6 ก.ค. 2021 เวลา 13:03 • การศึกษา
วิธีจัดการหนี้ ด้วยการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว
นับว่าเป็นโอกาสดีที่ทาง ธปท. ได้ร่วมกับสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ค่ะ
โดยสามารถนำหนี้ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ มาร่วมกับหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยลดดอกเบี้ย ให้เหลือแค่อัตราดอกเบี้ย MRR และขยายเวลาชำระหนี้ได้อีกด้วย
⛳ วิธีการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว
โดยการรวมสินเชื่อทุกประเภท แล้วใช้บ้านเป็นหลักประกัน ซึ่งหนี้บ้านนั้น จะต้องไม่เป็น NPL หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน แล้วมารวมกันกับหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน
เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ ทั้งที่เป็น NPL และไม่เป็น NPL ภายใต้เงื่อนไขคือ ต้องเป็นผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกัน
หลังจากรวมหนี้แล้ว สิ่งที่จะได้คือ อัตราดอกเบี้ยของหนี้บ้าน จะไม่เพิ่มจากเดิม ส่วนหนี้บัตรเครดิต จะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงโดยไม่เกิน MRR
Cr.ธปท.
ตัวอย่าง สมมุตินายเอ มีหนี้บ้านค้างกับธนาคาร 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี และมีหนี้ค้างบัตรเครดิตกับธนาคาร 2 แสนบาท เป็น NPL แล้ว ที่ดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี และ MRR ของธนาคารนี้อยู่ที่ร้อยละ 6
เมื่อรวมหนี้แล้ว จะเป็น 2.2 ล้านบาท ดอกเบี้ยบ้านจะเสียในอัตราร้อยละ 3 เหมือนเดิม ส่วนหนี้บัตรเครดิต จะเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6 คือไม่เกิน MRR ซึ่งหมายความว่า ดอกเบี้ยจะลดลง และจะผ่อนหนี้บัตรได้นานขึ้น และค่างวดจะลดลงด้วย
2
หลายท่านอาจสงสัย แล้วหลังจากปรับโครงสร้างหนี้แบบนี้แล้ว จะเป็นอย่างไรต่อ จะเสียประวัติข้อมูลเครดิตไหม ตรงนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันว่า ท่านจะไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต แต่อย่างใดค่ะ
Cr.ธปท.
ที่สำคัญเรายังได้ประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้แบบนี้ด้วย โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม ทั้งค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่เหลือได้อีกด้วย
ทั้งนี้ได้เปิดให้ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 - 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งโครงการก็เดินทางมาได้เกินครึ่งทางแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจต้องรีบหน่อยแล้วนะคะ
💦.....ทั้งนี้ควรสอบถามข้อมูลอย่างละเอียดจากผู้ให้บริการทางการเงินอีกที ซึ่งข้อมูลต้องครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจค่ะ
เช่น ข้อดีข้อเสียของการเข้าร่วมมาตรการ ข้อมูลเปรียบเทียบภาระหนี้เดิมกับภาระหนี้ใหม่ และทางเลือกการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รูปแบบอื่นที่สามารถทำได้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของเราให้ได้มากที่สุดค่ะ
Cr. ธนาคารแห่งประเทศไทย
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา