Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
7 ก.ค. 2021 เวลา 12:58 • ปรัชญา
“ธรรมบทเดียวที่คลอบคลุมทั้งหมดในพุทธศาสนา”
1
“… ธรรมทั้งปวง ใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
ผู้ที่ใครได้ฟังธรรมบทนี้ ชื่อว่าได้ฟังธรรมทั้งหมดในพุทธศาสนา
เป็นปริยัติทั้งหมดเลยโยม
หลักธรรมคลุมทั้งหมด คลอบทุกอย่างเลย
ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
การไม่ยึดติด ปล่อยวางนั่นเอง
2
ผู้ที่ได้ยิน ได้ฟังธรรมบทนี้
แล้วปฏิบัติตามธรรมบทนี้
ก็คือ ธรรมทั้งปวงใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ชื่อว่าได้ปฏิบัติตามธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
เป็นทั้งหลักธรรมปริยัติ เป็นทั้งวิธีการปฏิบัติ
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนี่แหละ
ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบทนี้
แล้วได้รับผลจากธรรมบทนี้
ก็คือ ธรรมทั้งปวงใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ชื่อว่าได้รับผลทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
เป็นทั้งปริยัติ หลักธรรม
เป็นทั้งวิธีการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติ
เป็นทั้งปฏิเวธ ผลของการปฏิบัติ
การไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือการไม่ยึดติด
รวมทุกอย่างของพระพุทธศาสนาเลย เป็นหัวใจ
ซึ่งความไม่ยึดติดหรือการปล่อยวางเนี่ย
เนื้อแท้ก็คือ ภาวะของอมตธรรม
ภาวะของรู้ที่บริสุทธิ์
1
การที่เราฝึกเพื่อปลุกภาวะรู้ขึ้นมา
โยมจะพบว่าเมื่อภาวะรู้ตื่นขึ้น
มันจะเกิดการหลุดออก คลายออกโดยธรรมชาติเลย
มันจะปลดจากอารมณ์หยาบ ๆ ก่อน
จากนั้นมันก็ปลดอารมณ์ละเอียด
เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
อานาปานสติก็ดี
วิชาของพระพุทธศาสนาทั้งหมด
เป็นเรื่องของการปลด สลัดออก
ไม่ได้สะสมเข้ามา
2
จากปกติจิตปุถุชน ฟุ้งไปด้วยนิวรณ์ ๕ ถูกมั้ย
พอฝึกมีสติปุ๊บ นิวรณ์ ๕ ระงับออกไป
ละนิวรณ์ ๕ ก่อน ปลดของหนักก่อน
ความเครียด ความกดดัน อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง
หลุดออกไป
ซึ่งมันง่ายหมือนการวางของมั้ย
มันไม่ง่ายแบบนั้น
แต่สังเกตมั้ยพอโยมรู้สึกตัวปุ๊บ มันหลุดเลย
ต้องมีสติ สัมปชัญญะก่อน
จนมันเข้าสู่ความตั้งมั่น
เกิดสภาวะธรรมในระดับสมาธิ
วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
จากนั้นวิตก วิจาร ละออกไป เพิกออก
เข้าถึงทุติยฌาน
ปีติละออกไป เพิกออก เข้าถึงตติยฌาน
มีสุขด้วยนามกาย
สุขเป็นลักษณะเด่นในฌานที่ ๓
จากนั้นสุขละออกไป เพิกออก
เข้าถึงอุเบกขา ฌานที่ ๔
จิตตั้งมั่น
จากนั้นก็เปลื้องจิตออก
แม้กระทั่งจิตก็ละออกไป
หลุดจากการยึดมั่น เจโตวิมุตติ
เข้าสู่อมตธรรม หลุดพ้นจากทุกข์
เป็นเรื่องของการสลัดออกทั้งหมดเลยโยม
1
สมาธิตัวจริงของพระพุทธศาสนา
ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น
เมื่อใดที่โยมหลุดจากอารมณ์หยาบ
โยมจะเข้าถึงสภาวะละเอียดโดยธรรมชาติ
มันเป็นสภาวะของธรรมชาติ
เปรียบเหมือนจรวด
รู้จักจรวดมั้ย ที่เค้าสร้างขึ้นเพื่อไปสู่อวกาศ
1
ตอนอยู่กับพื้นมันใหญ่นะ
แต่พอยิงขึ้นไป ค่อย ๆ ปลดออก ๆ ๆ ๆ
สุดท้ายแล้วมันหลุดออกหมดเลยโยม
สลัดคืน
แต่อยู่ ๆ เราจะวางเลย เราทำได้มั้ย
ไม่ยึดมั่นถือมั่นเลย ว่างเลย
มันทำได้มั้ย มันได้เหมือนกัน
แต่มันปรุงหมดเลย มันเป็นสมมุติ
ถึงต้องมีการอบรมสติปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์ถึงตรัสว่า
ศาสนาของพระองค์ มีการฝึกเป็นขั้นเป็นตอน
เป็นลำดับ ๆ ไป
เพราะฉะนั้นเริ่มจากฝึกเจริญสัมมาสติ
เปลี่ยนจากจิตที่ฟุ้งมาเป็นจิตที่ตั้งมั่น
จนเกิดสัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นที่ถูกต้อง
จนสามารถเปลื้องจิตออก
เข้าสู่วิปัสสนาญาน
เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
จนสลัดคืน หลุดจากการยึดมั่นถือมั่น
เข้าสู่อมตธรรม
ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
1
บางทีสมัยนี้เห็นรวบรัด
ไม่เอาอะไร ว่าง จะนิพพานเลย
นิพพานอยู่แล้ว
มันจะอยู่แล้วได้ยังไง
คือ ภาวะนี้มันมีอยู่จริง แต่มันเข้าถึงไม่ได้
จะเข้าถึงได้ ต้องอบรมสติปัฏฐาน ๔
จนหลุดจากการยึดมั่นถือมั่น
แยกออกมั้ย
การบรรยายบางทีมันไปมุ่งบรรยายสภาวะ
แต่ไม่มีมรรควิธีที่จะไปเข้าถึง
มันจะเป็นไปได้ยังไง
โยมจะจินตนาการเอาเหรอ นิพพานว่างอยู่แล้ว ไม่มีอะไร
พ้นทุกข์เลย มันทำไม่ได้
มันได้เหมือนกัน แต่มันก็จะอยู่ในโลก Matrix
เป็นสมมุติทั้งหมด
โยมจะปรุงยังไงก็ได้ จะว่าง จะสว่าง จะว่างยังไงก็ได้
แต่มันเป็นสมมุติทั้งหมด
แต่ของจริง มันต้องอยู่กับความเป็นจริง
ของกาย ของใจ รู้เนื้อรู้ตัว รู้สึกตัว
จนหลุดจากการยึดมั่นถือมั่น
เข้าถึงความว่างที่บริสุทธิ์ตัวจริง
ที่มันเป็นวิสังขาร มันพ้นจากการปรุงแต่ง
2
พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมากนะ
เป็นเรื่องของความเป็นจริง
รู้ตามความเป็นจริง
อะไรเกิดก็รู้ ไม่เกิดก็รู้
แล้วมันจะหลุดจากการยึดมั่นถือมั่น
น้อมไปเพื่อการปล่อยวาง
เพื่อการสลัดคืน … “
1
.
1
ธรรมบรรยายโดยพระมหาวรพรต กิตฺติวโร
นาทีที่ 54 เป็นต้นไป
ติดตามการบรรยายฉบับเต็มจาก
https://youtu.be/4NjXp9Z8xBI
อารมณ์หลุดออกก่อน จากนั้นจิตสลัดคืน เข้าถึงอมตธรรม
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash
ขอบคุณรูปภาพจาก :
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2009&date=31&group=1&gblog=71
12 บันทึก
25
26
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คำสอนครูบาอาจารย์
12
25
26
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย