8 ก.ค. 2021 เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ภูมิการกัดกร่อน
จากกรณีปัญหาอาคารถล่มที่ไมอามี่ เราจะมาวิเคราะห์เชิงลึกกันต่อครับว่า ทำไมในกรณีนี้ถึงมีการสรุปเบื้องต้นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการกัดกร่อน
หากพิจารณาที่ตั้งของตัวอาคารที่ถล่มลงมา จะเห็นได้ว่าส่วนของอาคารที่ถล่มลงมาเป็นส่วนที่ติดกับชายหาดและหันหน้าเข้าสู่ทะเล
ในแง่ของที่ตั้งอาจจะดีในส่วนของวิวที่เป็นวิวทะเล และ สามารถตั้งราคาขายหรือเช่าได้สูง
แต่ในมุมของการกัดกร่อนแล้ว จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการกัดกร่อนของคอนกรีตครับ
ตัวอาคาร (คอนกรีต) ที่หันหน้าเข้าสู่ทะเล จะมีความเสี่ยงต่อการสะสมของคลอไรด์จากบรรยากาศ หรือAirborne Chloride ที่ผิวของคอนกรีต
ยิ่งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ยิ่งเสี่ยงต่อการสะสมของคลอไรด์
ยิ่งอยู่ในแนวที่ลมมรสุมพัดผ่าน ยิ่งเสี่ยงต่อการสะสมของคลอไรด์
และคลอไรด์ที่สะสมอยู่ที่ผิวของคอนกรีตจะสามารถแพร่เข้าสู่เนื้อคอนกรีตภายได้เมื่อเวลาผ่านไป
ดังนั้นระยะห่างระหว่างเหล็กกับความหนาของชั้นคอนกรีต หรือ ระยะหุ้มคอนกรีต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการกัดกร่อน
รวมถึงสีที่ทาภายนอกอาคารก็มีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นปราการด่านแรกที่ต้องปะทะกับลมทะเลและคลอไรด์
สำหรับประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC NSTDA
มีการจัดทำแผนที่การกัดกร่อน (Chloride Map) ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลของคลอไรด์ในบรรยากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และอัตราการกัดกร่อนของเหล็กกล้าคาร์บอน และเหล็กกล้าทนบรรยากาศ (Weathering Steel)
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเลือกใช้เหล็กในการก่อสร้างให้เหมาะสมพื้นที่ หรือ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการป้องกันการกัดกร่อนของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้ครับ
#เหล็กไม่เอาถ่าน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา