9 ก.ค. 2021 เวลา 03:58 • ปรัชญา
"ธาตุรู้ VS วิญญาณขันธ์"
" ... การรู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ การรับรู้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน
กับการที่จิตรับรู้อารมณ์ได้ทีละหนึ่ง
ขัดแย้งกันหรือไม่ ?
1
.
ตรงนี้เนี่ย เราจะรู้กลไลได้อย่างชัดเจน
ก็ต่อเมื่อเข้าสู่สภาวะวิปัสสนาญาน
จากปกติ ธรรมชาติของจิต
มันก็จะไหลไปกับอารมณ์ต่าง ๆ
เรียกว่าเกิดกระบวนการจิตส่งออก
เกิดปฏิจจสมุปบาท
เมื่อเรารู้จักการเจริญสติ รู้สึกตัวขึ้นมา
ขณะที่สภาวะรู้ ตื่นขึ้น
กระแสของจิตตรงนี้มันจะถูกละออกไป
กระแสของปฏิจจสมุปบาทก็จะสั้นลง ๆ เรื่อย ๆ
1
โดยสภาวะจิตในระดับกามาวจร
จิตก็จะเกิดตามอายตนะต่าง ๆ
เกิดทางตา เกิดการเห็น
เกิดทางหู เกิดการได้ยิน
เกิดทางจมูก เกิดการได้กลิ่น
เกิดทางลิ้น เกิดการลิ้มรส
เกิดทางกาย เกิดสัมผัสทางกาย
1
ถ้าไม่มีสติ มันก็จะเกิดความชอบ ความชัง
เกิดตัณหา อุปาทาน
แต่ถ้ามีสติ รู้สึกตัวขึ้นมา
มันก็จะตัดแค่กระแสของผัสสะ
สักแต่เห็น สักแต่ได้ยินก็เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ๆ
และเมื่อเราเพียรเจริญสติ ทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอ
จนสติมีความตั้งมั่น
สติ สภาวะรู้ที่มีกำลังสูงขึ้น
มันจะตัดกระแสของปฏิจจสมุปบาทได้ลึกซึ้ง
เรียกว่าตัดที่ สฬายตนะ
ก็คือ จิตมันเกิดขึ้น แล้วมันก็ถูกละออกไป
ไม่ทันเกิดตามอายตนะทางตา
ทาหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เกิดที่ใจอย่างเดียว
เกิดที่ใจแล้วก็ดับ เกิดที่ใจแล้วก็ดับ
จนเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า รู้สึกตัวทั่วพร้อม
เกิดจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมา
นั่นคือ สภาวะของสัมมาสมาธิในชั้นรูปาวจร
ก็จะเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า จิตตั้งมั่น
ที่ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า "จิตผู้รู้"
หรือ จิตตั้งมั่น เป็นต้น
2
ตรงจิตตั้งมั่นตรงนี้
มันประกอบไปด้วยสองสิ่ง
สิ่งหนึ่งคือ วิญญานขันธ์ ซึ่งมันเกิดมาจากอวิชชา
หรือ จิตที่มันเป็นสังขตธรรม
อีกสิ่งหนึ่ง มันคืออมตธาตุที่บริสุทธิ์
ทุกคนจะมีสองสิ่งนี้ประกอบด้วยกัน
สิ่งหนึ่งคือสภาวะรู้ที่บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นอมตธาตุ
อีกสิ่งหนึ่ง เป็นกระแสของปฏิจจสมุปบาท
ซึ่งมีอวิชชาห่อหุ้มอยู่ เกิดวิญญานขันธ์ขึ้นมา
2
ปกติถ้าไม่ได้ฝึกสติ "สภาวะรู้" ไม่ตื่น
มันก็จะเห็นแต่กระแสของวิญญานขันธ์ที่ส่งออกไป
ตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่าเกิด จิต เจตสิก ขึ้นมา
1
แต่เมื่อสภาวะรู้เริ่มตื่น
มันจะประกอบด้วยสองสิ่ง
และกำลังของสภาวะรู้นี่แหละ
ที่มันจะคอยตัดกระแสของกิเลส
หรือ กระแสของจิตนั่นเอง
พอเราพัฒนาสติมาถึงตรงนี้
มันจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า จิตตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่น
พระพุทธองค์ก็ทรงสอนให้ยิ่งขึ้นไปว่า
เปลื้องจิต หรือน้อมจิตสู่อมตธาตุ
รู้ ตื่น เบิกบาน
ตรงน้อมจิตเข้าสู่อมตธาตุ
วิธียกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาน
:
วิธีการปฏิบัติก็คือ
เมื่อเราสามารถพัฒนาสติจนเกิดความตื่นรู้อยู่
เข้าถึงฐานของจิต
แล้วสามารถขยายการรับรู้ให้แผ่กว้างออกไป
ที่เรียกว่าสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน
เมื่อสภาวะรู้เกิดขยายตัวแผ่กว้างออกไป
ทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในข่ายของสภาวะรู้ก็จะถูกรู้
กายก็ถูกรู้ ใจก็ถูกรู้
ทุกอย่างที่อยู่ในข่ายของสภาวะรู้
จะเกิดการแยกธาตุ แยกขันธ์
แตกดับ ของใครของมัน
1
ถ้าสภาวะรู้ในขณะนั้นมีความละเอียดพอ
เราก็จะเห็นสิ่งที่เรียกว่า ญานไตรลักษณ์
คือ การเห็นการแตกดับของรูป ของนาม
1
แม้กระทั่งจิต ที่แตกดับในทุก ๆ ขณะจิต
ก็เห็นการทำงานตรงนี้ได้
แล้วเราจะพบว่า จิตที่เกิดดับก็เป็นสิ่งหนึ่ง
วิญญานขันธ์ก็สิ่งหนึ่ง
สภาวะรู้ ที่เกิดการเห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ภาษาพระท่านเรียก ญาน ยถาภูตญานทัศนะ
ก็คือเกิดวิปัสสนาญาน เห็นตามความเป็นจริง
1
...
เมื่อเราเข้าถึงกระบวนการนี้ ได้กำลังพอ
เราจะเริ่มชัดเจนด้วยตัวเราเองแล้วว่า
ธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ก็สิ่งหนึ่ง จิตที่เกิดดับก็สิ่งหนึ่ง
ธรรมชาติของจิตมันรู้ได้ทีละอารมณ์
เกิดทีละดวง เกิดดับรวดเร็วมาก
เกิดทีละดวง ๆ ๆ
แต่ธรรมชาติของสภาวะรู้ตรงนี้
ไม่ใช่แบบนั้น
ลักษณะของจิต มันจะเหมือนไฟฉาย
ไฟฉายเนี่ยมันส่องไปที่ตรงไหน
จิตมันก็จะส่งออกไปที่ตรงนั้น
เกิดการรู้เห็นแค่ตรงนั้น
ตัวจิตมันไม่สามารถรู้ตัวเองได้
แต่เมื่อใดที่เราสามาถทำให้จิตถูกรู้ได้
นั่นคือการพลิกเข้าสู่ฝั่งของสภาวะรู้
1
ลักษณะของสภาวะรู้ มันจะเหมือนเรดาร์
หรือความสว่างที่แผ่ออกมารอบตัว
ทุกอย่างที่อยู่ในข่ายของสภาวะรู้
จะถูกรู้ทั้งหมด เกิดพร้อมกัน ก็รู้พร้อมกัน
แล้วลักษณะของสภาวะรู้
จะเป็นการรู้แบบไม่ยึดติด
สภาวะตรงนี้จะเป็นเหมือนที่ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า
"หยดน้ำบนใบบัว"
1
แยกออกจากกัน
สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม จะไม่ระคนกัน
รูปนาม ขันธ์ห้า เป็นสังขตธรรม สิ่งที่ปรุงแต่ง
1
แต่สภาวะรู้ เป็นอมตธาตุ เป็นอสังขตธรรม
เมื่อสภาวะรู้ถูกพัฒนาจนเกิดการเบิกบานขึ้นมา
สภาวะนี้จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า เห็นตามความเป็นจริง
1
ซึ่งถ้าเราพัฒนาสติมาตรงนี้
เราจะแจ้งชัดด้วยตัวเองว่า
การรู้ด้วยจิต กับการรู้ด้วยสภาวะรู้ มันต่างกัน
การรู้ด้วยจิต เป็นเรื่องของโลกียะธรรม
แต่การรู้ด้วยสภาวะรู้ เป็นระดับของโลกุตตระธรรม
เป็นธรรมที่พ้นจากโลก
แล้วเมื่อใดที่เราฝึกชำนาญ
เราจะเริ่มรู้กลไล ความแตกต่างระหว่าง
การรู้ด้วยจิต กับการรู้ด้วยสภาวะรู้ได้อย่างชัดเจน
1
ตรงนี้ อย่างองค์หลวงปู่เทศก์ท่านจะแยกออกมา
ระหว่างจิต กับ ใจ
จิตเป็นตัวนึกคิดปรุงแต่ง
ใจเป็นธาตุรู้ เป็นต้น
1
เพราะฉะนั้น ภาษาต่าง ๆ มันมีความแตกต่างกัน
แต่ให้เข้าใจว่า
สิ่งหนึ่งเป็นสังขตธรรม เกิดจากอวิชชา
สิ่งหนึ่งเป็นเรื่องของอสังขตธรรม เป็นอมตธาตุ
และสิ่งนี้เท่านั้นที่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
...
ในเนื้อธรรมสุดท้ายที่บริสุทธิ์
ที่จิต วิญญานขันธ์ ไม่สามารถก่อกำเนิดขึ้นมาได้เลย
มีแต่สิ่งนี้เท่านั้น ที่เข้าถึงเนื้อธรรมตรงนี้ได้
เพราะว่ามันคือสิ่งเดียวกัน ที่เรียกว่าอสังขตธรรม
ธาตุบริสุทธิ์
เพราะฉะนั้น การฝึกโดยสามารถเกิดการรับรู้ทั่วพร้อมได้
มันเป็นเรื่องของการพัฒนาในฝั่งของสภาวะรู้โดยตรง
1
วิธีการฝึกจิต เราจะใช้การเพ่ง จดจ่อ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
เช่นกำหนดนิมิตเป็นอารมณ์เป็นต้น
จนเกิดเป็นสมาธิขึ้นมา
วิธีการฝึกแบบนี้ เค้าฝึกกันมานานแล้ว
พราห์ม ฤาษี ดาบส เค้าฝึกกันมานานอยู่แล้ว
พระพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้น เค้าก็ฝึกกันมาอยู่แล้ว
ฝึกเพ่งจนเป็นสมาธิ เป็นรูปฌาน อรูปฌาน
แม้กระทั่งตอนพระพุทธองค์ทรงไปเรียน
กับท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส
เจริญฌานสมาบัติ จนเข้าถึงสมาบัติทั้งแปด
แต่ปัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้น
ทรงรู้ได้ด้วยพระองค์เองว่า นี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
1
จากนั้นด้วยวาสนาบารมีที่ทรงสะสมมา
จึงเจริญอานาปานสติ
เข้าสู่วิธีของการเจริญสติปัฏฐาน
ปลุกสภาวะรู้ขึ้นมา
พระองค์ก็เข้าสู่ฌาน
แต่ฌานที่เรียกว่าสัมมาสมาธิ
แตกต่างจากฌานนอกพระพุทธศาสนา
ฌานแบบเพ่ง จะจดจ่อที่จุดใดจุดหนึ่ง
ขาดสัมปชัญญะ คือ ขาดความรู้สึกตัว
หลัก ๆ ก็จะอยู่กับนิมิตเป็นอารมณ์
แต่ฌานในพระพุทธศาสนา
ที่เรียกว่า ความตั้งมั่น
ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม การรู้เท่าทันจิตใจ
นี่คือความแตกต่างกับฌานที่เค้าฝึกกันปกติ
กับฌานในพระพุทธศาสนา
ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ
1
และสัมมาสมาธินี่แหละ
ที่จะส่งต่อให้เกิดวิปัสสนาญาน
เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
ปัญญาญานเกิดขึ้นได้ ... "
.
ธรรมบรรยายโดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ตั้งแต่นาทีแรกถึงนาทีที่ 09.42
1
ติดตามการบรรยายฉบับเต็มได้จาก
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา