18 ก.ค. 2021 เวลา 06:25 • ปรัชญา
"เปลี่ยนอิริยาบถ หรือ อดทน ดีกว่า ... ?"
"... อัธยาศัยแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บางคนต้องผ่านความอดทนมาก
โดยเฉพาะถ้าเป็นสมัยโบราณ
โบราณคนจะมีเรื่องศรัทธาเยอะ สังเกต
ถ้าฝึกครูบาอาจารย์สายวัดป่า
จะเน้นความอดทนมากเลย
ใหม่ ๆ ให้นั่งสมาธิ 2 - 3 ชั่งโมงขึ้นเลย
นั่งให้ผ่านเวทนา
ซึ่งถ้าเป็นคนที่มีศรัทธามาก
เชื่อฟังครูบาอาจารย์มาก
มีความอดทนมาก ถูกหล่อหลอมมาแบบนี้
แล้วเวลาผ่านได้ จิตจะมีความเข้มแข็งมั่นคงมาก
แต่ในทางกลับกัน
บางคนเขาไม่ได้มีอัธยาศัยแบบนั้น
โดยเฉพาะคนที่เจ้าปัญญา ชอบคิดเยอะ
ก็จะตั้งคำถามกับตัวเอง เรามานั่งทนปวดทำไม ?
สุดท้ายเราจะกลายเป็นคนเลิกการปฏิบัติ
แล้วมันจะฝังใจว่าสิ่งนี้มันทำให้เราเจ็บ
เพราะฉะนั้น จะมีคนที่เจ้าปัญญา
คือชอบคิด กับคนที่แบบศรัทธามากเลย
คือ ครูบาอาจารย์ให้ทำอะไรยอมถวายชีวิตเลย
ตายเป็นตายไม่คิดอะไรมาก
มันต้องอยู่ที่อัธยาศัย แต่ละคนไม่เหมือนกัน
โดยเฉพาะคนยุคนี้เป็นปัญญาชน
ให้ไปทำแบบนั้นปุ๊บ
ตั้งคำถามแล้ว แล้วจะเกิดการต่อต้าน
คือเกิดกำแพงในตัวเอง
ตัวเราจะรู้ดีที่สุด
ถ้าจะให้แนะนำกลาง ๆ ก็ให้ทำแบบสบาย ๆ
เราเน้นความเพียรที่ใจ
มันปวดเราก็ขยับ
นั่งไม่ไหวเราก็อาจะไปเดินเคลื่อนไหว
แต่ทำเป็นปกติ ทำจนมันเป็นปกติ
เป็นวิถีชีวิตของเรา
เมื่อกำลังเราถึงเนี่ย
พอจิตตั้งมั่นเข้าสมาธิ
การปฏิบัตินั่งนานเดินนาน
จะเกิดเองโดยอัตโนมัติเลย
โดยเฉพาะเมื่อสภาวะเกิด
ตั้งแต่ปีติเกิดเป็นต้นไป
เราจะมีกำลังใจฝึก
แต่ถ้าสภาวะยังไม่เกิดนะ เราทู่ซี้นะ
สุดท้ายแล้วก็จะเบื่อการปฏิบัติ
แล้วเราจะเลิกนะ
ตรงนี้แต่ละคนไม่เหมือนกัน
ถ้าศรัทธามาแรง มีขันตินี่จะได้เลย
แต่ถ้าพวกปัญญาชน ก็ค่อย ๆ ทำ
ตะล่อม ๆ ไปได้เหมือนกันนะ
เพราะฉะนั้น อัธยาศัยแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เน้นทำแบบความพอดี
แต่ทำให้ต่อเนื่อง ทำสม่ำเสมอ
นั่งไม่ไหว ก็อาจจะเปลี่ยนอิริยาบถ
ไปเดินก็ได้ เดินจงกลมปฏิบัติไป
ถึงจุดหนึ่ง ถ้าเราทำบ่อย ๆ กำลังเราดี
จิตสงบ จิตตั้งมั่น เราจะนั่งปฏิบัติไปได้เรื่อย ๆ
แล้วต่อไปเราจะชอบปฏิบัติเอง
เรียกว่า สตาร์ทให้ติดก่อน สตาร์ทให้ติด
แต่ช่วงแรกเนี่ยค่อย ๆ ตะล่อมก่อน
ถ้าเราไปขู่เข็ญมาก ๆ
บางทีมันเตลิดแล้วก็ไม่เอาเลย
บางคนตั้งกำแพงเลย
ก็จะไม่เอาในการปฏิบัติ
โดยเฉพาะเด็กในยุคหลังเนี่ย
หลายคนนี่เสียดาย
ก็คือ เข้าไปสู่สำนักปฏิบัติ
แล้วโดนจับเข้ม ห้ามพูด ให้นั่ง ให้เดิน
ให้นั่ง ให้เดิน สุดท้ายเด็กฝังใจ
ก็กลายเป็นเด็กที่ห่างศาสนา
เพราะว่าไปแล้วมันทรมาน
เพราะฉะนั้น จริง ๆ แล้วการปฏิบัติ
ไม่ได้หมายความว่า
มันต้องไปทรมานเสมอไป
เน้นความเข้าใจที่ถูกต้อง
แล้วค่อย ๆ ฝึก
นำเข้าสภาวะ พอจิตสงบ
บางคนเกิดสภาวะ
เกิดเร็ว ๆ นี่จะไปไวมากเลย
แต่ถ้าสภาวะยังไม่เกิด
ใจยังไม่นิ่ง ก็ค่อย ๆ ตะล่อมฝึกไป
แต่ให้ทำบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ
อาจจะเริ่มจากนั่งแต่น้อย
แต่เราทำบ่อย ๆ สลับทั้งวันก็ได้
ก็อาจจะนั่ง 5 นาที 10 นาที มันเบื่อ
แล้วก็เปลี่ยนไปอย่างอื่น
แต่ทำบ่อย ๆ จนเครื่องมันติด
เครื่องมันติดก็คือ เริ่มสภาวะเกิด
เริ่มเกิดปีติ
ทีนี้เราก็จะมีกำลังใจฝึก
แล้วพอเครื่องติด
ทีนี้ บางทีเราอาจจะติดยาวเลยก็ได้
ต้องรู้จักลูกล่อลูกชน
สังเกตใจตัวเอง แล้วก็เอาที่เรารู้สึกว่า
เออ เราฝึกแล้วเราอยู่ได้
ฝึกได้เรื่อย ๆ นั่นเอง
สิ่งสำคัญ คือ ทำสม่ำเสมอ
ถึงเราจะทำน้อย แต่เราทำบ่อย ๆ
ถึงจุดหนึ่ง พอมันสตาร์ทติด
เดี๋ยวมันไปได้
เวลาสอนก็จะเน้นแบบ
ค่อย ๆ ฝึกไป สบาย ๆ ไม่ได้อะไรมาก
แต่ทำบ่อย ๆ ทำต่อเนื่อง
ทำจนเป็นอุปนิสัยของเรา
เมื่อถึงจุดหนึ่งเกิดสภาวะ
เราจะขยันด้วยตัวของเราเอง ... "
.
ธรรมบรรยายโดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา