28 ก.ค. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
สังคมก้มหน้าเป็นเหตุสังเกตได้ รู้เท่าทัน Text Neck Syndrom โรคที่สร้างอันตรายกับสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด!!!
คงเจ็บปวดน่าดู
จากรายงานทางสถิติ Thailand Digital Stat 2021 ของ We Are Social ในฉบับล่าสุด ได้รายงานข้อมูลสถิติการใช้อินเทอร์เน็ต และออนไลน์ของคนไทยในปี 2021 ที่น่าสนใจออกมาดังนี้
คนไทยนั้นมีจำนวนโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 90.66 ล้านเครื่อง หรือมากกว่าจำนวนประชากร (ราว 70 ล้าน) อย่างชัดเจน และ 98.9% ของจำนวนที่ว่านั้นก็คือ สมาร์ทโฟน นั่นเอง
คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 69.5% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ และเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า ค่าเฉลี่ยของโลกที่มีผู้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 59.5%
คนไทยใช้เวลากับโซเชียลมีเดียวันละ 2 ชั่วโมง 48 นาที
คนไทยออนไลน์ผ่านมือถือวันละ 5 ชั่วโมง 7 นาที
และเมื่อนับจำนวนชั่วโมงการใช้งานของผู้ใช้โทรศัพท์ทั่วประเทศไทยในปี 2020 ก็มีจำนวนมากถึง 58,810 ล้านชั่วโมง!!! ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 25%
1
คนไทยมีการดาวน์โหลดแอปต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นกว่า 2.15 พันล้านครั้ง ซึ่งนับรวมเป็นยอดการใช้เงินบนแอปฯ รวมถึง 840 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 3 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว!!!
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ COVID-19 เข้ามาหลายสิ่งที่คนไทยเคยทำนั้นได้เปลี่ยนไปมากเมื่อเทียบกับปี 2019 โดยก่อนหน้านั้น เราไม่เคยสั่งอาหารจากแอปฯ อย่างจริงจัง ก็กลายมาเป็นเรื่องปกติ และออนไลน์กันเยอะขึ้นอย่างเห็นได้ชัดด้วย นี่ยังไม่นับการทำงาน การเช็คข้อมูลข่าวสาร หรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ อีกด้วยนะ
ซึ่งจะเรียกสิ่งนี้ว่า “New Normal” และ “Next Normal” ก็คงจะไม่ผิดนัก
เมื่อวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้ จึงทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอาการต่างๆ ของโรคที่เกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือนานๆ ตามมาเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คืออาการ “Text Neck Syndrome” หรือ “โรคใหม่แห่งยุคสังคมก้มหน้า” นั่นเอง
Text Neck Syndrome คืออะไร?
เป็นกลุ่มอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า และไหล่ รวมไปถึงความเสื่อมของกระดูกข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูกบริเวณคอ ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บซ้ำซากบริเวณคอ โดยพบว่ามาจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นเวลานานมากเกินไป
พฤติกรรมอย่างไรที่เสี่ยงในการเกิด Text Neck Syndrome?
จากรายงานของสถาบันเทคโนโลยีการผ่าตัดนานาชาติ (Surgical Technology International) นั้นระบุว่า กระดูกสันหลังของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ต้องรับแรงกดจากการก้มหน้าเล่นมากถึง 1,000–1,400 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว
ซึ่งโดยปกติแล้วศีรษะของคนเรานั้นมีน้ำหนักประมาณ 4-5 กิโลกรัม การก้มหน้าทำให้ตำแหน่งของศีรษะเรานั้นเคลื่อนไปข้างหน้า เท่ากับว่ายิ่งก้มมากเท่าไหร่ คอก็ยิ่งต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อาทิ
1
เมื่อก้มหน้า 30 องศา จะทำให้คอรับน้ำหนักเพิ่มเป็น 18 กิโลกรัม
ถ้าก้มหน้า 45 องศา คอรับน้ำหนัก 22 กิโลกรัม
1
และพอก้มหน้า 60 องศา คอก็จะรับน้ำหนักมากถึง 27 กิโลกรัมเลยทีเดียว
อาการของ text neck syndrome นั้นเป็นอย่างไร?
1. ปวดตึงที่ต้นคอด้านหลัง
2. มีอาการปวดบ่า ไหล่ และหลัง รวมถึงบริเวณทรวงอก
3. รู้สึกเวียนหัว ปวดหัว ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นไมเกรน แต่จริงๆ แล้วเกิดจากกล้ามเนื้อช่วงคอ และบ่าตึงมากจนเกินไป จนปวดร้าวขึ้นหัวนั่นเอง
4. รู้สึกแขนชา มือชา
5. ในกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้นก็จะมีอาการแขนอ่อนแรงร่วมด้วย
6. หนักๆ เข้าอาจทำให้หลังค่อมได้เลยนะ
และ text neck syndrome มีแนวโน้มว่าจะพาโรคอื่นๆ ตามมาได้อีกถึง 3 โรคดังนี้
1. โรคกระดูกคอเสื่อม
2. กล้ามเนื้อรอบคออักเสบเรื้อรัง (Office Syndrome)
3. โรค TOS ในส่วนของ Hyperabduction Syndrome
text neck syndrome นี่เป็นกันเยอะไหม?
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง และระบบประสาทเผยว่า มีผู้ป่วยเข้าร้บการรักษากระดูกคอเสื่อมที่โรงพยาบาลในแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น โดย
โดยปี 2561 เพิ่มขึ้น 17.99%
ปี 2562 เพิ่มขึ้น 11.86%
และปี 2563 เพิ่มขึ้น 23.18%
แล้วเราจะป้องกัน text neck syndrome ได้อย่างไรบ้าง?
ทำได้โดยการปรับลักษณะนิสัยในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดังนี้
1. ท่าทางในการใช้งานโทรศัพท์มือถือนั้นควรให้คออยู่ในแนวตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ควรก้มหลัง หรือห่อไหล่
2. ระยะเวลาที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือนั้นควรกำหนดให้เหมาะสม กล่าวคือไม่ควรเกิน 1-2 ชั่วโมง ถ้าจำเป็นต้องใช้งานนานๆ ควรมีการพักเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ
ถ้าเกิดอาการ text neck syndrome แล้วเราสามารถรักษาได้อย่างไร?
การรักษาอาการของ Text Neck Syndrome นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. การรักษาโดยกายภาพบำบัด เช่น การคลายกล้ามเนื้อ ยืดกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และการปรับท่าทางของร่างกายให้อยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสมนั่นเอง
2. รักษาโดยการใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ปวดคอ และคลายกล้ามเนื้อ
3.สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาทิ มีการเสื่อมของกระดูก หรือหมอนรองกระดูกคอ ร่วมกับการกดทับไขสันหลัง หรือรากประสาท อาจจะต้องพิจารณาถึงการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง หรือการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ต่อไป ซึ่งแนะนำให้เข้าไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกสันหลัง และระบบประสาท เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
โอมจงเงย : STAMP Feat. JOEY BOY, ตู่ ภพธร
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
ขอบคุณทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณเจ้าของรูปภาพทุกท่าน
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา