยงใน ‘ก า ร เ กิ ด โ ร ค’
1
นี่คือมาตรฐานสากล ถ้ายังอยู่ในสังคมโลก
ถ้ายังเป็นสมาชิก WHO, UN
ก็น่าจะใช้มาตรฐานนี้ค่ะ
🤦‍♂️ ถ้าจะบอกว่า อย่างน้อยก็ช่วยกันเจ็บหนัก
กันตายได้
👍 พูดแบบนั้นไม่ผิดเลยค่ะ แต่นั่นไม่ควรเป็นวัตถุประสงค์หลัก (Primary Endpoint)
ของการศึกษา หรือใช้วัคซีน
เพราะ CDC บอกว่า
วัคซีนต้องป้องกัน ก า ร เ กิ ด โ ร ค ค่ะ
ไม่ใช่แค่กันเจ็บหนัก หรือกันตาย !
🤦‍♂️ ถ้าจะบอกว่า ซิโนแวคผ่านมาตรฐาน EUA
ให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว
👍 ถูกค่ะ เพราะมาตรฐานตัดที่ 50%
นี่เราเลือกตัว 50.4% มาเลยนะ
ก็ผ่านมาตรฐานชัวร์ 💯
👍 หรือจะบอกว่า ข้อมูลจากการใช้จริงของ Sinovac เพิ่มเป็น 66.96% แล้วนะ
ส่วนแอสตราเซเนกา 79% แต่ของ Pfizer
ต่างหากลด จาก 95% มาเป็น 80%
👍 ใช่ค่ะ... แต่ 80% ก็ยังมากกว่า 66.96% อยู่ดี และที่สำคัญเราสั่ง Sinovac เพิ่มเป็นหลักค่ะ
ท่านก็บอกแล้วว่า เรามีสัมพันธ์อันดี
และดีลไว้แล้ว
🤦‍♂️ ถ้าบอกว่า ตอนนั้นซิโนแวคมาถึงก่อน ก็ฉีดให้บุคลากรการแพทย์ก่อน ไม่ถูกหรอ ?
👍 งั้นถามบ้าง? ก็ทำไมตอนนั้นไม่สั่งตัวอื่นมา ?
ทำไมไม่ฉีดตัวอื่นเพิ่มให้ ? แล้วทำไมถึงตอนนี้ ยังสั่งวัคซีนที่มีแนวโน้มว่า มีคุณภาพน้อยที่สุดเข้ามาเพิ่มอีก ?
🤦‍♂️ บางคนอาจบอกว่า สุดท้ายวัคซีนทุกตัว
ก็จะมีภูมิคุ้มกันลดลง เผลอ ๆ ต้องฉีดกระตุ้นทุกปีด้วย
1
👍 อันนี้จริงค่ะ แต่ไม่ดูตอนมันออกฤทธิ์
เทียบกันหน่อยหรอคะว่า 51-66.96% เทียบกับ
80-90% น่าจะเห็นความแตกต่างอยู่บ้างนะคะ
🤦‍♂️ ทราบดีค่ะว่า ไม่มีวัคซีนตัวไหน สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ตราบใดที่ยัง
มีการแพร่กระจายเชื้อในสังคมอยู่ เพราะฉะนั้น
วัคซีนที่ดี ณ ตอนนี้ คือวัคซีนที่ป้องกันการเกิดโรคได้ และหวังว่าจะลดการแพร่กระจายเชื้อได้ด้วย
👍 เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา มีรายงานจาก CDC ว่า วัคซีน Pfizer และ Moderna มีแนวโน้มว่า สามารถลดการแพร่ระบาด (Transmission) ได้ 😲😲😲
👍 โดยข้อมูลจากหลายงานวิจัยพบว่า
เมื่อเปรียบเทียบ กลุ่มที่ติดโควิดหลังจากได้วัคซีนไฟเซอร์ครบ กับกลุ่มที่ติดโควิดโดยไม่ได้รับวัคซีนเลย
1
พบว่าคนกลุ่มแรกมีจำนวนไวรัส (Viral Load, VL) ลดลงอย่างชัดเจน เพราะ VL เป็นปัจจัยสำคัญ ที่บ่งบอกถึงความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อ
📌 นี่เป็นข้อมูลจากคนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับวัคซีน เป็นกลุ่มที่น่าจะเข้าใจวิธีการดูแล และป้องกันตัวเองดีกว่าคนทั่วไป ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ เมื่อเทียบกับหลายชาติ ประเทศเราอาจมีแนวโน้มสูงกว่าถึง 3 เท่า
ซึ่งอาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาจเพราะบุคลากรเสี่ยงสูง มีโอกาสสัมผัสเชื้อมากกว่า ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ไม่ได้ออกกำลังกาย
ไม่ได้เลือกทานอาหาร ภูมิคุ้มกันเลยทำงานน้อยกว่าคนทั่วไป เลยอาจทำให้ติดเชื้อซ้ำได้มาก
ก็ควรมอบหมายให้มีหน่วยรับผิดชอบเร่งศึกษา เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ควรสนับสนุนการวิจัย
ในทุก ๆ ด้านด้วยนะค้า
📌 แล้วในกลุ่มประชากรทั่วไปล่ะ
จะมีโอกาสติดเพิ่มได้เท่าไหร่ ?
ถ้าลองถอดบทเรียนของ รพ. เชียงรายประชานุเคราะห์ อาจต้องเริ่มตระหนักแล้วหรือไม่ว่า
🤔 การจัดการวัคซีนของเรา
มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ?
🤔 แล้วยังยืนยันจะเดินแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ?
🤔 จะเปิดประเทศ แบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสาธารณสุข ?
ทำอย่างไรเจ้าคะ?
😔 จำนวนเตียงที่น้อยลง กับบุคลากรที่เหนื่อยล้า และลดจำนวนลงเรื่อย ๆ สถานการณ์ครุกรุ่นขนาดนี้ แต่ยังเลือกจะเดินแบบเดิม ทำแบบเดิม แล้วมันจะดีขึ้น จนทำให้เปิดประเทศได้อย่างไร ?
2
🤦 ไม่เข้าใจจริง ๆ
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🤗🙏
อ้างอิงจาก 👇
🤓Post-vaccination cases of COVID-19 among healthcare workers at Siloam Teaching Hospital, Indonesia
doi: 10.1016/j.ijid.2021.05.020,
Published May 13, 2021
🤓Breakthrough COVID19 infections after vaccinations in healthcare and other workers in a chronic care medical facility in New Delhi, India
doi: 10.1016/j.dsx.2021.05.001,
Published May 3, 2021
🤓Postvaccination COVID-19 among Healthcare Workers, Israel
doi: 10.3201/eid2704.210016,
Published April 27, 2021
🤓SARS-CoV-2 Infection after Vaccination in Health Care Workers in California
doi: 10.1056/NEJMc2101927,
Published March 23, 2021
1
🤓Measures of Public Health Impact, CDC

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา