26 มิ.ย. 2021 เวลา 00:55 • อาหาร
ผักกะแยง, ผักแขยง คืออะไร?
เป็นผักพื้นบ้านอีสานที่มีลักษณะเป็นพืชล้มลุก มักขึ้นเองตามคันนา ลำต้นทั้งต้นจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสชาติเผ็ดร้อนแตกต่างกับผักชนิดอื่น และช่วยดับกลิ่นคาวและชูรสชาติของอาหารได้เป็นอย่างดี
ผักกะแยง
ลักษณะของผักกะแยง
- ผักกะแยง ผักแขยง จัดเป็นพืชล้มลุกเนื้ออ่อน จัดเป็นวัชพืชในนาข้าว มีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร
- สามารถพบผักกะแยงได้มากตามแปลงนา หรือที่น้ำขังต่าง ๆ
- ลำต้นมีเป็นทรงกลม ตั้งตรง อวบ มีขนปกคลุม ด้านในลำต้นกลวง ตลอดทั้งลำต้นจะมีสีเขียวอ่อน
- ลำต้นผักกะแยงมีกลิ่นหอมฉุนฉุนแรง และให้รสเผ็ด
- รูปทรงของใบเป็นแบบใบรี มีสีเขียว มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ขอบใบหยัก
- ด้านบนของใบผักกะแยงจะมีตุ่มเล็กๆ เป็นต่อมน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ดอกเป็นทรงกรวย กลีบมีสีแดง สีชมพูอ่อน สีขาว หรือสีม่วง มีทั้งดอก-เดี่ยว และเป็นช่อ แทรกอยู่ตามกลับใบ
สรรพคุณ และประโยชน์ของผักกะแยง
- ใช้กินเป็นยา หรือเป็นอาหาร
- ผักกะแยงจะมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร
- ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ลดอาหารร้อนใน ด้วยการใช้ต้นผักแขยงสด ๆ ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใช้ได้ทั้งต้น)
- บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ชุ่มคอ
- ช่วยดับกลิ่นปาก เพราะน้ำมันหอมระเหยจะช่วยกำจัดแบคทีเรียในช่องปาก
- ทั้งต้นใช้เป็นยาขับลม และ มีฤทธ์เป็นยาระบายอ่อนๆ (ใช้ได้ทั้งต้น)
- การรับประทานผักแขยงแบบสด ๆ ยังช่วยดับกลิ่นตัว กลิ่นเต่าได้ด้วย
- เป็นยาขับน้ำนม และช่วยให้สตรีหลังคลอดฟื้นตัวได้เร็ว แต่ไม่นิยมใช้หลังคลอดทันที จะนำมาใช้หลังจากการคลอดบุตรมาได้สักพักแล้ว
- ผักกะแยงเป็นผักพื้นบ้านในกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
1
ใช้ภายนอก
- ทั้งต้นใช้ตำพอกแก้อาการบวม
- แก้อาการคันจากหญ้า หรืออาการคันผื่นแพ้
- ใช้แก้อาการคัน รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน และฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น หรือนำมาคั้นเอาน้ำทา หรือนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น
- ลำต้น และใบสด นำมาขยำดม ใช้แก้อาการวิงเวียนศีรษะได้
การใช้ผักกะแยงเป็นอาหารหรือสมุนไพรก็มีข้อควรระวัง เช่น
- สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าอาจทำให้เกิดอาการผิดสำแดงขึ้นมาได้
- สตรีหลังคลอดควรระวังการกินผักกะแยงสด ๆ เพราะอาจเกิดอาการแพ้ เวียนหัว คลื่นไส้ และอาเจียน
- ผักกะแยงมีสารแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) สูง จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะสารนี้อาจสะสมในอวัยวะต่าง ๆ และเพิ่มความเสี่ยงเป็นนิ่วได้ โดยเฉพาะในไต หรือกระเพาะปัสสาวะ
การนำผักกะแยงมาทำอาหาร
ยอดใบอ่อน หรือ ต้นอ่อนของผักกะแยง นิยมนำมาประกอบอาหารหลายประเภท ใช้ทั้งนำมาประกอบอาหาร และรับประทานสด ไม่ว่าจะเป็น แกงปลา แกงลียง แกงเห็ด แกงหน่อไม้ แกงอ่อมต่างๆ เพราะเป็นผักที่ให้รสเผ็ด และกลิ่นหอมฉุน สามารถดับกลิ่นคาวปลาได้ดี รวมถึงใช้รับประทานเป็นผักเคียงกับอาหารอีสานอย่าง ลาบ ก้อย ซุปหน่อไม้ ส้มตำ และน้ำพริกต่าง ๆ
#สาระจี๊ดจี๊ด
ภูมิปัญญาพื้นบ้านทางภาคอีสานก็มีความเชื่อว่า การนำผักกะแยงไปประกอบอาหารที่มีรสเปรี้ยวจะช่วยลดความเสี่ยงที่สารแคลเซียมออกซาเลตจะสะสมในร่างกาย เพราะสารที่ให้รสเปรี้ยวจะช่วยละลายสารแคลเซียมออกซาเลตได้
#สาระจี๊ดจี๊ด
ไม่ควรกินผักกะแยงมากเกินพอดี เพราะอาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา