Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เหล็กไม่เอาถ่าน
•
ติดตาม
19 ส.ค. 2021 เวลา 16:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ใครเลื่อยขาเก้าอี้ท่านรอง !!
"ท่านรองฯ สงสัยว่าจะมีการแอบเลื่อยขาเก้าอี้ท่าน ช่วยตรวจสอบให้หน่อยนะ"
ส่วนหนึ่งของบทสนทนาขำ ๆ ของ ฝ่ายอาคารสถานที่แจ้ง กับหนึ่งในสมาชิกทีมวิเคราะห์เสียหาย
เนื่องจากพบว่ามีเก้าอี้ของผู้บริหารท่านหนึ่งเกิดการแตกหักที่บริเวณขาเก้าอี้ในขณะใช้งาน แต่โชคดีที่ผู้บริหารไม่ได้รับบาดเจ็บ
1
ซึ่งหากเหตุการนี้เกิดขึ้นกับตัวผม เหตุผลที่ทุกคนจะอ้างถึงคือเกิดการรับแรงเกินพิกัด (Over Load)
เนื่องจากน้ำหนักกว่า 0.1 ตันของผมทำให้เป็นที่สงสัย
แม้ผมจะพยายามบอกว่าไม่ใช่ เพราะไม่พบการยืดตัวแบบถาวร (Plastic Deformation ของตัวพลาสติก
พบแต่การแตกหักแบบเปราะ (Britle Fractue) ที่ผิวแตกจะค่อนข้างเรียบ
ก็ไม่อาจทัดทานกระแสสังคมได้
และการตรวจสอบในครั้งนี้จะทำให้ผมพ้นคำครหา
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมเราต้องตรวจสอบ ?
เพราะเก้าอี้ ราคาอาจจะไม่กี่บาท เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์
แต่ที่เราควรต้องหาสาเหตุความเสียหาย
นั้นก็เป็นเพราะ
่สิ่งที่ตามมาหลังจากเกิดความเสียหายอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียทรัพย์ หรือ บางครั้งก็ถึงขั้นเสียชีวิต
รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งในเคสนี้ นอกจากความปลอดภัย เรายังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม เพื่อการใช้งานที่ยาวนานของสำนักงาน
ในส่วนของเก้าอี้ที่เกิดความเสียหาย เราไม่พบร่องรอยของการเลื่อยขาเก้าอี้
ซึ่งเกิดขึ้นจริง เราจะพบการขยายตัวของรอยแตก (Crack Propagation) จากผิวของวัสดุ
ซึ่งการขยายตัวของรอยแตกจากด้านในเนื้อวัสดุปกติเราจะพบได้ยากมาก มักพบแค่ในการทดสอบแรงดึงเท่านั้น
ส่วนใหญ่วัสดุมักมีจุดเริ่มต้นที่ผิว จากข้อบกพร่อง หรือ มีการรับแรงดัด (bending) หรือ รับแรงบิด (Toque)
แต่ในกรณีนี้เราพบการขยายตัวมาจากด้านในของเนื้อวัสดุ จากการสังเกตุลักษณะของ Bech Mark พบว่า
จุดเริ่มต้นรอยแตก (Crack Origin) มาจากบริเวณข้อบกพร่อง (Defect) ภายในเนื้อวัสดุ
ลักษณะข้อบกพร่องที่เห็น เป็นโพรงอากาศ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขึ้นรูปขาเก้าอี้
จากลักษณะการขยายตัวของรอยแตกพบว่า พื้นที่กว่า 95 % เป็นการขยายตัวจากการล้า
นั้นแสดงว่าเก้าอี้มีการออกแบบมาดี
มีความแข็งแรงสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักท่านรอง
เพราะรอยร้าวมีการขยายตัวจนเกือบไม่มีพื้นที่รับแรงถึงจะขาด
ซึ่งหากผมเป็นคนนั่ง คาดได้ว่าพื้นที่การแตกหักจากการล้าคงเหลือไม่ถึง 50%
หลังจากเราตรวจสอบความเสียหายในกรณีนี้เสร็จ
เราก็ได้องค์ความรู้ที่ว่า
ขาเก้าอี้พลาสติก มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้สูงในระหว่างการใช้งาน
เนื่องจากข้อบกพร่องภายในจากกระบวนการผลิต ที่แก้ได้ยาก
เราไม่ได้ด้วยค่าขาเก้าอี้พลาสติก
แต่ขาเก้าอี้ชนิดนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งานโดยเฉพาะหากรับน้ำหนักสูง ๆ แบบผม
หากเป็นไปได้ควรสั่งเก้าอี้ที่มีขาเป็นโลหะ โดยเฉพาะหากราคาเก้าอี้ไม่ต่างกันมากนัก
แม้จะขนส่งยากกว่าบ้าง เพราะเก้าอี้ขาโลหะมันหนักกว่า
แต่ก็ดีกว่าที่เราจะเห็นเก้าอี้ขาหักกองเต็มสำนัก
#เหล็กไม่เอาถ่าน
1 บันทึก
3
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บรรลัยวิทยา
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย