6 ก.ค. 2021 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ภาคการผลิตทั่วโลกโต สวนทางอาเซียนหดตัว
📌 Global PMI ในเดือนมิถุนายน ชี้ไปที่การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สม่ำเสมอในทุกภูมิภาค
ภาคการผลิตทั่วโลกโต สวนทางอาเซียนหดตัว
การผลิตทั่วโลกยังคงแข็งแกร่งในเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม Supply Chain ทั่วโลกกำลังเผชิญกับข้อจำกัดที่นำไปสู่การหยุดชะงักของการผลิต ระยะเวลาการส่งมอบที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าต่างๆก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
Global PMI ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 55.5 จากระดับ 56.0 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 11 ปี จากภาคการผลิตในเอเชียได้รับผลกระทบจากการเปิดประเทศของกลุ่มประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าลดลง
Manufacturing PMI
ดัชนี PMI ของสหรัฐฯ คงที่อยู่ที่ระดับ 62.1 ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของคำสั่งซื้อใหม่ แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของ supply chain และการขาดแคลนแรงงาน
การเติบโตของภาคการผลิตในยูโรโซน ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 24 ปี โดย PMI ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นเป็น 63.4 จาก 63.1 ในเดือนพฤษภาคม เป็นผลจากคำสั่งซื้อแข็งแกร่ง ความต้องการวัตถุดิบและกิจกรรมการจัดซื้อจากผู้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ขณะที่ ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นลดลงจาก 53 ในเดือนพฤษภาคมเป็น 52.4 บ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในภาคการผลิต แม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแพร่ระบาดระลอกใหม่
1
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอาเซียนกลับหดตัวมาอยู่ที่ 49.0 (จาก 51.8 ในเดือนพฤษภาคม) ทั้งผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยการผลิตในโรงงานลดลงเนื่องจากการระบาดระลอก 3 จาก สายพันธุ์เดลต้า และมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันการระบาด
1
ดัชนี PMI ของภูมิภาคที่ต่ำกว่าระดับ 50 มีดังนี้
มาเลเซีย (39.9)
เมียนมาร์ (41.5)
เวียดนาม (44.1)
สิงคโปร์ (46.5)
และไทย (49.5)
ในทางกลับกัน ดัชนี PMI ของฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นเป็น 50.58 (จาก 49.9 ในเดือนพฤษภาคม) ในขณะที่ระดับการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ลดลง การขยายตัวของภาคการผลิตของอินโดนีเซียชะลอตัวท่ามกลางการติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นใหม่ โดยมีดัชนี PMI อยู่ที่ 53.5
สำหรับประเทศไทย ดัชนี PMI ภาคการผลิตยังคงต่ำกว่า 50 เป็นเวลาสองเดือนติดต่อกัน เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและทำให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก
นอกจากนี้ รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์บางส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม
📌 ภาคยานยนต์ยังคงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย
การผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 140,168 คัน เพิ่มขึ้น 150% YoY สาเหตุหลักมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว แต่น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562
การผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือนพ.ค. 2564 อยู่ที่ 140,168 คัน เพิ่มขึ้น 150%
ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ในประเทศในเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 55,942 คัน เพิ่มขึ้น 38.4% YoY แต่ต่ำกว่าเดือนก่อน 3.78% เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต
ยอดส่งออกรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 79,479 คัน เพิ่มขึ้น 166% จากเดือนพฤษภาคม 2563 เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว การส่งออกรถยนต์ปรับตัวดีขึ้น 50.3% จากเดือนก่อน เนื่องจากคู่ค้าเริ่มมียอดขายรถยนต์ในประเทศดีขึ้น
เช่น ออสเตรเลีย
เวียดนาม
ญี่ปุ่น
และอินโดนีเซีย
อย่างไรก็ตาม
การส่งออกยังน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด 16.63%
มูลค่าการส่งออก 48,416.84 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 176.62% จากเดือนพฤษภาคม 2563
ยอดส่งออกรถยนต์ในเดือนพ.ค. 2564 อยู่ที่ 79,479 คัน เพิ่มขึ้น 166%
Global Economic Update
ผู้เขียน
ปรียา ชัชอานนท์ Economist, Bnomics
ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา