Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
EveryGreen
•
ติดตาม
12 ก.ค. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
งานวิจัยจากการฉีดจริง (Real world data) ของ Sinovac ในประเทศชิลี
nejm.org
หลังจากที่มีการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศชิลีไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เปิดเผยข้อมูลเป็นภาษาสเปน เปรียบเทียบการศึกษา % effectiveness จากการฉีดจริงของวัคซีนโควิด 2 ยี่ห้อ ได้แก่ Sinovac และ Pfizer ผลออกมาตามรูปด้านล่าง
1
minsal.cl
พบว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง Sinovac : Pfizer
▪️ ป้องกันการติดเชื้อ - 63.6% : 90.9%
▪️ ป้องกันการอยู่โรงพยาบาล - 87.3% : 97.1%
▪️ ป้องกันการอยู่ ICU - 90.0% : 98.4%
▪️ ป้องกันการเสียชีวิต - 86.4% : 91.8%
ซึ่งการเก็บข้อมูลของ Sinovac เปรียบเทียบกับ Pfizer ในประเทศเดียวกันนั้นหาได้ยาก เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ฉีดวัคซีนทั้งสองยี่ห้อนี้ และสามารถฉีดให้กับประชากรได้เป็นจำนวนมาก โดยประเทศชิลีได้ฉีด Sinovac ให้กับประชากรก่อน ฉีดไปได้มากถึง 7.62 ล้านโดส สำหรับเข็มแรก และ 6.36 ล้านโดส สำหรับเข็มที่สอง
1
หลังจากนั้นชิลีได้สั่ง Pfizer มาฉีดให้ประชากรเพิ่ม จนถึงวันที่จัดแถลงข่าว ชิลีฉีดวัคซีน Pfizer ให้ประชากรไปได้ประมาณ 5 ล้านโดส ดังนั้นถึงแม้จะมีการรายงานค่า % effectiveness ของ Pfizer ว่าดีกว่าค่าของ Sinovac ในทุกกลุ่มตัวอย่าง แต่สัดส่วนประชากรที่ได้ฉีด Pfizer ยังถือว่ามีน้อยกว่าประชากรที่ได้ฉีด Sinovac อยู่มาก ดังนั้นการศึกษาเก็บข้อมูลจึงเน้นไปที่ Sinovac และรายงานค่าของ Pfizer เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น
1
หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีงานวิจัยฉบับเต็มออกมา ถือเป็นงานวิจัยเฟส 4 ฉบับแรกของ Sinovac ที่มีการรายงานในวารสารวิชาการที่เป็นมาตรฐานระดับโลก ตีพิมพ์วันที่ 7 กรกฎาคม 2021 ในวารสารการแพทย์ The New England Journal of Medicine เก็บข้อมูลจากประชากรชิลีร่วม 10.2 ล้านคน อายุ 16 ปีขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2021-1 พฤษภาคม 2021
[ ผลการศึกษา ]
จากประชากร 10,187,720 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีนเข็มเดียว 542,418 คน ฉีดทั้งสองเข็ม 4,173,574 คน และ ไม่ได้ฉีดวัคซีน 5,471,728 คน % effetiveness ที่รายงานมีค่าแตกต่างจากตอนแถลงข่าวนิดหน่อย โดยพบว่าหลังจากฉีด Sinovac เข็มแรก 14-28 วัน สามารถ
💉 ป้องกันการติดเชื้อ - 15.5%
💉 ป้องกันการอยู่โรงพยาบาล - 37.4%
💉 ป้องกันการอยู่ ICU - 44.7%
💉 ป้องกันการเสียชีวิต - 45.7%
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ฉีดวัคซีนครบโดส โดยเก็บข้อมูลหลังจากฉีดเข็มสอง 14 วันขึ้นไป พบว่าวัคซีนสามารถ
💉💉 ป้องกันการติดเชื้อ - 65.9%
💉💉 ป้องกันการอยู่โรงพยาบาล - 87.5%
💉💉 ป้องกันการอยู่ ICU - 90.3%
💉💉 ป้องกันการเสียชีวิต - 86.3%
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลเฟส 3 ของ Sinovac ในหลายประเทศตามรายงาน SAGE ของ WHO แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ได้แก่ บราซิล, อินโดนีเซีย และ ตุรกี โดยรายงานว่าวัคซีนมีค่า % efficacy สำหรับการป้องกันการติดเชื้อ อยู่ที่
🌎 บราซิล - 50.7%
🌎 อินโดนีเซีย - 65.3%
🌎 ตุรกี - 91.3%
จะพบว่าค่า % effectiveness ของ Sinovac ที่ได้จากการฉีดจริง (Real world data) ในประเทศชิลี (65.9%) มีค่าใกล้เคียงกับ % efficacy ของประเทศบราซิล (50.7%) และอินโดนีเซีย (65.3%) แต่แตกต่างกับค่าของประเทศตุรกี (91.3%) อย่างมาก อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อย (1,322 คน), พื้นที่เก็บข้อมูลแตกต่างกัน, สถานการณ์ระบาดต่างกัน, สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุต่างกัน เป็นต้น
[ สรุป ]
- เมื่อฉีด Sinovac ครบโดสจะสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ 65.9%
- การที่สามารถป้องกันการเสียชีวิต (86.3%) ได้น้อยกว่าป้องกันการอยู่ ICU (90.3%) เป็นเพราะคิดเปอร์เซนต์จากกลุ่มตัวอย่างแยกกัน เช่น มีผู้เสียชีวิตเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ฉีดวัคซีนและไม่ได้ฉีดวัคซีนกี่คน หาค่าออกมาเป็นเปอร์เซนต์ และ มีผู้ที่รักษาตัวอยู่ใน ICU เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ฉีดวัคซีนและไม่ได้ฉีดวัคซีนกี่คน หาค่าออกมาเป็นเปอร์เซนต์ ดังนั้น ค่าเปอร์เซนต์ที่ได้จึงถือว่ามาจากกลุ่มตัวอย่างคนละกลุ่มกัน
2
- ค่า % effectiveness ที่ได้จากงานวิจัยนี้แตกต่างจากค่าที่รายงานใน SAGE ของ WHO เล็กน้อย ให้ยึดตามงานวิจัยเป็นหลัก เพราะเป็นข้อมูลอัพเดทล่าสุด และถือเป็นข้อมูลที่มีการรายงานอย่างเป็นทางการในวารสารวิชาการ
- ค่า % effectivenes ของ Sinovac ที่ได้จากงานวิจัยนี้ ไม่ได้เป็นค่าที่เก็บจากการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งกำลังจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย ดังนั้น % effectiveness ของ Sinovac ต่อสายพันธุ์เดลต้าอาจเปลี่ยนแปลงไปจากงานวิจัยนี้
🌸 ความเห็นส่วนตัว
วันนี้ สธ. ประกาศว่าให้ฉีด Sinovac เป็นเข็มแรกสลับกับ AstraZeneca เป็นเข็มสอง โดยเว้นระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ ก็ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่สมควร เพราะจากงานวิจัยต่างๆและสถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ที่ต้องรับมือกับสายพันธุ์เดลต้า ถึงจะฉีด Sinovac ครบสองเข็ม ก็ยากที่จะควบคุมการระบาดได้ ดังนั้นการฉีด Sinovac-AstraZeneca อาจจะช่วยควบคุมการระบาดได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาการฉีดเข็มสองให้สั้นลง จากเดิมที่ต้องรอเข็มสองนานหากฉีด AstraZeneca ก่อน เพราะ AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ก็ยังรับมือกับสายพันธุ์เดลต้าได้ยาก และถึงยังไงดูท่าแล้ววัคซีนหลักที่ประเทศไทยมีก็คงเป็นวัคซีนสองยี่ห้อนี้ไปอีกสักระยะ
3
อย่างไรก็ตามการฉีด AstraZeneca ให้ครบทั้งสองเข็มยังถือเป็นเรื่องที่สมควรทำมากกว่าการฉีดวัคซีนสูตรผสมแบบนี้ที่ยังไม่มีงานวิจัยอย่างเป็นทางการออกมา ดังนั้นแผนการแก้ปัญหาระยะยาวควรเป็นการจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมาให้เพียงพอมากกว่า
3
References >>
DOI: 10.1056/NEJMoa2107715
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2107715?fbclid=IwAR2MfJ_dE3NoRrSGra9bZdHx_wvFObkTLp0xYdxpnQhvolXd0cP9mZlk22c
https://www.minsal.cl/las-vacunas-sinovac-y-pfizer-biontech-muestran-en-chile-un-90-y-98-de-efectividad-para-prevenir-el-ingreso-a-uci-respectivamente/?fbclid=IwAR3QazTS5SLUgDEIEXIMlIQj3YvQrFD1gQHMPL-L2yvzzrRI65SwOyVd3RQ
4 บันทึก
19
4
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Reading Corner
4
19
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย