6 ก.ค. 2021 เวลา 01:37 • การศึกษา
[วันนี้อยากเล่าเรื่อง...] ทำความรู้จักกับ "กูลิโกะแมน" มีต้นแบบมาจากใคร ทำไมต้องเป็นนักวิ่ง และระยะทางก่อนเข้าเส้นชัย
ถ้าได้ไปถึงโอซาก้าหรือคิดจะไปให้ได้สักครั้ง แลนด์มาร์กสำคัญที่พลาดไม่ได้ของเมืองนี้คือป้ายโฆษณาของแบรนด์ขนม 'กูลิโกะ' และถ่ายรูปกับชายนักวิ่งชุดขาวในป้ายที่ชื่อว่า 'กูลิโกะแมน' ให้ได้สักครั้ง ป้ายนี้อยู่ในย่านโดทงโบริ แหล่งช้อปปิ้ของโอซาก้า
โดยส่วนใหญ่คนอาจจะยังไม่รู้ว่า จริงๆแล้ว ภาพวาดกูลิโกะแมนนั้นมีต้นแบบมาจากคนจริงๆ และการเป็นนักวิ่งบนภาพที่มีลู่วิ่งเป็นพื้นหลังมาตลอด 85 ปีนั้นมีที่มาและระยะทางที่สามารถระบุได้ ต้นแบบคือใคร ทำไมต้องนักวิ่ง และระยะทางที่วิ่งไกลแค่ไหน ผู้เขียนมีคำตอบมาให้แล้วค่ะ
📌ทำไมต้องเป็นนักวิ่ง📌
กูลิโกะแมนเป็นสัญลัษณ์ของแบรนด์ขนมและเป็นเสมือนตัวแทนเพื่อแสดงถึงปณิธานอันแน่วแน่ของผู้ก่อตั้ง ริอิจิ เอซากิ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่ต้องการทำให้ยาและขนมเป็นสิ่งเดียวกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดีและเป็นมิตรกับทุกเพศทุกวัย
ริอิจิ เอซากิ
เรื่องราวเริ่มต้นในปี ค.ศ.1919 เขาได้ค้นพบสารไกลโคเจน(ที่มาของคือ กูลิโกะ) จากน้ำต้มหอยนางรมที่มักจะถูกเททิ้ง เมื่อลูกชายป่วยจนทุกคนหมดหวัง เขาได้ให้สารสกัดไกลโคเจนที่ตัวเองค้นพบกับลูกชายจนลูกชายของเขากลับมาแข็งแรงอีกครั้งราวปาฏิหาริย์ หลังจากได้คำแนะนำจากแพทย์ว่าไกลโคเจนเหมาะกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เขาจึงก่อตั้งบริษัทและคิดค้นขนมเพื่อสุขภาพขึ้น โดยผสมคาราเมลลงไปจนกลายเป็น ขนมคาราเมลรูปหัวใจผสมสารไกลโครเจน ชื่อว่า 'กูลิโกะ คาราเมล' และวางขายในปี ค.ศ.1922
โดยใช้คำโฆษณาว่า..
"300 เมตรในเม็ดเดียว" สื่อว่าคาราเมลหนึ่งเม็ดให้พลังงานแก่ผู้รับประทานเท่ากับพลังงานที่ใช้ในการวิ่งระยะทาง 300 เมตร
2
จึงเป็นที่มาของ กูลิโกะแมน ว่าทำไมต้องเป็นนักวิ่งและระยะที่วิ่งคือ 300 เมตร เพื่อสอดคล้องกับคำโฆษณาแรกของบริษัทนั่นเองค่ะ
📌นักวิ่งต้นแบบของกูลิโกะแมน📌
แรกเริ่มกลิโกะแมนมีสีหน้าที่นจริงจังน่ากลัวค่ะ แน่นอนว่าไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก เอซากิ จึงพยายามรวบรวมใบหน้ายิ้มของนักวิ่งที่มีตัวตนอยู่จริงและกำลังโด่งดังในญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้นเพื่อใช้รวมกันเป็นต้นแบบใบหน้าของ กูลิโกะแมน จนได้นักวิ่งที่ตรงใจ 3 คนคือ
1
- คนที่ 1 : ฟอร์ตูนาโต คาตาลอน นักวิ่งชาวฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะมีกีฬาเอเชียนเกมส์ ในปี ค.ศ.1917 ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาที่มีชื่อว่า Far Eastern Games และคาตาลอนก็ทำให้คนญี่ปุ่นตะลึงเมื่อเขาชนะการแข่งขันถึงสองรายการ จนเป็นที่โด่งดังในญี่ปุ่น
- คนที่ 2 : ชิโซ คานาคุริ นักกีฬามาราธอนจากญี่ปุ่นที่เคยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกในปี ค.ศ.1912 และ
- คนที่ 3 : ทานิ ซาซาโงะ นักวิ่งชาวญี่ปุ่นในการแข่งขันโอลิมปิก ปีค.ศ.1924
ปัจจุบันป้ายโฆษณากูลิโกะแมนถูกเปลี่ยนแทนที่จนมาถึงรุ่นที่ 6 แล้วค่ะ โดยเริ่มติดตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ.1935 แต่ต้องเว้นช่วงของการติดตั้งไปหลายปีเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น นั่นเพราะจะกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตี จนในที่สุดก็ถูกติดตั้งใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1955 และยาวนานมาจนถึงปัจจุบันโดยมีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีให้เข้ากับยุคสมัยเสมอมาค่ะ
แม้เวลาจะผ่านไป 85 ปี แต่สิ่งที่ไม่ต่างไปจากเดิมคือ กูลิโกะแมน ที่ยังคงเป็นภาพขาวดำของนักวิ่งคนเดิม สื่อถึงความตั้งมั่นที่จะทำตามปณิธานแรกเริ่มของผู้ก่อตั้งในการสร้างขนมที่ดีต่อสุขภาพ และเทคโนโลยีที่ใช้กับภาพโฆษณาที่พัฒนาตามยุคสมัย แทนความพยายามของกูลิโกะในการสร้างสินค้าให้เข้ากับทุกเพศวัยในทุกยุคทุกสมัยต่อไป เป็นเหตุผลที่กูลิโกะแมนยังคงยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ได้ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
1
💬อ่านจบแล้ว คิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ?
มีใครที่เคยไปแชะภาพกับกูลิโกะแมนมาแล้วบ้างไหม? อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านมากๆค่ะ ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี สุขขีตลอดวันนะคะ 😊🙏
โฆษณา