Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เหล็กไม่เอาถ่าน
•
ติดตาม
20 ธ.ค. 2021 เวลา 05:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บรรลัยวิทยา: ขึ้นศาล
มีใครซักคนหนึ่งเคยบอกผมว่า
ขาข้างหนึ่งของ วิศวกรวิเคราะห์ความเสียหายนั้นก้าวไปอยู่ในศาล
การได้เข้าไปขึ้นให้การศาล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ แล้วไม่ได้กลับออกมา ด้วยสถานะจำเลย นั้นคือดัชนีชี้วัดความสำเร็จตัวหนึ่ง
เพราะด้วยงานที่เราทำ มักจะต้องอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การทำงานของเราจึงเลือกที่จะไม่เข้าข้างมนุษย์ แต่เลือกอยู่ข้างโลหะที่เกิดความเสียหาย
เพราะเขาไม่เคยหลอกเรา แม้จะมีบางครั้งที่เราอาจจะไม่เข้าใจเขาบ้าง ด้วยความไม่รู้ (โง่) ของตัวเอง
แต่หากเราพยายามศึกษาให้ดีพอเราก็สามารถที่จะเข้าใจพฤติกรรมของเขาได้
ครั้งแรกที่ได้ขึ้นศาล
ผมจำได้ว่าตื่นเต้นพอสมควร และอยากจะไปเรียนนิติต่ออีกซักใบ และออกมารับว่าความเกี่ยวกับความเสียหายของเครื่องจักรโดยเฉพาะรายได้ก็คงน่าจะดี
เพราะการอธิบายให้คนนอกวงการที่มีพื้นทางวิทยาศาสตร์ไม่มาก เป็นเรื่องที่เหนื่อยพอสมควร
อาจเป็นเพราะเมืองไทยเราเรียนนิติตั้งแต่ปริญญาตรีไม่ได้เรียนสาขาอื่นใดมาก่อน
การหาทนายที่มีความรู้ด้านโลหะวิทยาจึงเป็นไปได้ยากในประเทศไทย
ในขณะที่บางประเทศอย่างอเมริกา คุณจบปริญญาตรีสาขาไหนก็ได้แล้วค่อยมาเรียนนิติ
และสอบตั๋วทนายกันทีหลัง เขาจึงมีทนายที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ดังนั้นก่อนขึ้นศาล ทำให้ผมแทบจะต้องจับมือทนายเขียนสคริปและจับประเด็นให้ได้ว่า จะถามอะไร ?
อะไรคือปัญหาที่ทำให้เครื่องจักรเสียหาย ?
เมื่อถึงคราวขึ้นศาลและให้การอยู่หน้าบัลลังก็สนุกไม่แพ้กัน
เทคนิค และ แทคติก ทุกอย่างถูกนำมาใช้ เพื่อถล่มเรา แม้ว่า เราจะถูกกันไว้เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ
การทำลายน้ำหนัก อย่างเช่น คุณเป็นใคร ทำงานอะไร เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนี้ ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นได้เสมอ
การถามคำถามยาว ๆ พูดเร็ว ๆ และกดดันให้เราตอบถูกนำมาใช้
รวมถึงการถามคำที่บังคับให้ตอบใช้หรือไม่
ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์แล้ว การเกิดปรากฏการณ์อะไรซักอย่างขึ้นมันก็ต้องมีเงื่อนไข
การตอบแค่ว่าใช่หรือไม่ ไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมของวัสดุได้ทั้งหมด
อย่างเช่น การแตกหักของเครื่องจักรที่มีจุดเริ่มต้นรอยแตกหลายตำแหน่ง (Multi-Crack Origin)
ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดจากการรับแรงเกินพิกัดเสมอไป แต่หากมีข้อบกพร่องในเนื้อวัสดุก็ทำให้มีจุดเริ่มต้นรอยแตกหลายตำแหน่งแหน่งได้
ด้วยเหตุนี้การขึ้นศาลของนักวิเคราะห์ความเสียหายจึงเป็นเครื่องการันตีได้ว่า
เรามีจิตใจที่เข้มแข็งพอ มีสติ รับแรงกดดันได้ งานของเรามีเหตุมีผล และตอบคำถามได้อย่างมีตรรกะ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งของการทำงาน
แม้การขึ้นศาลจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับบางคน และได้ค่าตอบแทนการเดินทางไม่มาก (500-1,000) แลกกับเวลาที่เสียไปทั้งวัน ไม่รวมการเตรียมตัวและเอกสาร
แต่หลังจากเลิกศาลและมีผู้เสียหายเดินเข้ามาทักทายด้วยใบหน้าที่มีรอยยิ้มและขอบคุณ
มันก็ทำให้รู้ว่างานที่เราทำมันมีคุณค่า
#เหล็กไม่เอาถ่าน
บันทึก
4
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บรรลัยวิทยา
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย