Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บันทึกการเดินทาง
•
ติดตาม
13 ก.ค. 2021 เวลา 06:35 • ท่องเที่ยว
เจาะอารยธรรมโบราณที่เนปาล ตอน1 ปศุปตินาถ (Pashupatinath)
บันทึกการเดินทาง จากกรุงเทพ สู่ กาฐมาณฑุ เนปาล ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 ตค.55 ณ สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 10.30 น. การบินไทย ก็พาเหินฟ้าไปยัง สนามบินตรีภูวัน กาฐมาณฑุ เนปาล 5 ปี กับการกลับมาเยื่อนอีกครั้งเป็นครั้งที่2
กาฐมาณฑุ มีอะไรดีถึงต้องกลับมาอีกครั้ง แทนที่จะไปที่อื่นๆ
ประการแรก อินเดีย เนปาล เป็นต้นแบบศิลปะในแถบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศิลปะในภูมิภาคนี้ไม่ว่า พม่า เขมร ไทย ล้วนได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียเป็นต้นแบบศิลปะในปัจจุบัน การไปดูรากเหง้าจึงน่าสนใจอย่างยิ่ง
ศิลปะการก่อสร้างสถาปัตยกรรม และ ประติมากรรม ต่างๆในเนปาลล้วนวิจิตรบรรจง เป็นผลงานชั้นครู การได้ชมจึงเป็นสิ่งที่น่าดูยิ่งนัก
สุดท้ายศิลปะเหล่านี้ได้รับการรับรองจากยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลก เฉพาะในหุบเขากาฐมาณฑุ ก็มีไม่น้อยกว่า 7 แห่งแล้ว
คราวนี้กะเจาะลึกในกาฐมาณฑุเลย 11 วัน ในกาฐมาณฑุ คงจะตะลุยเยี่ยมชมได้ครบทุกแห่ง
วางแผนการเดินทางอย่างดี ออกเดินทางเวลา 10.30 น. คงเดินทางถึงเนปาลประมาณเที่ยงหรือบ่ายนิดๆ ต้องเลือกที่นั่งด้านขวาของเครื่องและต้องนั่งติดหน้ าต่าง เพื่อจะได้ยลโฉมเทือกเขาหิมาลัย เมื่อเครื่องบินเข้าเขตประเทศเนปาล
แต่วันนี้เมฆเยอะจริงๆ อากาศข้างนอกคงเย็นจัดจนมีผลึกน้ำแข็งที่กระจกด้านนอก
ประมาณเกือบบ่ายโมง หลังจากแอร์โฮสเตท เก็บถาดอาหารที่บริการบนเครื่องเสร็จ ก็เริ่มเห็นยอดเล็กๆที่สุดปลายฟ้าลิบๆ
คราวนี้ 14-150มม. สำหรับกล้องMirrorless คูณสองจะกลายเป็น 28-300มม. จะได้ใช้เต็มช่วงซูมแล้ว
เมฆที่เป็นปุย กับยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม แทบแยกไม่ออก ยอดเอเวอร์เรสจะเป็นยอดไหนก็มองลำบาก
ถ้าไม่มีเมฆแล้ว ทัศนวิสัยชัดมากมองลงไปจะเห็นแผ่นดินเบื้องล่างลิบๆ แผ่นดินที่สูงๆต่ำๆมีภูเขาอยู่เบื้องล่าง แต่ระดับสายตาของเราตอนนี้ก็มียอดภูเขาหิมะให้เห็นอยู่ เหนือฟ้ายังมีฟ้าจริงๆ......
14.00 น. พอดีเป๊ะของเวลาเมืองไทย หรือ 12.45 น. ของที่เนปาล ล้อเครื่องบินก็แตะแผ่นดินเนปาล
จุดหมายแรกของทริปคือ โพธนาถ วัดทิเบตในแผ่นดินเนปาลที่เลื่องชื่อ จุดที่พักวันนี้จึงเป็น Tibet International Hotel โรงแรมหรูที่อยู่เยื้องๆกับโพธนาถไม่ถึง 100 เมตร
แต่ยังก่อน สำหรับวันนี้จุดเริ่มต้นของบันทึกการเดินทางจะไปยัง ปศุปตินาถ(Pashupatinath) เป็นที่แรกก่อนแสงจะหมดและจะอยู่จนแสงหมดเพื่อเก็บบร รยากาศของแสงไฟด้วย
เสียเวลาไปกับการแลกเงินรูปี และ การซื้อซิมโทรศัพท์มือถือ ที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนยิ่งนัก เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ยุ่งยากแต่ก็มีประสิทธิภ าพดีทีเดียวกับการรักษาความปลอดภัย หรือ ภัยที่จะเกิดจากการใช้สัญญาณโทรศัพท์
หลังจากรอจนเกือบครบชั่วโมง ดักถ่ายชาวเนปาลีเลิกงานกลับบ้านจนเบื่อ ก็ได้เวลาออกเดินทางไปปศุปตินาถจริงๆซะที
สิบห้านาทีจากโรงแรมที่พักมายัง ปศุปตินาถ ใกล้กันนิดเดียว แต่ถนนที่เมื่อ 5 ปี เป็นอย่างไร วันนี้กลับมาใหม่ก็ยังเป็นถนนราดยางที่หน้ายางหายไปเ กือบหมดเหมือนเดิม หลุมบ่อจึงไม่ต้องพูดถึง ถนนที่แคบไม่ว่าจะเป็นถนนหลักหรือ ถนนซอย ความกว้างพอๆกัน หนทางที่ขึ้นเนินลงเนินเลี้ยวควับตัดหน้ากันเอง เสียงแตรจึงเป็นเสียงธรรมดาของที่นี่ ไม่มีอะไรตัดหน้าก็บีบแตรทักทายกัน ช่างฟุ่มเฟือยเสียงแตรจริงๆ ที่เนปาลกับอินเดีย ถ้าแตรเสียสงสัยคนขับรถคงไม่กล้าออกจากบ้านแน่ๆ ขาดความมั่นใจในการขับรถโดยพลัน
มาถึงปศุปตินาถเกือบห้าโมงเย็น ร้านค้าริมทางเริ่มเก็บของ นักท่องเที่ยวเหลืออยู่น้อยนิด โยคีก็เตรียมเลิกงานกลับบ้าน เพราะโยคีที่่นี่มากกว่าครึ่ง น่าจะเป็นโยคีปลอม แต่งตัวคล้ายโยคีเพื่อให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปและขอเ งิน 1 ดอลลาร์
ที่นี่ถึงเวลาเลิกงาน อย่าว่าแต่คนเลย ลิงที่นี่พอคนเลิกงานกลับบ้าน ลิงฝูงใหญ่ที่นี่ก็เดินกลับเข้าป่าทั้งฝูงเหมือนกัน
ปศุปตินาถยามโพล้เพล้ ช่างดูเงียบเหงา บรรยากาศเริ่มวังเวงทุกที
ปศุปตินาถ पशुपितनाथ मन्दर ในอดีตนั้น ตามตำนานเดิมเป็นสถานที่ใช้เลี้ยงและรีดนมวัว มีเรื่องราวที่แปลกประหลาดเกิดขึ้นเมื่อแม่วัวตัวหนึ่งไม่ยอมเข้าไปในโรงรีดนม แต่จะออกไปให้นม ณ บริเวณแห่งนี้เป็นประจำเช่นนี้ทุกๆวัน
ชาวบ้านสงสัยได้ขุดดินลงไป และเจอรูปสลักหินของศิวะลึงค์เข้า ซึ่งหมายถึงการพบพระศิวะ จึงช่วยกันสร้างเทวลัยแห่งนี้ขึ้นมาถวายแก่องค์มหาเทพ แต่ในความเป็นจริง วัดนี้สร้างขึ้นมาในสมัยกษัตริย์แห่งราชวงศ์มัลละ เพื่อถวายแด่องค์ปศุปฏินาถ เทพแห่งสิงสาราสัตว์ อันเป็นหนึ่งในองค์อวตารนับพันของพระศิวะ
วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำBagmati River ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นน้ำแม่น้ำคงคาแห่งเมืองพาราณส ี ประเทศอินเดีย และชาวเนปาลก็ถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพระศิวะ เป็นแม่น้ำที่ให้ชีวิตแก่ชาวฮินดูตั้งแต่เกิดจนกระทั่งไร้วิญญาณ
วัดนี้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดหลังคาทองคำ เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดและเป็นแสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ข องฮินดู ในเนปาล ตั้งมา 879 ปี ก่อน คริสต์กาล โดยวัดแห่งนี้มีหลังคาทองแดงที่หุ้มด้วยทองคำซ้อนกัน 2 ชั้น มีประตู4 บานที่ทำด้วยเงิน มีการแกะสลักด้วยฝีมือวิจิตรบรรจง ถวายแด่พระ ศิวะ (Shiva)หรือพระอิศวร
วัดนี้จึงถือว่าเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดวัดหนึ่ งในศาสนาฮินดูของเนปาล เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และมรดกทางจิตใจของผู้คน ซึ่งล้วนมีความปรารถนาที่จะใช้วินาทีสุดท้ายของชีวิต ที่วัดแห่งนี้พร้อมครอบครัวและผู้เป็นที่รัก ก่อนจะหมดลมหายใจภายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อปลดปล่อยให้ร่างไร้วิญญาณไหลตามน้ำไปบรรจบกับแม่น้ำคงคาที่เมืองพาราณสี ซึ่งเชื่อกันว่าคือทางสู่สวรรค์
จากความเชื่อดังกล่าว ริมฝั่งแม่น้ำที่ท่าน้ำของวัดจึงกลายเป็นสถานที่ประกอบพิธีเผาศพร่างอันไร้วิญญาณของชาวเนปาลทุกผู้ทุกนาม ตั้งแต่ยาจกเข็ญใจจนถึงพระราชา ล้วนมาจบลง ณ ที่แห่งนี้
ครั้งก่อนที่มาที่นี่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ยังพบความเคร่งครัดในจารีตประเพณี ห้ามคนต่างศาสนาเดินข้ามสะพานไปฝั่งตรงข้าม วันนี้เดินกันให้ขวักไขว่ ริมท่าน้ำที่มีพิธีเผาศพบน ฆาต หรือ เชิงตะกอน เมื่อก่อนจะมีแค่ทายาทผู้ชายเท่านั้นที่จะอยู่ร่วมใน พิธี ห้ามผู้หญิงผ่านเข้ามาแม้จะเป็นญาติสนิทก็ตาม แต่วันนี้ก็เห็นเดินเข้ามาได้เช่นกัน
วันเวลาหมุนไป สิ่งที่เคยยึดมั่นถึอมั่นในอดีตก็เริ่มเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา และอารายธรรมต่างชาติที่ถั่งโถมเข้ามาในดินแดนแห่งนี้ แต่...ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็นับว่าน้อยนิดนัก ส่วนใหญ่ของวิถีชีวิตของชาวเนปาลียังคงดำเนินไปตามขน บธรรมเนียมเดิมๆ แม้ว่าการแต่งกายของคนหนุ่มคนสาวจะเริ่มมีการแต่งกาย เลียนแบบตะวันตกมากขึ้นก็ตาม
ฝั่งนี้กำลังมีพิธีเผาศพและความโครกเศร้าจากการสูญเสีย
แต่....อีกฝั่ง กลับมีการเตรียมการทำพิธีมหาศิวราตรี (महाशिवरात्रि) ซึ่งถือว่าโชคดียิ่งนักที่เรามาตรงเวลานี้พอดี และเรามาทริปกันเองไม่ได้มากับทัวร์ จึงไม่ต้องสนใจเรื่องเวลาอะไรนัก
Maha Shivaratri คือวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศิวราตรี แปลว่า ราตรีหรือค่ำคืนแห่ง (การบูชา) พระศิวะเจ้า ศิวราตรีเป็นเทศกาลสำคัญยิ่งวันหนึ่งในรอบปีของชาวฮินดู โดยพิธีศิวราตรีจะจัดขึ้นในช่วงวันแรม(กฤษณปักษ์) แรม 13 ค่ำ(กฤษณไตรโยทศี) หรือ แรม 14 ค่ำ(กฤษณจตุรทศี) ของเดือน มาฆะ หรือเดือน ผลาคุณะ (ตามปฏิทินของฮินดู) หรือตามแบบสากลพิธีนี้จะอยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี วันเริ่มต้นของพิธีนี้อาจจะแตกต่างกันในประเทศอินเดีย และเนปาล และการคำนวณวันของเทศกาลนี้อาจจะแตกต่างกันในระบบปฏิทินฮินดูของพระเจ้าสลิวาหนะ และ ปฏิทินของพระเจ้าวิกรมอาทิตย์ ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันหยุดราชการในประเทศอินเดีย พิธีศิวาราตรี เป็นวันสำคัญอันดับที่ 34 ของชาวฮินดู วันนี้ชาวฮินดูจะบูชาพระศิวะตลอด 24 ชั่วโมง ผู้นับถือเคร่งครัดอดอาหารและอดนอนตลอด 24 ชั่วโมง วันนี้เป็นวันปรากฏของพระศิวะ และวันแต่งงานของพระศิวะ เชื่อกันว่าบูชาพระศิวะแล้ว จะได้คู่ชีวิตที่ดีและมีความสุขความเจริญ วันนี้ ประชาชนโดยทั่วไป ตลอดทั้งนักพรต นักบวชในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทั่วทุกสารทิศก็จะหลั่งไหลไปทำพิธีลอยบาปกันที่แม่น้ำคงคา ตรงจุฬาตรีคูณ เมืองอันลาฮาบาดทุก ๆ ปีจึงนับได้ว่าพิธีลอยบาปนี้เป็นพิธีที่สำคัญและยิ่งใหญ่อีกพิธีหนึ่งที่ ประชาชนให้ความสนใจและไปร่วมประกอบพิธีนี้ เพราะในแต่ละปีนั้นจะมีประชาชนไปร่วมงานนับล้านคน
ที่อินเดีย ถานที่ประกอบพิธีลอยบาปนี้จะกำหนดไว้ที่จุดคงคาจุฬาตรีคูณ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำคงคา ยมุนาและสรัสวตี ณ จุดที่บรรจบกันของแม่น้ำทั้ง 3 สาายนี้เองที่เรียกว่า "จุฬาตรีคูณ" ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของเมืองอัลลาฮาบาด ประเทศอินเดีย
แต่ที่เนปาลนี้ เค้าถือว่า แม่น้ำ Bagmati เป็นต้นน้ำของแม่น้ำคงคา ซึ่งเค้าถือว่ามีความศักสิทธิ์เท่าเทียมกัน จึงจัดทำพิธีที่ริมแม่น้ำแห่งนี้ และเลือกปศุปตินาถ เพราะเป็นสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระศิวะ
ตอนเริ่มตั้งพิธี คนยังไม่มาก จึงมีโอกาสเดินเลือกชัยภูมิที่จะบันทึกภาพ คิดไว้ในใจว่าอยากได้ภาพมุมกว้างให้เห็นทั้งพิธี ตอนแรกกะขึ้นไปด้านบนที่คนดูนั่ง ถ่ายย้อนลงมาแต่เห็นแสงสปอร์ตไลท์แยงตา จึงย้ายมาด้านข้างแทนเลือกใกล้กับคนเตรียมพิธี เผื่อได้ภาพกิจกรรมต่างๆด้วย
แต่.. ไม่รู้คิดผิด หรือ คิดถูก เพราะใกล้ๆกันก็มีโยคีตนหนึ่งนั่งอยู่ด้วย พอเริ่มพิธีไปได้หน่อยเดียวโยคีก็เริ่มออกอาการเต้นไ ปเต้นมา ตัดหน้ากล้องในระยะเผาขน จะถ่ายภาพโยคีไว้ก็ระยะประชิดเหลือเกิน แสงน้อยด้วย เก็บยังไงภาพก็ไหวใช้ไม่ได้ จะไม่เอาโยคีก็เกะกะหน้ากล้องเหลือเกิน
ทนได้สักพัก เก็บเล็กเก็บน้อยในบริเวณนั้นพอแล้ว ก็เผ่นย้ายมุมลงมาตรงเชิงบันได เพราะดูแล้วโยคีท่านกำลังเต้นเมามันส์กับเสียงสวดเหลือเกิน
ภาพช่วงค่ำนี้ ใช้เลนส์ 14-150มม. เก็บได้ทั้งมุมกว้างและเทเล และใช้ขาตั้งกล้องด้วยภาพจึงคมชัดสวยใสอย่างนี้
วันนี้สำหรับวันแรกของทริป ก็ต้องยุติด้วยเช่นกัน
จบตอน ปศุปตินาถ แต่เพียงแค่นี้ เราจะไปต่อที่ โพธนาถ เป็นตอนที่2
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[บันทึกการเดินทาง ] เจาะอารยธรรมโบราณที่เนปาล ตอน2 (สถูปโพธนาถ Boudhanath )
เจาะอารยธรรมโบราณที่เนปาล ตอน2 (สถูปโพธนาถ Boudhanath )
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เจาะอารยธรรมโบราณที่เนปาล 12-22 ตค. 1998
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย