1 ก.ค. 2021 เวลา 04:06 • อาหาร
รู้จัก "เนื้อวัวญี่ปุ่นวากิว (Wagyu)" กันเถอะ
เชื่อว่าโพสนี้ คงทำให้เพื่อน ๆ เกิดความรู้สึกเสียดายกันอยู่ไม่น้อย
เนื่องจากตอนนี้ เราอาจไม่สามารถรับประทานเนื้อย่างที่ร้าน ได้เนอะ
(เดาว่า บางคนอาจแบบ “ไม่เสียดายจ้า เพิ่งไปทานมาเอง”)
เอาเป็นว่า ในโพสเรื่องราวสาระของ "เนื้อวากิว (Wagyu)"
จะช่วยเติมเต็มความหิวให้กับเพื่อน ๆ ด้วยความรู้สไตล์พวกเรา InfoStory กันไปก่อน เพื่อรอวันที่ร้านเนื้อย่าง จะเปิดให้เราได้ไปนั่งทานกันเนอะ
อะ เรื่องราวสาระสบายสมองในวันนี้จะเป็นอย่างไร
ให้ภาพอินโฟกราฟิกสุดสบายตา พาเพื่อน ๆ ไปชมกัน !
วากิว (Wagyu) มาจากภาษาญี่ปุ่นมา วะ (和) หมายถึงประเทศญี่ปุ่น และ กิว (牛) แปลว่าเนื้อวัว
"วากิว" จึงแปลว่า เนื้อวัวที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น
พอพูดถึงเนื้อวัวญี่ปุ่นวากิวแล้ว ก็ต้องพูดถึงประโยคคำกล่าวยอดฮิต ที่ว่า
“วากิว (Wagyu) จัดเป็นวัวญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ใช่ว่า วัวญี่ปุ่นทุกตัว จะเป็นวัววากิวเสมอไป”
คือ วัวในประเทศญี่ปุ่น จะมีการเลี้ยงเพื่อนำมาทานเนื้อเนี่ย มีหลากหลายแบบเลยละ
ไม่ว่าจะเป็น วัวที่นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อในญี่ปุ่น, วัวเลี้ยงญี่ปุ่นสายพันธุ์อนุรักษ์ดั้งเดิม
หรือ วัวสายพันธุ์วากิว คือ คำเรียกเฉพาะ ซึ่งหมายถึงเนื้อวัวที่มาจากสายพันธุ์วัวญี่ปุ่นแท้ ๆ อีกเช่นกัน
ซึ่งโดยมาก วัวญี่ปุ่นวากิว จะเป็นสายพันธุ์ญี่ปุ่นขนดำ (Japanese black)
ปัจจุบันมีการเลี้ยงวัวสายพันธุ์นี้มากกว่า 2 ล้านตัว ในประเทศญี่ปุ่น
หรือ คิดเป็น 90% ของสายพันธุ์วัววากิว ที่นิยมทานกันในญี่ปุ่น (รวมไปถึงส่งออกด้วยนะ)
ที่มากไปกว่านั้นคือ วัววากิวสายพันธุ์ญี่ปุ่นขนดำ ก็ยังได้ถูกนำไปผสมกับสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ทำให้เกิดเนื้อวากิวหลากหลายชนิด ในหลาย ๆ ประเทศออกมา อีกด้วยเช่นกัน
วัววากิวออสเตรเลีย ก็เกิดมจากการผสมพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจาก วัววากิวสายพันธุ์ญี่ปุ่นขนดำ อีกด้วยเช่นกัน
ในเรื่องของการแบ่งเกรดหรือระดับ ของเนื้อวากิวญี่ปุ่นเนี่ย
ก็จะถูกจัดระดับโดยสมาคมผู้จัดระดับเนื้อแห่งประเทศญี่ปุ่น (JMGA : Japan Meat Grading Association)
โดยสมาคมแห่งนี้ เขาได้วางมาตรฐานการแยกระดับของเนื้อวัวเอาไว้โดยแบ่งเป็น A B C ทุกเกรดมี 5 ระดับ รวม 15 เกรด
โดยหลัก ๆ แล้ว เกรดที่เราคุ้นเคยกันในชื่อตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่าง “A” “B” หรือ “C” คือ เขาจะแบ่งอัตราส่วนของเนื้อจากส่วนที่สามารถกินได้ เมื่อเทียบกับวัวทั้งตัว
ยกตัวอย่างเช่น เกรด “A” มีปริมาณเนื้อที่กินได้มากกว่า 72 %
ส่วนเกรด B และ เกรด C ก็จะมีปริมาณเนื้อที่กินได้ในระดับที่ต่ำลงมา (ซึ่งมากสุดอาจต่ำได้กว่า 60%)
จึงไม่แปลกใจที่เราจะได้คุ้นเคยชินกับการบริโภคเนื้อเกรด “A” มากกว่าเนอะ
ส่วนตัวเลข 1 - 5 ที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะแบ่งตาม “เกรดคุณภาพเนื้อ”
โดยเขาจะพิจารณาว่าจาก ส่วนของ
- ไขมันลายหินอ่อนที่แทรกอยู่ในเนื้อ
- ความนุ่มความละเอียดของเนื้อ
- สี ความมันวาว คุณภาพไขมัน ความสว่างของเนื้อ
ส่วนของไขมันลายหินอ่อนแทรกอยู่ในเนื้อมากจะถูกจัดให้อยู่ในเกรดดีใกล้ระดับ “5”
ซึ่ง ระดับ 5 นี้ก็จะเป็นระดับที่สูงที่สุดของการจัดเกรดในประเทศญี่ปุ่น
(แต่เห็นว่าอเมริกาและออสเตรเลีย จะมีมาตรฐานคะแนนเนื้อวากิวที่มากถึง 12 ระดับ
กยกตัวอย่างเช่น เนื้อ Grade A8 - 9 ของวากิวออสเตรเลีย ก็จะเทียบเท่ากับ Grade A5 ของญี่ปุ่น)
ต่อมา มาถึงเรื่องราวที่พวกเราอยากหยิบมาเล่าต่อ
ในเรื่องของ เนื้อวัว ที่เป็นตัวท็อป 3 อันดับกัน
(แต่ในที่นี้ พวกเราไม่ต้องการเรียงแบบอันดับที่ 1 2 3 แต่ขอเรียกเป็นชื่อรวม ๆ เลย ก็แล้วกันนะ)
- เนื้อโกเบ (Kobe)
ด้วยชื่อนั้นตรงตัว คือ เนื้อวัวสายพันธุ์ทาจิมะขนดำ ที่มีการขนส่งกระจายเนื้อวัวที่ท่าเรือโกเบ เพราะเป็นท่าเรือที่ใกล้กับแหล่งเพาะพันธุ์วัววากิวสายพันธุ์นี้ นั่นเอง
วัวทาจิมะ เป็นวัวที่มีเนื้อแดง มีไขมันแทรกมาก (Marbling) ทำให้มีลายเนื้อคล้ายหินอ่อน
วัวทาจิมะยังมีสัดส่วนของกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง ทำให้เนื้อสเต๊กไม่เป็นไข และเป็นไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ว่ากันว่าวัวสายพันธุ์ทาจิมะ จะได้รับการเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดี ด้วยการทะนุถนอมจนสุขภาพแข็งแรงดีเยี่ยม ทำให้เนื้อของวัวพันธุ์นี้มีคุณค่าทางโภชนาการและมาตราฐานสูง
ส่วนเรื่องของการนิยมทานเนื้อวัวชนิดนี้ จริง ๆ ต้องบอกว่า มาจากวัฒนธรรมการทานเนื้อวัวของชาวตะวันตกนะ (เพราะคนญี่ปุ่นไม่ได้ชอบทานเนื้อวัวมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว)
ซึ่งว่ากันว่า ผู้ที่เริ่มต้นทานสเต็กเนื้อวากิว ก็คือชาวอังกฤษที่มาช่วยพัฒนาระบบรถไฟรถรางที่ญี่ปุ่น ในเมืองโกเบนี้ละ
หน้าที่ของน้องวัววากิวในสมัยนั้น ยังถูกใช้เป็นพาหนะแบกของอีกด้วย
- เนื้อโอมิ (Omi)
คือ เดิมทีเนื้อวัว Omi ไม่ได้ถูกเรียกว่าโอมิตั้งแต่แรกนะ
เนื้อชนิดนี้ มีประวัติมาอย่างยาวนานกว่า 400 ปีเลยทีเดียว
ซึ่งในสมัยก่อน เนื้อวัวโอมิถือว่าเป็นอาหารที่มีชาติตระกูล โดยเนื้อนี้ถูกนำถวามให้โชกุนสมัยเอะโด รวมถึงเหล่าซามูไรด้วย
ซึ่งเนื้อวัวโอมินี้ ก็คือเนื้อวัวสายพันธุ์ขนดำ
ที่ต่อมาเมื่อการขนส่งพัฒนามากขึ้น จึงมีการนำเนื้อโอมิส่งไปยังกรุงโตเกียว
และเนื่องจากสมัยนั้นเนื้อโอมิ ถูกส่งไปจากท่าเรือโกเบจึงถูกเรียกกันว่า “เนื้อโกเบ” นั่นเอง
ก่อนที่ในเวลาต่อมา ชาวญี่ปุ่นจะมีการพัฒนาวัววากิวสายพันธุ์ขนดำเพศผู้ มาเพาะพันธุ์จนเป็นวัวโอมิ
ผนวกกับเส้นทางรถไฟในช่วงปี ค.ศ. 1889 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก จึงทำให้เนื้อวัวโอมิ ไม่จำเป็นต้องส่งผ่านท่าเรือโกเบอีกแล้ว นั่นจึงทำให้ชาวญี่ปุ่นได้รู้จัก “เนื้อวัวโอมิ” ในที่สุด
ซึ่งวัวโอมิเอง จะต้องถูกเลี้ยงในแหล่งน้ำใสและอยู่ติดกับแหล่งธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ที่มีคุณค่าทางอาหารของสัตว์ นิยมเลี้ยงในจังหวัดชิงะ
- เนื้อมัตสึซากะ (Matsusaka)
รู้ไหว่า เนื้อมัตสึซากะ ได้ถูกขนานนามจากคนญี่ปุ่น ว่าเป็น King of Wagyu Beef เลยทีเดียวนะ !
(ส่วน โกเบ จะเป็น Queen of Wagyu Beef)
เนื้อมัตสึซากะ อันที่จริงแล้วก็มีต้นกำเนิดมาจาก จากวัวญี่ปุ่นสายพันธุ์ดังเดิม ที่เลี้ยงกันมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ซึ่งก็คือวัวสายพันธุ์ขนดำทาจิมะ ชนิดเดียวดับเนื้อวัวโกเบนี่ละ
จนต่อมาเนี่ย เนื้อชนิดนี้ ได้ถูกนำมาพัฒนาขยายพันธุ์ต่อ ที่เมืองมัตสึซากะ
โดยผู้เลี้ยงชาวญี่ปุ่นได้ทำการพัฒนาวัวสายพันธุ์ขนดำทาจิมะ คัดเฉพาะเพศเมียที่ไม่เคยผสมพันธุ์มาก่อน จนได้มีชื่อเรียกและรสสัมผัสอันโดดเด่น ในชื่อของ “เนื้อวัวมัตสึซากะ” นี่เอง
โดยวัวมัตสึซากะ จะถูกเลี้ยงด้วยการให้อาหารที่มีใยสูง เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด หญ้าแห้ง และกากถั่วเหลือง
แถมยังมีเรื่องเล่ากันมาด้วยว่า วัวสายพันธุ์นี้ จะต้องเลี้ยงอยู่ในโรงเรือนติดแอร์ พร้อมให้น้องรับประทานเบียร์เย็น ๆ ไปด้วย (แต่อันนี้เราไม่เคยเห็นจริง ๆ ขออภัยหากข้อมูลคลาดเคลื่อน)
อย่างเช่นเคย คือ เรื่องข้อมูลประวัติความเป็นมาต่าง ๆ บางทีก็ต้องฟังหูไว้หูนะ
เพราะบางอย่าง ก็อาจเป็นเรื่องราวที่ถูกจงใจสร้างเพื่อ มาใช้ในทางการตลาด
แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่า อย่างน้อยพวกเราก็ได้ทราบความเป็นมาในเรื่องราวต่าง ๆ กัน ไม่มากก็น้อยเนอะ
ก็พอหอมปากหอมคอกับเรื่องราวที่น่าสนใจของ "เนื้อวากิว (Wagyu)" ฉบับมือใหม่
พวกเราก็จะขอจบเรื่องราวสาระความรู้สบายสมอง ไว้ที่ตรงนี้
ช่วงนี้จำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ วัน
พวกเรา InfoStory ก็ขอให้เพื่อน ๆ รักษาสุขภาพกันด้วยนะ 🙂
โฆษณา