20 ก.ค. 2021 เวลา 00:30 • สุขภาพ
“สายพันธุ์เดลต้า” กดทับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
"สายพันธุ์เดลต้า" กดทับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
📌 จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาพุ่งสูงขึ้นอย่างมากทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของไวรัส "สายพันธุ์เดลต้า"
โดยในขณะนี้กำลังระบาดหนักมากที่สุดในทวีปเอเชีย เนื่องจากแผนการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในแถบเอเชียยังมีความล่าช้า
ทั้งนี้ในทวีปยุโรปก็ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่มีจำนวนที่น้อยกว่าหากเทียบกับทวีปเอเชีย
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใหม่รายวัน
📌 ในขณะนี้ประเทศมาเลเซียกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิดกลายพันธุ์ "สายพันธุ์เดลต้า" ระบาดอย่างหนัก
โดยมีผู้ติดเชื้อรายวันมากกว่า 11,000 รายและ
มีสัดส่วนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าคิดเป็นร้อยละ 55.56 ของผู้ติดเชื้อใหม่
ในช่วงระยะเวลา 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายนแล้วก็ตาม
สัดส่วนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (Delta)
ทางด้านประเทศอินโดนีเซีย
มีประชากรที่รับการฉีดวัคซีนเพียงร้อย 13.31
ก็มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 54,000 รายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แซงหน้าจำนวนผู้ป่วยรายวันของประเทศอินเดียไปเป็นที่เรียบร้อย
และขณะในตอนนี้ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโรคโควิดในทวีปเอเชียเลยก็ว่าได้
📌 ด้านสหราชอาณาจักรก็กำลังได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของโควิด "สายพันธุ์เดลต้า" เช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยรายใหม่กว่า 48,000 รายต่อวัน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนพฤษภาคมประมาณ 20 เท่า
แต่อย่างไรก็ตามจากข้อมูลล่าสุดพบว่าจำนวนผู้ป่วยหนักที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยและแทบจะไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเลย
ทั้งนี้คาดว่าเป็นผลมาจากแผนการกระจายวัคฉีดที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงยืนยันที่จะผ่อนคลายมาตรการจำกัด COVID-19 ระยะสุดท้ายในวันที่ 19 กรกฎาคม (วันนี้)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทย
📌 จนถึงในขณะนี้ ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโควิดสะสมทั้งสิ้นมากกว่า 370,000 ราย เสียชีวิตทั้งหมด 2,938 ราย
โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการระบาดระลอกล่าสุดที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน ด้วยจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่มีมากกว่า 9,000 รายต่อวันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้ตัดสินใจประกาศล็อกดาวน์ 14 วันในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคมเป็นต้นมา
📌 มาตรการต่างๆ เช่น การลดหรือจำกัดการเดินทาง การจำกัดเวลาเปิด-ปิดของร้านค้าและกิจการต่างๆ และการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน กฎข้อบังคับเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจภาคบริการ
อาทิเช่น ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และสถานบันเทิง เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักมาตลอดระยะเวลามากกว่า 1 ปี ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด
📌 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาล่าสุด มูลค่า 42,000 ล้านบาท
ประกอบไปด้วย การให้เงินเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพต่างๆ เป็นระยะเวลา 1 เดือน วงเงิน 30,000 ล้านบาท และลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 2 เดือน วงเงิน 12,000 ล้านบาท
📌 ในแง่ของตัวเลขการฉีดวัคซีน ประเทศไทยได้แจกจ่ายวัคซีนไปแล้วทั้งสิ้นราว 13,500,000 โดส โดยคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.75 ของประชากรไทยทั้งหมด ตัวเลขนี้ค่อนข้างน้อยหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
สัดส่วนของผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม
อย่างเช่น สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 67.73) และ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 55.18) นอกจากนี้วัคซีนซิโนแวคที่ได้มีการแจกจ่ายอย่างแพร่หลายในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป ก็ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์เดลต้าได้อยู่ในระดับที่ต่ำ
ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงได้มีการประกาศแผนการวัคซีนสลับยี่ห้อ โดยเข็มที่ 1 เป็น ซิโนแวค ตามด้วยวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มที่ 2 โดยหวังว่าจะช่วยป้องการการแพร่กระจายของ "ไวรัสกลายพันธุ์เดลต้า" ได้
แต่อย่างไรก็ดีองค์การอนามัยโลกก็ได้ออกมากล่าวเตือนว่า "การฉีดวัคซีนผสมสูตร" นั้น อาจมีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากในตอนนี้ยังมีข้อมูลจากการวิจัยว่าด้วยการฉีดวัคซีนผสมสูตรอยู่น้อยมาก
ดังนั้นจึงไม่อาจทราบได้ว่าจะมีผลข้างเคียงอย่างไรต่อร่างกาย ดังนั้นพวกเขาจึงขอให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนจะดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน
📌 มองไปในอนาคตอันใกล้นี้ "ไวรัสสายพันธุ์เดลต้า" คาดว่าจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยในอีกไม่ช้านี้ (ในตอนนี้คิดเป็นร้อยละ 48.15 ของผู้ติดเชื้อใหม่ในช่วงระยะเวลา 4 สัปดาห์) ซึ่งจะสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อระบบสาธารณสุขไทยที่ในขณะนี้ก็กำลังเผชิญกับปัญหาหนักอยู่แล้ว
ประกอบกับนโยบายการแจกจ่ายวัคซีนที่ไม่มีความชัดเจน เราคาดการณ์ว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีก โดยจะอยู่ในระดับ 33 – 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ผู้เขียน : ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
#Bnomics #เศรษฐศาสตร์ #ฉีดวัคซีน #สายพันธุ์เดลต้า #ล็อกดาวน์ #ผู้ติดเชื้อ #สาธารณสุข
Reference :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา