เรื่องเล่าสู่กันฟัง ขนมปังในประวัติศาสตร์ไทย
.
🥖🥖ขนมปังไม่ใช่ของใหม่ในประเทศไทย แต่เป็นอาหารที่อยู่คู่กับชาวสยามมาแต่ช้านานตั้งแต่สมัยอยุธยา นะออเจ้า🥖🥖
เพลงกล่อมลูกสมัยก่อน
.
🎶วัดเอ่ย…วัดโบสถ์…ปลูกข้าวโพดสาลี🎶
.
สืบเนื่องจากการไปสังสรรค์ที่บ้านพี่กฤช เหลือลมัย คอลัมนิสต์ กวี นักสำรวจอาหาร นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ฯ อยู่บ่อยๆ และมากกว่าหนึ่งครั้งที่ตะแกพูดให้ได้ยินว่ามีหลักฐานว่าชาวสยามรู้จักขนมปังมาแต่ช้านานแล้ว... เมื่อสบเวลาว่าง เราจึงลองสืบค้นพอเลาๆ มาเล่าให้ฟังดังนี้...
.
ขนมปังไม่ใช่ของใหม่ในประเทศไทย แต่เป็นอาหารที่อยู่คู่กับชาวสยามมาแต่ช้านานตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว มีข้อมูลหลักฐานหลายแห่งว่าชาวอยุธยารู้จักขนมปังและมีสูตรทำขนมปังของตนเอง ตามชุมชนชาวยุโรป บ้านโปรตุเกส บ้านฮอลันดา ชาวอังกฤษและฝรั่งเศส และในอยุธยายังมีไร่นาปลูกข้าวสาลีทำขนมปังด้วยนะครับ 😲
.
จดหมายเหตุลาลูแบร์
“ข้าวสาลีที่ปลูกขึ้นในประเทศสยามนั้น ปลูกบนที่ดินดอนสูงห้ามน้ำไม่ให้ท่วมถึง ใช้วิธีตักน้ำมารดต้นข้าวเช่นพวกเราชาวยุโรปรดน้ำต้นไม้ในสวน บ้างก็ใช้น้ำฝนที่กักเก็บไว้ในที่สูงกว่าไร่ข้าวสาลีให้ไหลมาเอิบอาบซาบไปตามไร่นั้นๆ บ้าง
.
แต่จะเป็นด้วยต้องเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ และหมดเปลืองค่าใช้จ่ายมาก และอีกทั้งข้าวสารนั้นมีมากพอสำหรับราษฎรสามัญที่ใช้บริโภคกัน จึงมีเพียงพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียวเท่านั้นที่เสวยข้าวสาลี หรือบางทีก็อาจเป็นเพราะทรงเห็นว่าเป็นอาหารที่แปลกประหลาดกว่าเครื่องต้นตามธรรมเนียมเดิม ชาวสยามเรียกข้าวสาลีว่า “ข้าวโพดสาลี” นำเข้ามาสยามด้วยพวกแขกมัวร์บ้าง ชาวฝรั่งเศสบ้าง และใกล้ๆ อยุธยาเองก็มีสีลมสำหรับโม่แป้งอยู่หนึ่งแห่ง และที่ละโว้ก็มีสีลมสำหรับโม่แป้งอีกหนึ่งแห่งเช่นกัน”
ยังมีต่อ ตอนต่อไปว่าด้วยฝรั่งรีวิวขนมปังสยามสมัยอยุธยา ว่ามีรสชั้นเลิศ โปรดติดตาม....