27 มิ.ย. 2021 เวลา 13:53 • สุขภาพ
ทำไมเลี่ยงคำว่าล็อคดาวน์ ย้อนฟังหมอทวีศิลป์ หากประกาศ “ล็อคดาวน์” ต้องมีการเยียวยา
2
วันที่ 26 มิถุนายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศเกี่ยวกับมาตรการควบคุม COVID-19 รอบใหม่ ลงชื่อโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยรายละเอียดของประกาศหลักว่าด้วย ‘การควบคุบพื้นที่’ และ ‘ออกข้อบังคับเข้มงวด’ เฉพาะใช้ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสงขลา โดยคำสั่งต่างๆ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้
ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีคำสั่งให้ปิดแคมป์ก่อสร้าง 30 วัน เพื่อควบคุมการระบาดของโรค
2
ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการ และโรงงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ออกมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน โดยกรอบคำสั่ง คือ การควบคุม ‘เวลา’ และ ‘รูปแบบการบริการ’ ของสถานประกอบการต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าคอมมูนิตี้มอลล์ โดยอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 21.00 น. โดยให้อยู่ภายใต้ข้อบังคับการงดบริการในพื้นที่โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ พื้นที่นั่งรับประทานในศูนย์อาหาร และเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลในพื้นที่พักคอย และต้องเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหมุนเวียนอากาศ
2
ส่วนโรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สามารถเปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยให้งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา และการจัดเลี้ยง ส่วนสถานประกอบการจำพวกร้านอาหาร มีคำสั่งห้ามจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มภายในร้าน โดยให้เปลี่ยนเป็นรับกลับไปบริโภคที่อื่นแทน
1
นอกจากนั้นยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทาง โดยเฉพาะเส้นทางเข้าออกจังหวัดชายแดนภาคใต้และในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล บังคับให้มีการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรอง การเดินทาง อย่างเข้มงวด
รวมถึงคำสั่งให้งดจัดกิจกรรมทางสังคม โดยให้ประชาชนงดจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มจำนวนมากกว่า 20 คน ในลักษณะการสังสรรค์ จัดเลี้ยง หรืองานรื่นเริง เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น
2
หลังประกาศถูกเผยแพร่ มีข้อสังเกตว่าในคำสั่งดังกล่าว หลีกเลี่ยงคำว่า ‘ล็อคดาวน์’ ทั้งที่มาตรการที่ออกมานั้น มีลักษณะของการควบคุมการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างชัดเจน โดย นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าไม่ใช่การล็อคดาวน์ แต่เป็นข้อกำหนดที่เข้มข้น เพื่อยกระดับมาตรการชั่วคราว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดเท่านั้น
1
ต่อกรณีนี้ หากเราย้อนกลับไปดูถ้อยคำของ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์​การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ​ หรือ ศบค. ซึ่งเคยตอบคำถามในวันที่ 3 มกราคม 2564 ถึงกรณีการหลีกเลี่ยงใช้คำว่า ‘ล็อกดาวน์’ เอาไว้ จะพบว่าถ้อยคำดังกล่าวนั้นสัมพันธ์กับมาตรการที่รัฐต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบด้วย
3
"เมื่อไหร่ก็ตามที่ ศบค. ต้องประกาศว่าเป็นการ ล็อกดาวน์ หมายถึงว่าคำสั่งนี้จะทำให้กระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจ กระทบต่อการหารายได้ของทุกท่าน ก็ต้องมีการเยียวยาซึ่งเป็นภาระของภาษีเงินทั้งประเทศ”
3
“ฉะนั้นการใช้มาตรการต่างๆ ในตอนที่เราเผชิญอยู่ในการตกต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย การใช้มาตรการต่างๆ เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายต้องเสีย ต้องเป็นภาพที่ทำให้ทุกคนต้องลำบากกันทั้งหมด ถ้าตอนนี้ถ้าหากเรากระจายความรับผิดชอบและความร่วมมือไปได้ ทุกคนล้วนแล้วแต่อยากทำมาหากินอยู่ในชีวิตประจำวันที่เราเคยทำกันมา แต่ต้องเป็นรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ เราต้องปฏิบัติ การติดเชื้อขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกมาก ไม่ได้บอกว่าให้งดเที่ยวบินแล้วลดโรคได้ งดเรื่องการขายอาหารแล้วจะลดโรคได้ ก็ไม่ใช่อีก มันประกอบกันหลายส่วนมาก”
ย้อนฟังแถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. (3 ม.ค. 64):
อ่านประกาศฉบับเต็มได้ที่: https://tinyurl.com/u2zep2r8 ดูน้อยลง
โฆษณา