13 ก.ค. 2021 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
หลักการจีนเดียวคืออะไร ? ทำไมจีนอื่นห้ามเป็นประเทศ ?
เวลาที่จะไปเที่ยวหรือจะไปทำงานที่ต่างประเทศ เราก็จะต้องไปทำวีซ่าในสถานทูตของประเทศนั้นๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศคุณ แต่ถ้าเผื่อว่าคุณเคยไปทำวีซ่าเพื่อที่จะเดินทางไปไต้หวัน คุณอาจจะเคยเห็นและสงสัยว่า ทำไมออฟฟิศของไต้หวันที่ตั้งอยู่ในประเทศของคุณไม่ได้ใช้คำว่า ‘สถานทูตไต้หวัน’ หรือ ‘สถานทูตสาธารณรัฐจีน’ แต่ตั้งชื่อเป็น ‘สํานักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป’ จริงๆ แล้วในกรณีของประเทศไทยก็เคยมีสถานทูตสาธารณรัฐจีนอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1975 หรือปี พ.ศ. 2518 แต่หลังจากนั้น รัฐบาลไทยก็เลือกที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘จีนแผ่นดินใหญ่’ ดังนั้น ตามนโยบายจีนเดียวไทยจึงต้องตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีนหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘ไต้หวัน’ และในปัจจุบัน ก็มีเพียงไม่ถึง 20 ประเทศในโลกนี้ที่ยังมีสถานทูตของสาธารณรัฐจีนตั้งอยู่และในประเทศเหล่านั้นก็จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ ก็เพราะหลักการจีนเดียวเช่นกัน
5
‘หลักการจีนเดียว’ คืออะไร ถ้าจะเล่าเรื่องหลักการจีนเดียว เราก็ต้องเริ่มจากสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันที่แย่งกันเป็นจีนเดียวก่อน หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองจบลง ‘ประเทศจีน’ ซึ่งตอนนั้นยังเป็น ‘สาธารณรัฐจีน’ ก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง ที่นำโดย ‘เจียง ไคเชก’ และ ‘พรรคคอมมิวนิสต์จีน’ ที่นำโดย ‘เหมา เจ๋อตง’ สุดท้ายพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ชนะสงคราม เจียง ไคเชกและพรรคก๊กมินตั๋งก็เลยหนีจากแผ่นดินใหญ่ไปตั้งหลักที่ไต้หวันและย้ายทั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนไปที่ไต้หวันด้วย ส่วนเหมา เจ๋อตงก็ตั้งระบอบใหม่ที่เรียกว่า ‘สาธารณรัฐประชาชนจีน ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) ตั้งแต่วันนั้น ในโลกนี้ก็เลยมีสองจีน นั่นก็คือ สาธารณรัฐจีนที่ไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ทั้งสองจีนต่างก็ย้ำว่าในโลกนี้มีประเทศจีนเพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือตัวเอง และสักวันหนึ่ง ฝ่ายตนก็จะชนะและผนวกดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่งมารวมกับตัวเอง แนวคิดนี้เรียกว่า ‘หลักการจีนเดียว’ หรือ ‘One China Principle’
หลักการนี้ก็คือ ในโลกนี้มีประเทศจีนเพียงหนึ่งเดียวไม่ว่าจะเป็นจีนไหน ทั้งไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของจีน หลายคนอาจสงสัยว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้เวลาเพียง 4 ปี ก็ยึดเอาประเทศจีนอันกว้างใหญ่ไพศาลจากพรรคก๊กมินตั๋งไปได้แล้ว แต่ทำไมไต้หวันถึงอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีนมาตลอด 70 ปี ทำไมยังไม่ตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีนสักที เรื่องนี้ก็ต้องอธิบายกันตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่จีนเพิ่งจะแตกตัวออกเป็นสองฝ่าย ช่วงนั้นในประวัติศาสตร์โลกเรียกว่าเป็นช่วงต้นของสงครามเย็น ซึ่งโลกถูกแบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่ ซึ่งก็คือ ค่ายเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และค่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตเป็นประเทศที่สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาอย่างยาวนาน หลังจากที่คอมมิวนิสต์จีนได้เป็นรัฐบาลที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่แล้ว สหภาพโซเวียตก็รับรองในทันที และพยายามจะสนับสนุนให้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ ได้ที่นั่งในสหประชาชาติแทนจีนไต้หวันด้วยและย้ำอยู่เสมอว่า การให้จีนไต้หวันเป็นตัวแทนของประเทศจีนเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันฝ่ายสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน แม้จะไม่อยากตามใจสหภาพโซเวียต แต่จริง ๆ ก็ไม่สนใจจะช่วยรัฐบาลของเจียง ไคเชกสักเท่าไหร่ สรุปว่า ปล่อยให้สองฝั่งสู้กันเอง แล้วคอยดูว่าใครจะชนะ ในห้วงเวลานั้นไต้หวันจึงมีความเป็นไปได้ว่าจะถูกคอมมิวนิสต์จีนข้ามมายึดกลับไปได้ตลอดเวลา แต่ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นจนทำให้ประธานาธิบดีทรูแมนตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางนโยบายต่อประเทศจีน เหตุการณ์นั้นก็คือ ‘สงครามเกาหลี’ หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองแล้ว
10
เกาหลีซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นก็ถูกแบ่งเป็น ‘เกาหลีเหนือ’ และ ‘เกาหลีใต้’ โดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่ง ส่วนเหนือตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ภายใต้ความดูแลของสหภาพโซเวียต และส่วนใต้ตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยในความดูแลของสหรัฐอเมริกา หลังจากกองทัพสหภาพโซเวียตและกองทัพสหรัฐอเมริกาออกจากคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) คิม อิล-ซุง ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือก็ได้เข้ารุกรานเกาหลีใต้โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสหภาพโซเวียต คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจึงตอบโต้ด้วยการลงมติอนุญาตให้ส่งทหารเข้าไปช่วยเกาหลีใต้ โดยขาดเสียงจากสหภาพโซเวียต เพราะสหภาพโซเวียตกำลังคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอยู่ จึงไม่ได้ร่วมประชุมด้วยเหตุประท้วงเรื่องผู้แทนของจีนหรือตามหลักการจีนเดียวนั่นเอง การเกิดขึ้นของสงครามเกาหลีในมุมมองของสหรัฐอเมริกา คือฝ่ายคอมมิวนิสต์กำลังจะขยายอิทธิพลไปทั่วโลก แล้วทีนี้การที่ทหารและความช่วยเหลือต่าง ๆ จากสหประชาชาติจะผ่านไปที่เกาหลีได้จึงจำเป็นจะต้องผ่านช่องแคบไต้หวันเพื่อให้ไปถึงคาบสมุทรเกาหลี ไต้หวันจึงกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมาก ทำให้ทรูแมนตัดสินใจว่า จะไม่ให้คอมมิวนิสต์จีนข้ามช่องแคบและยึดไต้หวันได้ โดยสั่งการให้กองเรือที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาไปประจำการที่ช่องแคบไต้หวัน เพื่อปกป้องและดูแลความสงบเรียบร้อย
การที่สหรัฐอเมริกาส่งกองเรือมาประจำการอาจจะทำให้เจียง ไคเชกปลื้มมาก ๆ แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะยืนยันที่จะปกป้องไต้หวันไม่ให้ตกเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐอเมริกาจะช่วยเจียง ไคเชกให้กลับไปปกครองแผ่นดินใหญ่ เพราะดูยังไงก็ไม่คุ้มค่า การสูญเสียมีอัตราเสี่ยงสูงและความเป็นไปได้ที่จะชนะก็ค่อนข้างต่ำ ทางเลือกที่สมเหตุสมผลที่สุดของสหรัฐอเมริกาก็คือให้แยกกันอยู่ไปแบบนี้แหละ และเผื่อว่าเจียงไคเชกแพ้คอมมิวนิสต์จีนขึ้นมาจริง ๆ สหรัฐอเมริกาก็ยังมีการประกาศเผื่อไว้ด้วยว่า สถานภาพของไต้หวันนั้นยังไม่ได้ถูกกำหนด ควรรอให้สถานการณ์ในภูมิภาคสงบเสียก่อน แล้วค่อยตกลงกันอีกครั้งที่สหประชาชาติซึ่งก็ทำให้เจียงไคเชกไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะสถานการณ์ดังกล่าวขัดกับหลักการจีนเดียวของสาธารณรัฐจีน แต่ในขณะเดียวกัน เจียง ไคเชกก็ไม่ได้มีทางเลือกอื่น สุดท้ายก็ต้องยอมรับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาไปพลาง ๆ ก่อน รัฐบาลของพรรคก๊กมินตั๋งจึงสามารถอยู่ที่ไต้หวันต่อไปได้
ทางฝั่งของสหประชาชาติ เมื่อรับจีนไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกภายใต้หลักการจีนเดียว นั่นก็หมายความว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ จีนคอมมิวนิสต์ ก็จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกไม่ได้ เพราะ ยืนยันหลักการจีนเดียวเช่นกัน สถานการณ์ก็ตึงเครียดกันไปแบบนี้อยู่ถึง 10 ปี ในการประชุมสหประชาชาติก็ต้องมีการอภิปรายกันเรื่องความเป็นตัวแทนของจีนทุกปี ประเทศฝั่งค่ายของสหรัฐอเมริกาก็พยายามจะเลื่อนการโหวตรับรองเรื่องดังกล่าวออกไปทุกปี แต่ประเทศสมาชิกที่รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตัวแทนของหลักการจีนเดียว ก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของจีนในสหประชาชาติไม่ได้ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่จริง ๆ ก็เป็นผลให้ที่ประชุมระหว่างประเทศไม่สามารถพิจารณาหลาย ๆ ประเด็นที่เกี่ยวกับจีนได้
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
2
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 สหรัฐอเมริกาก็พยายามจะชักชวนเจียง ไคเชก ให้ยอมรับตัวแทนของคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีที่นั่งในสหประชาชาติ หากยอมรับแนวคิดนี้โลกก็จะมีสองจีน คือจีนที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่และจีนที่อยู่ไต้หวัน แนวคิดนี้เรียกว่าสองจีนค่ะ หรือ Two-Chinas แต่ว่าเจียง ไคเชกก็ปฏิเสธแนวคิดนี้และย้ำหลักการจีนเดียว คือในโลกนี้มีเพียงสาธารณรัฐจีนเป็นจีนเดียวเท่านั้นและทั้งไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ก็เป็นของสาธารณรัฐจีน สหรัฐอเมริกาทำอะไรไม่ได้ก็เลยให้จีนไต้หวันเป็นตัวแทนจีนเดียวในสหประชาชาติต่อไปอีกสิบปี สถานการณ์โลกไม่เคยหยุดนิ่ง ในทศวรรษที่ 1970 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจถอนทหารออกจากสงครามเวียดนาม และได้รับคำแนะนำจากเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศว่า โซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์กำลังทะเลาะกันอยู่ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สหรัฐอเมริกาจะจับมือกับจีนคอมมิวนิสต์ เพื่อให้จีนเข้าไปมีอิทธิพลในกัมพูชา เพื่อคานอำนาจกับสหภาพโซเวียต ที่จะได้เวียดนามไปแน่ ๆ หลังจากอเมริกาถอนกำลังออกมาแล้ว ดังนั้นสิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือ สหรัฐอเมริกายอมรับที่จะให้จีนคอมมิวนิสต์เข้าไปเป็นสมาชิกสหประชาชาติแทนจีนไต้หวันก่อนการประชุมสหประชาชาติ อเมริกาก็เอาแนวคิดสองจีนกลับไปคุยกับเจียง ไคเชกอีกครั้ง เรื่องที่จะให้ทั้งสองจีนอยู่ในสหประชาชาติกันต่อไปได้ไหม แต่พอมาถึงจุด ๆ นี้แล้ว แม้ว่าเจียง ไคเชกจะอยากอย่างไรก็ไม่ทันซะแล้ว เพราะว่าประเทศที่สนับสนุนจีนคอมมิวนิสต์มีจำนวนมากขึ้นทุกปี และฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ก็ไม่ยอมที่จะละทิ้ง ‘หลักการจีนเดียว’ หรือให้จีนไต้หวันอยู่เป็นจีนอีกประเทศนึง สุดท้ายเจียง ไคเชกไม่อยากเสียหน้าจึงให้ตัวแทนของจีนไต้หวันประกาศถอนตัวออกจากสหประชาชาติเองเลย สหประชาชาติก็มีมติทันทีเลยและให้จีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเป็นสมาชิกแทนจีนไต้หวัน หลังจากนั้น นิกสันก็ไปจับมือกับ ‘เหมา เจ๋อ ตง’ และในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) สหรัฐอเมริกาก็ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนไต้หวันอย่างเป็นทางการ จากแนวคิดสองจีนเปลี่ยนเป็นนโยบายจีนเดียว หรือ One-China Policy อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
แต่จริง ๆ นโยบายจีนเดียวตอนนี้ กับหลักการจีนเดียวที่ทั้งสองจีนเน้นย้ำนั้น เป็นคนละเรื่องกันเลย นโยบายจีนเดียว จริง ๆ ก็คือ กติกาในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่หรือจีนไต้หวัน ก็คือต้องเลือกข้าง ถ้ารับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นจีนแล้ว ก็ต้องตัดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐจีนเพราะในโลกนี้มีเพียงจีนเดียว แต่ในส่วนของดินแดนของจีนนี้จะเป็นอย่างไรไม่เกี่ยวกับนานาประเทศ แต่เงื่อนไขของหลักการจีนเดียวที่ทั้งสองจีนเน้นย้ำเกี่ยวกับแนวคิดของดินแดน คือทุกส่วนของประเทศจีนขาดกันไม่ได้ แยกออกจากกันไม่ได้ แนวคิดนี้จึงไม่ได้ใช้แต่กับไต้หวัน แต่หลักการจีนเดียวยังถูกนำมาใช้กับ ซินเจียง ทิเบต และฮ่องกง ด้วย สรุปก็คือนโยบายจีนเดียวที่ประเทศต่างๆ ถือนั้น ไม่ได้เท่ากับหลักการจีนเดียวอย่างที่จีนเชื่อ ซึ่งก็เป็นการอธิบายได้ว่า เหตุใดสหรัฐอเมริกาแม้ไม่ยอมรับไต้หวันเป็นจีนอีกต่อไป แต่ก็ยังขายอาวุธให้กองทัพไต้หวันตลอด เพื่อจะไม่ให้จีนแผ่นดินใหญ่ข้ามช่องแคบมายึดไต้หวันไป
แม้ว่าจีนแผ่นดินใหญ่จะไม่ถูกใจสิ่งนี้
2
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนแผ่นดินใหญ่จะได้รับการรับรองเป็นตัวแทนของประเทศจีนที่แท้จริงในองค์กระหว่างประเทศต่าง ๆ บางองค์กร เช่น สหประชาชาติซึ่งได้ไล่จีนไต้หวันออกไปให้จีนแผ่นดินใหญ่มารับที่นั่งแทน แต่บางองค์กรยังยอมรับให้ไต้หวันอยู่ต่อแต่ต้องเปลี่ยนชื่อ จะใช้ชื่อเป็นสาธารณรัฐจีนต่อไปไม่ได้ เช่น ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเราก็เลยจะเห็นทีมไต้หวันใช้ชื่อว่า ‘Chinese Taipei’ ก็คือ ไทเป จีน โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นของจีนไหน คำถามต่อมาก็คือสำหรับไต้หวันแล้ว ถ้าปัญหาคือจะเข้าร่วมสมาคมต่าง ๆ กับประชาคมโลกไม่ได้ ทำไมไต้หวันไม่เลิกยึดมั่นกับหลักการจีนเดียวสักที ซึ่งคำตอบก็คงจะต้องไปดูที่สถานการณ์ภายในของไต้หวัน นั่นก็คือเมื่อพรรคก๊กมินตั๋งแพ้สงครามกลางเมืองจีนแล้ว
2
เจียง ไคเชก ก็ยกเอาทั้งระบบการปกครองของประเทศจีนเดิม ทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และข้าราชการจีนภายใต้พรรคก๊กมินตั๋งข้ามไปใช้ที่ไต้หวันทั้งหมด ใช้ระบบการศึกษาที่สร้างชาตินิยมจีนที่ไต้หวันด้วยการปกครองภายใต้เผด็จการพรรคก๊กมินตั๋งที่ยาวนานถึง 40 ปีในไต้หวัน ซึ่งคนที่เห็นต่าง รวมถึงคนที่คิดว่าไต้หวันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน ก็จะติดคุก ถูกประหารชีวิต หรือไม่ก็ต้องหนีไปอยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า ความเชื่อเรื่องจีนเดียวนี่เป็นจุดยืนร่วมของคนไต้หวัน เนื่องจากความเชื่อนี้แท้จริงแล้วเป็นจุดยืนของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นรัฐบาลเผด็จการไม่มีฝ่ายค้านยาวนานถึง 40 ปี
สงครามกลางเมืองจีน ซึ่งสร้างความชอบธรรมอย่างยาวนานให้พรรคก๊กมินตั๋งและระบอบเผด็จการพรรคเดียวเริ่มลดความขลังลง ในเวลาเกือบ 40 ปีทีไต้หวันอยู่ภายใต้เผด็จการพรรคก๊กมินตั๋ง ประชาชนที่อยู่สองฝั่งของช่องแคบไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้ คนที่ตามเจียง ไคเชก มาไต้หวัน 2 ล้านคน ทีแรกยังนึกว่าอยู่ไต้หวันแค่ไม่กี่ปีก็จะได้กลับไปแผ่นดินใหญ่ แต่ 40 ปีผ่านไปก็ไม่เห็นมีทีท่าเลย รัฐบาลที่ตัวเองย้ายตามมาอยู่ดี ๆ ก็ถูกสังคมโลกปฏิเสธความเป็นจีนเดียว แล้วก็มีทีท่าว่าจะกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับกันทั่วไป เมื่อไต้หวันเริ่มเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในทศวรรษที่ 1980 สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือ การเปิดโอกาสให้ทหารผ่านศึกได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวที่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะเดียวกัน จีนแผ่นดินใหญ่ก็เข้าสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจ รัฐบาลสองฝั่งจึงเปิดให้ประชาชนไปมาหาสู่กันได้มากขึ้นเรื่อย ๆ การค้าขาย การลงทุน การศึกษาและการท่องเที่ยวระหว่างสองฝั่งก็เพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจของทางแผ่นดินใหญ่พัฒนาเติบโตขึ้น เศรษฐกิจของไต้หวันก็เริ่มผูกอยู่กับจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวกับจีนแผ่นดินใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนเกือบหนึ่งในสี่ของ GDP ของไต้หวัน
1
ในยุคปฏิรูปประชาธิปไตยช่วงทศวรรษที่ 1980 ไต้หวันเริ่มมีพรรคฝ่ายค้าน พรรคหลักก็คือ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า หรือ Democratic Progressive Party เน้นว่าไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่เป็นคนละประเทศกัน แล้ว ‘เฉิน ฉุ่ยเปี่ยน’ ประธานาธิบดีที่มาจากพรรคนี้ก็ได้ชนะการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) และ 2004 (พ.ศ. 2547) จึงทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก มีการตรากฎหมายชื่อ Anti-Secession Law ขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า กฎหมายต่อต้านการแบ่งแยกดินแดน ในกฎหมายเน้นย้ำหลักการจีนเดียวและระบุว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นก็ตามที่จะทำให้ไต้หวันแยกออกจากประเทศจีน จีนจะใช้กำลังทหารเพื่อต่อต้านการแยกตัวของไต้หวัน หลังจากนั้นในไต้หวันก็เกิดความระส่ำระสายขึ้นนิดหน่อย ฝ่ายที่นิยมจีนหรือฝ่ายชาตินิยมจีนก็เริ่มโทษฝ่ายที่สนับสนุนเอกราชไต้หวันว่าสร้างความวุ่นวาย สร้างความไม่สงบ อยากพาไต้หวันเข้าไปสู่สงคราม หลัง ๆ ‘เฉิน ฉุ่ยเปี่ยน’ ก็ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริต ด้วยความกลัวที่จะเกิดสงครามและความเกลียดต่อ เฉิน ฉุ่ยเปี่ยน ในสังคมไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋งเลยพลิกกลับมาชนะการเลือกตั้ง แล้วก็กลับมาตั้งรัฐบาลที่มีนโยบายอิงแอบอยู่กับจีนอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันจีนก็พยายามจะขยายอิทธิพลทางการเมืองในไต้หวันโดยทางเศรษฐกิจจึงทำให้เกิด ‘Sunflower Student Movement’ หรือ ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน ในช่วงปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) เป็นขบวนการที่นำโดยคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรุ่นที่นิยามตัวเองว่าเป็นคนไต้หวันไม่ใช่คนจีน และเชื่อในประชาธิปไตย ไม่ยอมอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของจีน ต่อมาในปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ไช่ อิงเหวิน นำพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลไต้หวันที่นำโดย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า เน้นย้ำหลักการประชาธิปไตยและแถลงจุดยืนต่อต้านจีนและหลักการจีนเดียวอย่างมาก นอกจากนี้รัฐบาลไต้หวันโดย ไช่ อิงเหวิน ก็ยังออกตัวแรงให้กำลังใจกับผู้ประท้วงในฮ่องกงอีกด้วยและย้ำว่าหนึ่งประเทศสองระบบที่จีนเคยสัญญากับฮ่องกงและอยากจะเอามาใช้กับไต้หวันนั้นไม่มีอยู่จริง ไต้หวันควรเป็นประเทศที่แยกออกจากจีนและเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
2
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
อย่างไรก็ตาม จีนแผ่นดินใหญ่ก็ไม่ชอบ ไช่ อิงเหวิน เอามาก ๆ เลย ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจีนจึงได้สร้างข้อบังคับต่างๆ ในการร่วมงานระหว่างประเทศของไต้หวัน และการไปมาหาสู่ระหว่างจีนกับไต้หวันอีกด้วย เช่น ให้สายการบินทั่วโลกเปลี่ยนชื่อไต้หวัน เป็น Taiwan, Province of China ซึ่งก็แปลตรง ๆ ว่า ไต้หวัน จังหวัดหนึ่งของจีนและบังคับให้บริษัทต่างชาติที่อยากทำธุรกิจในจีนต้องแถลงจุดยืนสนับสนุนหลักการจีนเดียว และมีการยกเลิกการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวจีนไปเที่ยวไต้หวัน โดยอ้างว่าเป็นความผิดของรัฐบาล ไช่ อิงเหวิน ที่ไม่อยากอยู่ด้วยดี ๆ กับจีน ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่ใกล้ชิดกับจีนก็เริ่มจะสร้างกระแสที่บอกว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของชนชั้นนำไม่ได้เกี่ยวกับชีวิตของคนทั่ว ๆ ไป ประชาธิปไตยกินไม่ได้ ประเทศจีนไม่มีประชาธิปไตยก็เจริญเอา ๆ ไต้หวันจึงไม่ควรจะไปหาเรื่องจีน ไม่งั้นเช่นนั้นเศรษฐกิจจะแย่ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป ตัวแทนของพรรคก๊กมินตั๋ง เน้นย้ำนโยบายเศรษฐกิจมาก่อนและหลีกเลี่ยงการแถลงจุดยืนในประเด็นจีน - ไต้หวัน อีกด้วย นี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่วาทกรรม “ประชาธิปไตยกินไม่ได้” ถูกนำมาใช้ในการแย่งชิงอำนาจ และวาทกรรมนี้ก็ถูกใช้อยู่เสมอโดยเฉพาะในช่วงหลังที่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษกิจของโลก
2
สงครามกลางเมืองของจีน ทำไมจีนจึงกลายเป็นคอมมิวนิสต์
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา