Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เพราะโลกไม่ได้กว้างเกินไปกว่าใจ
•
ติดตาม
9 ก.ค. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
โรคประจำตัว!!!???
!!!???
05 . 07 . 2021 16 : 25
SYSTOLIC 145 mmHg
DIASTOLIC 91 mmHg
PULSE 131 bpm
นี่คือผลการวัดความดันโลหิตสองครั้งก่อนหน้า
“ทางเราไม่สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ให้คุณได้นะคะ สัญญาณชีพไม่ค่อยดีเลย ความดันสูง แล้วชีพจรก็เต้นเร็วมากด้วย แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อทำการวินิจฉัยก่อนนะคะ เพราะถ้าฝืนฉีดไปกลัวว่าเส้นเลือดในสมองจะแตกได้ค่ะ!!!” พออ่านผลวัดความดันโลหิตครั้งที่ 3 เสร็จ พยาบาลก็มองหน้าผมแล้วแจ้งมาอย่างนั้น
2
“จากค่าที่ทำการวัดออกมา ตอนนี้คุณเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจมาก”
ผู้หญิงที่อยู่ตรงหน้าผมเตือนผ่านแมสมาอย่างเป็นม
“ครับ” ผมพูดได้แค่นั้น เพราะตอนนี้ในหัวคือทั้งงง อึ้ง แล้วก็สับสน กับสัญญาณอันตรายที่ได้รับมา และการคุกคามของโรคภัยที่ไม่คุ้นเคยนี้
หรือนี่จะเป็นดินแดนใหม่ที่ผมเพิ่งจะก้าวข้ามมา?
ระหว่างนั่งรถตู้กลับบริษัทผมก็รีบเอากระดาษเล็กๆ สองแผ่นนั้นมาถามกูเกิลเจ้าเก่าทันที เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อครู่อย่างละเอียด
สัญญาณชีพ หรือ ชีวสัญญาณ (Vital signs) คือการแสดงอาการของกลุ่มสำคัญ 4-6 อย่าง ที่บ่งบอกถึงสถานะที่ทำให้ร่างกายของเรานั้นมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งค่าที่วัดมาได้เหล่านี้นั้นทางบุคลากรทางการแพทย์จะนำไปใช้เพื่อช่วยในการประเมินสุขภาพทางกายโดยทั่วไปของเรา จากนั้นจึงวินิจฉัยโรค และรักษาตามอาการต่อไป
โดยค่าปกติแล้วสัญญาณชีพของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไปตามอายุ, น้ำหนัก, เพศ และสุขภาพโดยรวม
สัญญาณชีพหลักประกอบไปด้วย 4 อย่าง ได้แก่
1
1. ความดันโลหิต (Blood pressure)
คือแรงหรือความดันของเลือดที่ส่งออกมาจากหัวใจห้องล่างซ้ายเพื่อเข้าสู่ระบบหลอดเลือดแดง
ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ค่า คือ
ความดันช่วงบน (Systolic blood pressure) เป็นความดันของเลือดสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว
และความดันช่วงล่าง (Diastolic blood pressure) เป็นความดันเลือดที่ต่ำสุดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว
ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตจะสูงมากขึ้นตามอายุ โดยอาจมีค่าที่วัดได้แตกต่างกันออกไป อาทิ ท่าทางการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกายในแต่ละบุคคล เป็นต้น
โดยสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
ความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือค่าความดันช่วงบนต้องต่ำกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันช่วงล่างต้องต่ำกว่า 85 มิลลิเมตรปรอท
2
ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือค่าความดันช่วงบน 130-139 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันช่วงล่าง 85-89 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตสูง คือ ค่าความดันช่วงบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันช่วงล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มิลลิเมตรปรอท
1
2. อุณหภูมิ (Temperature)
คือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา และ ระดับกิจกรรมที่เราทำ
ในปัจจุบันนั้นมีเครื่องวัดอุณหภูมิหลากหลายแบบให้เลือกใช้ อาทิ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบแท่งแก้ว, เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล, เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก เครื่องวัดอุณหภูมิในช่องหู เป็นต้น
โดยแบ่งได้ดังนี้
อุณหภูมิปกติ คือ 35.4°C - 37.4°C
มีไข้ต่ำ คือ 37.5°C - 38.4°C
มีไข้ปานกลาง คือ 38.5°C - 39.4°C
มีไข้สูงมาก คือ มากกว่า 40°C
3. ชีพจร (Pulse)
เป็นการขยายตัว และหดตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นจังหวะ ตามคลื่นความดันที่มาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับหัวใจ โดยสามารถจับได้ทั้งที่ข้อมือ, ข้อพับศอก, ข้างคอ, ขาหนีบ, หลังเข่า และหลังเท้า
ซึ่งในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุอัตราการเต้นของชีพจรจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที (ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 80 ครั้ง/นาที)
4. การหายใจ (Respiration)
เป็นการแสดงการสูดออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านจมูก หลอดลม และปอด ที่เรียกว่า การหายใจเข้า และเป็นการแสดงการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย โดยผ่านปอด หลอดลม และจมูก ที่เรียกว่า การหายใจออก
ในบางสถานการณ์นั้นอาจมีค่าอื่นๆ ที่นำมาประเมินร่วมกับสัญญาณชีพ แล้วเรียกว่าเป็น "สัญญาณชีพที่ 5" หรือ "สัญญาณชีพที่ 6" ได้
โดยค่าอื่นๆ นั้นได้แก่ ระดับความเจ็บปวด ระดับน้ำตาลในเลือด ความอิ่มตัวของออกซิเจน เป็นต้น
ด้วยร้อนใจในสัญญาณที่ไม่สู้ดีนักของร่างกายที่แสดงออกมา ทำให้ในวันรุ่งขึ้น ผมก็รีบไปโรงพยาบาลที่คอนแทคกับบริษัททันที
และหลังจากอธิบายอาการที่ผมเป็นอยู่ พร้อมเล่าเหตุการณ์ที่ผมได้เจอตั้งแต่เมื่อวานให้หมอฟัง ผมก็ร้องขอกับหมอเองว่า ต้องการตรวจร่างกายอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งหมอก็จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพให้มาเต็มอิ่มดังนี้
วัดอุณหภูมิร่างกาย
วัดความดันโลหิต
ตรวจเลือด
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (เอคโคหัวใจ)
ระหว่างรอผลตรวจ ยอมรับว่าผมนี่ลุ้นด้วยใจระทึกกันเลยทีเดียว
ราวๆ ชั่วโมงต่อมาพยาบาลก็เรียกให้ผมเข้าไปพบหมอในห้องตรวจ
“ผลตรวจหัวใจไม่พบว่ามีอาการลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจแข็งแรง และปกติดีนะ” หมอสาวหน้าหมวยคนเดิมกับที่ถามอาการเบื้องต้นผมในห้องตรวจราวสองชั่วโมงก่อน แจ้งผลการตรวจสุขภาพกับผมอย่างเป็นทางการ
Yes!!!
เมื่อได้ยินอย่างนั้นผมหายใจออกมาอย่างโล่งอกภายใต้แมส
“แต่…”
ยังไม่ทันหายใจเข้าได้อย่างถนัดหมอก็พูดต่อทันที
“อย่างอื่นนี่มาครบเลยนะ ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน แล้วก็เก๊าท์”
“…”
เพียบเลย!!!
ดูเหมือนค่าใช้จ่ายในการละเลยสุขภาพมานานในครั้งนี้จะแพงน่าดู…
ฮะๆ เล่นเอาพูดไม่ออกกันเลยทีเดียว ดูเหมือนว่าตอนนี้ผมจะมีโรคประจำตัวกับเขาบ้างแล้วนะ
คิดในแง่ดีนะ อย่างน้อยก็รู้ตัว และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะหมอบอกว่าตอนนี้ทุกอย่างกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
1
และนับจากนี้ไปดูเหมือนว่าผมจะมีบทความทางสุขภาพให้เขียนอีกมากมายเลย
เริ่มมันจากโรคภัยใกล้ตัวนี่ล่ะ…
โรคประจำตัว - CLASH
https://youtu.be/R0LzjRqmZ8E
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/6053d6cc5d06c9012dd9539d
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณเจ้าของรูปภาพทุกท่าน
ขอบคุณที่มาจาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/อุณหภูมิปกติของร่างกายมนุษย์
https://healthathome.in.th/blog/การวัดสัญญาณชีพ-vital-signs
1
https://www.health5choice.com/knowledge/our-body/สัญญาณชีพ-vital-sign/
5 บันทึก
30
78
39
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทําเอง
5
30
78
39
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย