13 ก.ค. 2021 เวลา 12:45 • ท่องเที่ยว
➡️ 333 ปี พระนารายณ์ฯ ⬅️🔸26 ปี กับรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 27 ของกรุงศรีอยุธยาฯ หนนั้นยิ่งใหญ่ บ้านเมืองผู้คนรุ่งเรือง สว่างไสวด้วยวรรณกรรม งานวรรณคดี สถาปัตยกรรม และล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยี รวมถึงความสัมพันธ์​ มากมายกับต่างชาติ
▪️Rue de Brest เขตบางรัก ติดสถานทูตฝรั่งเศส "แบรสต์" คือเมืองท่าแห่งแรก ที่คณะทูตโกษาปาน ขึ้นแผ่นดินฝรั่งเศส▪️
▪️พระบรมราชานุสาวรีย์พระนารายณ์มหาราช​ @ อุทยานราชภักดิ์​ & King Louis XIV​ @ Versaille​▪️
🔸ทั้งจีน​ เปอร์เซีย ปอร์ตุเกศ ฮอลันดาอังกฤษ รวมถึงวาติกัน และที่โดดเด่นสุดจนเป็นที่จดจำคือ ความสัมพันธ์​​ จากแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ถึงแผ่นดินฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
▪️ลอมพอก : เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)▪️
🔸แต่ใช่ว่า 2 ทศวรรษที่ครองราชย์​ ทุกอย่างจะราบรื่น เพราะการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ผ่านเจ้าฟ้าชัย ถึงพระศรีสุธรรมราชา จนมาถึงพระนารายณ์ฯ ล้วนขรุขระ ช่วงแรกของรัชสมัย คือภาระของสงคราม โดยเฉพาะกับเชียงใหม่ ชื่ออย่าง “เดื่อ” หรือพระเจ้าเสือ ในเวลาต่อมา ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากตรงนี้
▪️พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์▪️
▪️The Reception Hall ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง ตั้งอยู่ในเขตพระราชอุทยานภายในพระราชวัง รอบอาคารตบแต่งด้วยน้ำพุถึง 20 จุด เคยใช้เลี้ยงรับรอง คณะทูตจากเปอร์เซีย ในปี พ.ศ. 2228 (บันทึกการเดินทางของคณะทูตชุดนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ ณ The British Library) และคณะทูต Chevalier de Chaumont ของ ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2230▪️
🔸ชื่อสถานที่อย่าง ตึกพระเจ้าเหา อาคาร 12 ท้องพระคลัง หรือพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และชื่อบุคคลอย่าง พระยาวิไชเยนต์, ออกญาโกษาปาน, นางมารีเดอกีมา, เชอวาลิเยร์ เดอ โชมอง หรือนายพลเดส์ฟาร์จ และพระเพทราชา กับนักมวยฝีมือดีจากพระนคร​🔸รวมถึงพระปีย์ ไกลไปถึงแวซายน์ และอิสฟาฮานในเปอร์เซีย แบบเรียนภาษาไทย​ “จินดามณี” ล้วนเกิดขึ้น​ ในรัชสมัยนี้ จึงทำให้เรื่องราวของสมเด็จพระนารายณ์ฯ น่าสนใจ
▪️ตู้พระธรรมเก่าแก่ ลงรักปิดทองไว้อย่างสวยงาม โดยนำพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกคริสเตียนทางซ้าย กับ ”ออรังเชฟ" จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอินเดียโมกุลมุสลิมอิสลามทางขวา มาบรรจบพบกัน บนตู้พระธรรมของศาสนาพุทธ บ้านเรา ตู้หลังนี้ระบุว่า สร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช @ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนคร▪️
🔸รวบรวมรูปถ่ายเก่าเก็บ หลากหลายมุม ที่เกี่ยวพันกับมหาราชพระองค์นี้​ ​มาลงไว้​ เขียนแบบไม่เป็นเรื่องเป็นราว​ แต่ก็เป็นเรื่องเป็นราวแบบหนึ่ง เพื่อรำลึกไว้​ 11 กค. 2564 ... 333 ปี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
▪️ ซุ้มประตูทั้ง 11 ประตู กับช่องวางคบไฟ ทรงแหลมโค้ง อันเป็นเอกลักษณ์ของพระราชวังนารายราชนิเวศน์ กับ (ล่าง) รูปทรงแหลมโค้ง ตามสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย อิสฟาฮาน ความไม่บังเอิญทางสถาปัตยกรรม ▪️
▪️อิหร่าน เปอร์เซีย▪️
▪️สะพานป่าดินสอ & ช่องวางคบไฟ วัดพระยาแมน - สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย▪️
▪️ศาลหลักเมือง 4 มหาราช บริเวณสะพานกิตติขจร ริมแม่น้ำปิง จ.ตาก สร้างขึ้นแทนศาลหลักเมืองโบราณเดิมที่ผุพัง และเพื่อรำลึกถึง “มหาราช” ทั้ง 4 พระองค์ ที่เคยเสด็จฯ มายังหัวเมืองตาก ทั้งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช – สมเด็จพระนเรศวรมหาราช – สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช▪️
▪️พ.ศ. 2204 สมเด็จพระนารายณ์ฯ ยกทัพ ขึ้นปราบปรามหัวเมืองเหนือ โดยพักประชุมพล ทั้งไปและกลับ ที่ระแหงเมืองตาก และหลังชนะศึกเชียงใหม่หนนั้น ขากลับ พระองค์ได้สร้างวัดพระนารายณ์ นี้ไว้ ที่ริมแม่น้ำปิง▪️
▪️1 ในเอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งในโลก และเป็นจดหมาย ที่น่าจะเป็นเอกสารที่เก่าแก่ที่สุด ที่เกี่ยวกับไทยเรา จากปี พ.ศ. 2231 (330ปี) เขียนเล่าถึงเหตุการณ์สำคัญ ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ในกรุงศรีอยุธยาฯ ▪️เอกสารฉบับนี้ ถูกส่งจากอยุธยาฯ ไปยังมะละกา โดย Mr. William Soame ผู้แทนการค้า ที่อาศัยอยู่ในอยุธยาฯ ช่วงนั้น .. ข้อความเล่าถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการปฏิวัติ ล้มล้างราชบัลลังค์ ตลอดจนการปราบปราม ชาวต่างชาติอย่างรุนแรง โดยคณะผู้ก่อการ เปลี่ยนแปลงอำนาจ บริหารบ้านเมืองขณะนั้น ▪️เนื้อความได้เล่าถึง ความทารุณ ต่อการลงโทษศัตรูของแผ่นดิน ไว้อย่างน่ากลัว นับเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ชาวยุโรป ได้รับรู้ถึงความรุนแรง และน่ากลัวในสถานการณ์ช่วงนั้น ▪️นักประวัติศาสตร์บางท่าน เชื่อว่า เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวในเอกสารนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ฝรั่งเศส ปฏิบัติต่อไทยในเวลาต่อมา สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ กับวิกฤติปากน้ำ ร.ศ. 112 ด้วยความรุนแรง ▪️ทั้งการส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ แทนการใช้เรือสินค้า ที่ฝรั่งเศสกระทำกับชาติอื่น ไปจนถึงการเสียดินแดนของสยาม จนทำให้สยามและฝรั่งเศส กลายเป็นคู่ขัดแย้งรุนแรง มีการรบพิพาทกันอีกหลายครั้ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ภาพถ่ายไว้ ขณะเอกสารนี้ ถูกนำมาจัดแสดง ในThailand 2018 World Stamp Exhibition ปัจจุบันเอกสาร ถูกเจ้าของ​ นำกลับไปเนเธอร์แลนด์​แล้ว)
▪️เพราะตั้งอยู่บนที่ดอนของลพบุรี ทำให้เมืองและผู้คน เกิดสภาวะขาดแคลน ทั้งน้ำกินน้ำใช้ประมาณ 4-5 เดือนในแต่ละปี และยิ่งมีการสร้างพระราชวังขึ้นอีก สภาพขาดแคลนน้ำ จึงมีมากขึ้นติดตามมา ▪️จึงมีการคิดระบบการจัดการน้ำ ทั้งการกักเก็บ การส่ง การจ่ายน้ำไปตามท่อ โดยใช้อ่างทะเลชุบศร ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำ ที่มีมาแต่โบราณ เป็นแหล่งเก็บน้ำสำคัญ ▪️มีการสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อบังคับให้นำไหลและหยุด ไปตามท่อพัก ก่อนจะระบายน้ำ เข้าสู่ท่อน้ำดินเผา ที่วางระบบฝังไว้ใต้ดิน โดยวิศวกรเปอร์เซีย – โมกุล โดยใช้เวลานานถึง 10 ปี ที่ระบบนี้ จะครอบคลุมไปทั่วพระราชวัง อารามหลวง และตามบ้านขุนนางคนสำคัญ ▪️เมื่อความเจริญของลพบุรี ขยายใหญ่โตขึ้น รวมถึงการเข้ามาของชาวต่างชาติ ระบบโครงการส่งน้ำที่นี่ ก็ขยายใหญ่โตขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วงปลายรัชสมัย มีการชักน้ำ ระยะทางถึง 12 กิโลเมตร จากห้วยซับเหล็ก ผ่านหอระบายแรงกดอากาศ นำน้ำส่งตรงเข้าสู่พระราชวัง โดยมีบาทหลวงฝรั่ง และวิศวกรอิตาลี เป็นผู้ดูแลโครงการ▪️
▪️ท่อดินเผาเปอร์เซีย ถ่ายจาก พิพิธภัณฑ์ พระราชวัง Persepolis @ Shiraz Iran
▪️ระบบประปา วัดพระยาแมน ในพระนครศรีอยุธยาฯ ที่สมเด็จพระเพทราชาฯ ทรงผนวช และบูรณะฯ พระอารามขึ้นใหม่▪️
▪️"Wichayen House" อดีตบ้าน 2 ชั้น หลังสวยของ "Constantine Falcon" ที่เคยเรืองรอง และเปี่ยมอำนาจในสมัยพระนารายณ์ นอกจากน้ำพุ โรงครัวขนาดใหญ่ และสวนสวยที่โดดเด่นแล้ว ภายในยังมีโบสถ์ขนาดย่อม ไว้ใช้ประกอบพิธีกรรมศาสนา ซึ่งเชื่อว่าเคยใช้ประชุม ทั้งกับพ่อค้าและนักการทหารต่างชาติ บ่อยครั้ง▪️
▪️ศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ ที่รำลือว่าผีดุนักหลังนี้ คือ อดีตพระตำหนักของเจ้าพระขวัญ พระราชโอรสของสมเด็จพระเพทราชา ที่ถูกพระเจ้าเสือสรรเพชรที่ 8 สำเร็จโทษ และให้รื้อพระตำหนัก ไม้สักทองใหญ่หลังนี้ ลงเรือจากกรุงศรีฯ มาปลูกถวายวัดไว้ที่นี่ จนกลายเป็น ตำหนักไม้สักขนาดใหญ่ หลังเดียวจากยุคอยุธยาฯ ที่ข้ามห้วงเวลาหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน @ วัดสุวรรณดาราราม จ. เพชรบุรี▪️
▪️พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช @ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ สถานที่กำเนิดขึ้น ของเรื่องราวอันมากมาย ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์▪️
☀️ปราบปฎล สุวรรณบาง กับอีกบทสร้างชื่อ "สมเด็จพระนารายณ์ฯ" จากละคร "บุพเพสันนิวาส"
▪️
☀️ รูปปั้นออกญาโกษาปาน @ "Rue de Siam" ถนนสยาม​ เมืองแบรสต์ ฝรั่งเศส ภาพ : สถานทูตไทย กรุงปารีส
✔️ ภาพถ่ายต่างกรรมต่างวาระ
📸 All Photos by Tui Kajondej​
ยกเว้น ☀️ ที่ระบุไว้
⭕ ลอมพอก
⭕ Louis XIV​ &​ พระแสงขรรค์ชัยศรี
⭕ กูวติล- อิสฟาฮานและพระเจ้า
🌸 เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียน ไว้สะสมเรื่องเขียน ในมุมสนุกตรงนี้ 🌸

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา