ผีที่พระองค์เห็นนี้มีคนเห็นอีกจำนวนมาก และถูกเรียกขานกันว่าเป็น ‘ผีสุภาพสตรีสีเขียว’ (The green lady) เหตุที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะวิญญาณตนนี้สวมเสื้อผ้าอาภรณ์เป็นสีเขียว และมาปรากฏตัวให้เห็นด้วยลักษณะที่ยืนอุ้มลูกที่ยังเป็นทารกอยู่ในอ้อมแขนข้างเตาผิง (ทำไมคิดถึงผีแม่นากของบ้านเราที่ยืนอุ้มลูกรอพี่มากอยู่ริมท่าน้ำก็ไม่รู้)
ต้นไม้ที่เขาแขวนคอตายนั้นถูกตั้งชื่อว่า ‘Herne’s Oak’ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า Home Park เรื่องของเขาถูกนำไปเล่าในบทประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ เรื่อง The Merry Wives of Windsor ซึ่งเล่าว่าวิญญาณของชายผู้นี้จะออกมาหลอกหลอนที่ต้นโอ๊กในยามเที่ยงคืนของฤดูหนาว วิญญาณของเขาสวมเขากวาง และจะสั่นโซ่เสียงดังจนทำให้ฝูงวัวให้น้ำนมออกมาเป็นเลือด
2
นอกจากนี้ เชื่อกันว่าใครที่เห็นผีตนนี้จะประสบความโชคร้าย เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทราบเรื่องผีตนนี้พระองค์จึงทรงไม่เห็นขัน ในช่วงทศวรรษที่ 1860 พระองค์สั่งให้ตัดต้นโอ๊กนี้ทิ้งแล้วนำท่อนไม้ของต้นโอ๊กนี้มาใช้เป็นฟืนเพื่อกำจัดผีตนนี้ไป แล้วทรงสั่งให้ปลูกต้นโอ๊กต้นใหม่ทดแทนอีกด้วย แต่ไม่สำเร็จ เพราะยังมีผู้เจอกับวิญญาณของเขามาจนกระทั่งทุกวันนี้ในบริเวณที่เรียกว่า Great Park วิญญาณนายพรานตนนี้ยังคงเร่ร่อนหาวิญญาณตนอื่นมาร่วมล่าสัตว์ด้วยกัน
ภาพวาดต้นโอ๊กที่ตำนานเล่าว่าเฮิร์นมาแขวนคอตาย จากหนังสือ A Picturesque Tour of the River Thames in its Western Course; including particular descriptions of Richmond, Windsor, and Hampton Court, etc. ตีพิมพ์ปี 1862 (Image: Wikipedia)