21 ก.ค. 2021 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราวของ "อายิโนะโมะโต๊ะ" ผงชูรส ที่มักถูกเข้าใจผิดบ่อย ๆ
เชื่อว่า หากเราพูดถึงชื่อแบรนด์ “อายิโนะโมะโต๊ะ”
มั่นใจเลยว่า ไม่มีใครในที่นี้ ไม่รู้จักแบรนด์ผงชูรสตราถ้วยแดงยี่ห้อนี้
“อายิโนะโมะโต๊ะ” คือ แบรนด์ผงชูรสอันดับ 1 ของประเทศไทย
ที่ประกอบด้วย ผงชูรสแท้ ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99.0% ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
อายิโนะโมะโต๊ะ มีความหมายในภาษาอังกฤษคือ “Essence of Taste” หรือแปลเป็นไทยว่า “แก่นแท้ของรสชาติ”
เกริ่นมาขนาดนี้ ไม่ต้องเดากันเลย
เพราะว่า วันนี้พวกเรา InfoStory ได้มีโอกาสรับความรู้ดีดีจาก บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ เกี่ยวกับเรื่องราวของผงชูรส และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับมุมมองของเราต่อผงชูรส
ยกตัวอย่างเช่น
- อายิโนะโมะโต๊ะทำจากกระดูกสัตว์ ?!
- อายิโนะโมะโต๊ะ เป็นอันตราย คนญี่ปุ่นเขาไม่บริโภคกันหรอก จริงหรือ ?
- แล้วไหนละ วิธีการผลิตผงชูรส ที่ว่าไม่อันตราย ?
อะ โอเค ถ้าหยั่งงั้นพวกเราขอพาเพื่อน ๆ ไปรับชมและมาทำความรู้จัก "อายิโนะโมะโต๊ะ" ให้ดีขึ้นกันเลย
อายิโนะโมะโต๊ะ คือ ผงชูรสแท้ ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า 99%
ผงชูรสแท้ มีสารสําคัญคือ "Monosodium Glutamate" หรือที่ย่อกันว่า MSG
ซึ่งเป็นกลูตาเมตของกรดกลูตามิก (Glutamic acid) ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวไม่มีกลิ่น รูปร่างลักษณะคล้าย เกลือ กับ น้ำตาล มีคุณสมบัติสำคัญในการผสานรสชาติให้อร่อยกลมกล่อม
แต่ต้องบอกก่อนว่า อายิโนะโมะโต๊ะ ถึงแม้จะมีลักษณะคล้ายเกลือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีความใกล้เคียงเลยละนะ
นั่นก็เพราะว่า ขั้นตอนการผลิต กว่าจะออกมาเป็นผงชูรสแท้ ที่ไร้กลิ่นไร้สี มันไม่ได้ง่ายเลยละ
เราพอจะสรุปง่าย ๆ ออกมาดังนี้ (เพื่อน ๆ สามารถดูภาพใน Infographic ประกอบได้นะ)
โดยเพจ InfoStory
1. เริ่มต้นจากการคัดเลือก เฟ้นหา วัตถุดิบธรรมชาติ อย่าง อ้อย มันสำปะหลัง
2. จากนั้นนำมาละลายจนได้น้ำแป้งที่ผสมเข้ากันดี
แล้วนำไปย่อยสลายและแยกตะกอน ที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส
จึงจะได้สารละลายน้ำตาลกลูโคสที่เปลี่ยนแป้ง ทำให้เกิดเป็นน้ำตาล
 
3. จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการหมักน้ำตาลด้วยจุลินทรีย์ และส่งเข้าสู่กระบวนการทางเคมี จนตกผลึกเป็นกรดกลูตามิก
4 จากนั้นทำให้สารมีความเป็นกลาง โดยกระบวนการแยกตัวออกจากน้ำ และจะผ่านกระบวนการทางเคมีโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ เพื่อให้ได้ "สารละลายผงชูรส"
5. นำสารละลายผงชูรส มาดูดซับกลิ่นสี และ เข้าสู่กระบวนการทำให้กลายเป็นสารสารละลายผงชูรสที่บริสุทธิ์
6. หลังจากนั้น สารละลายผงชูรสบริสุทธิ์ จะเข้าสู่กระบวนการตกผลึก และกระบวนการแยกออกจากสารละลาย จากนั้นจึงทำให้ให้แห้ง และกรองแยกขนาด
7. ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการบรรจุในขั้นสุดท้ายจะได้ผลึกผงชูรสที่บริสุทธิ์ และ นำไปอบแห้งและร่อนคัดขนาด เตรียมใส่บรรจุภัณฑ์ "อายิโนะโมะโต๊ะ" นั่นเองจ้า
อันนี้แบบละเอียดเพิ่มเติม
หลังจากที่เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการผลิตอายิโนะโมะโต๊ะ กันไปแล้ว
เราก็จะมาพูดถึงเรื่องราวที่ อายิโนะโมะโต๊ะ มักถูกเข้าใจผิดกันอยู่ตลอดเวลา
มีอะไรบ้าง ?
โดยเพจ InfoStory
1. อายิโนะโมะโต๊ะ ทำจากกระดูกสัตว์จริงไหม ?
ไม่จริง การผลิตผงชูรสในประเทศไทยใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย
อีกทั้ง เราสามารถอ้างอิงไปจนถึงขั้นตอนการผลิตอายิโนะโมะโต๊ะ จะเห็นได้ว่าไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์เลย
พวกเราเข้าใจว่า ความเชื่อที่เข้าใจผิดตรงนี้ น่าจะมาจากแหล่งที่มาของสารกลูตาเมต
ซึ่งสามารถหาพบได้ในเนื้อสัตว์และเนื้อปลา
แต่ที่อายิโนะโมะโต๊ะ ไม่มีการนำส่วนใดจากเนื้อหรือกระดูกสัตว์แน่นอนจ้า
2. ถึงแม้อายิโนะโมะโต๊ะ มาจากญี่ปุ่น แต่คนญี่ปุ่นไม่มีใครทานผงชูรสนะ ?
อันนี้น่าคิดนะ เพราะเรื่องนี้เราก็ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง
จากประสบการณ์ของเราที่ทานมา ก็ไม่ค่อยพบเท่าไร (หรือไม่รู้ตัวไม่แน่ใจ)
เพราะส่วนใหญ่เราจะเห็นว่าพ่อครัวชาวญี่ปุ่นจะมีสูตรลับประจำตัว ก็คือมีฝีมือดี อาจไม่ต้องพึ่งพาผงชูรส
แต่ถ้ากลับมามองจากคำถามที่ว่า “แต่คนญี่ปุ่นไม่มีใครทานผงชูรสนะ ?”
เราจะบอกว่า เรื่องนี้ไม่จริงจ้า
เพราะจากที่ค้นหามา ร้านอาหารหลาย ๆ ร้านในประเทศญี่ปุ่น ก็มีการนำผงชูรสอย่าง อายิโนะโมะโต๊ะ มาใช้กันเป็นปกติ
และผงชูรสยังมีการผลิต จำหน่าย และบริโภคอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น (แต่มีข้อกฎหมายในการจัดจำหน่ายในปริมาณจำกัด)
เพราะว่าเรื่องของกลูตาเมต รสชาติอูมามิ กับ คนญี่ปุ่น ก็เป็นของคู่กัน อีกด้วยนะ
3. แต่อย่างไรก็ดี อายิโนะโมะโต๊ะ มันก็คือผงชูรส เท่ากับมันเป็นอันตราย !
เชื่อว่าความเข้าใจผิดในลักษณะนี้ น่าจะไม่ค่อยได้เห็นกันสักเท่าไรแล้ว
ซึ่งตรงนี้ พวกเราก็ขอบอกว่า ไม่เป็นความจริงจ้า
ในที่นี้ พวกเราหมายความว่า หากเรารู้จักการทานในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะไม่เป็นอันตรายอย่างแน่นอน
เพราะองค์การอาหารและยาของประเทศไทย (อย.) องค์การอนามัยโลก และ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ต่างให้การรับรองว่า “ผงชูรสปลอดภัยสำหรับการบริโภค”
โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ยังได้แนะนำปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมวันละ 6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม
ต่อมา เพื่อน ๆ ทราบกันไหมว่า ผงชูรส ก็มีประโยชน์เหมือนกันนะ
(หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม)
1. ช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้แก่ผู้สูงอายุ
2. ตัวช่วยที่ดีสำหรับการลดปริมาณโซเดียมในอาหาร
3. ช่วยให้กระเพาะอาหาร และต่อมน้ำลายทำงานดีขึ้น
แต่สำหรับ อายิโนะโมะโต๊ะ เขาก็มีจุดที่พิเศษไปกว่านั้น
เพราะสามารถนำไปประกอบอาหารฮาลาลได้ เพราะมีการรับรองจาก สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
รวมไปถึงผู้ที่รับประทานอาหารเจ และ มังสวิรัติ สามารถรับประทานอายิโนะโมะโต๊ะได้ เพราะทำมาจากวัตถุดิบจากพืช
ทั้งนี้ทั้งนั้น พวกเราต้องขอย้ำเพื่อน ๆ ว่า ควรเลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมนะ
พูดเรื่องราวของ อายิโนะโมะโต๊ะ มาตั้งนาน
หากจะไม่กล่าวถึงความเป็นมาของบริษัท ก็คงจะไม่สมบูรณ์แบบ
งั้นมาดูกันสักหน่อยดีกว่า !
โดยเพจ InfoStory
บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ กำเนิดในปี พ.ศ. 2452
ซึ่งเป็นเวลาเพียงแค่ 1 ปีหลังจาก ผู้ค้นพบสูตรผงชูรสคนแรกของโลก นั่นคือ
ศ.ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว
ที่บังเอิญได้สัมผัสกับรสชาติของ น้ำซุปที่ได้จากการต้มสาหร่ายทะเลคอมบุ
ดร.คิคุนาเอะ จึงเรียกรสชาตินี้เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “อูมามิ”
โดยมาจากรากศัพท์ 2 คำ คือ อุไม (UMAI) ที่แปลว่า อร่อย และคำว่า มิ (MI) ที่แปลว่า แก่นแท้
ซึ่งต่อมาได้ถูกรับการยอมรับจากนักวิชาการทั่วโลกเป็นรสชาติพื้นฐานลำดับที่ 5
นักธุรกิจนามว่า "ซาบุโรสุเกะ ซูซูกิ" ต้องการพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเครื่องปรุงรสแบบใหม่นี้ จึงได้ไปขอสิทธิบัตรในการผลิตกับ ศ.ดร.คิคุนาเอะ
จนในที่สุดบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น นั่นเอง
โดยชื่อของ อายิโนะโมะโต๊ะ (Ajinomoto) มีความหมายในภาษาอังกฤษคือ “Essence of Taste” หรือแปลเป็นไทยว่า “แก่นแท้ของรสชาติ” ซึ่งก็ตรงกับความหมายของรสชาติพื้นฐานลำดับที่ 5 คำว่า “อูมามิ”
และแล้ว อายิโนะโมะโต๊ะ ก็ได้เดินทางขยายสูตรความอร่อยเข้ามาในประเทศไทย
ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภายใต้ชื่อ บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2503
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ปัจจุบัน มีบริษัทในเครือกว่า 135 แห่ง ตั้งอยู่ใน 36 ประเทศทั่วโลกเลยนะ
และ ประเทศไทย ก็เรียกได้ว่าประเทศบุกเบิกตลาดการผลิตผงชูรสแห่งแรก นอกประเทศญี่ปุ่น ของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ อีกด้วยนะ !
ก็เป็นอันจบเรื่องราวของ อายิโนะโมะโต๊ะ หนึ่งในการสร้างความสุขให้สังคมไทยให้ “กินดี อยู่ดี” ด้วยการผสานรสชาติให้อร่อยกลมกล่อม
วันนี้พวกเรา InfoStory ขออนุญาตจบเรื่องราวสาระสบายสมองไว้เพียงเท่านี้ :)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลสำคัญอย่างแบรนด์ "อายิโนะโมะโต๊ะ"
โฆษณา