24 ก.ค. 2021 เวลา 01:00 • กีฬา
10 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Tokyo Olympics 2020
ญี่ปุ่นเปิดพิธี Tokyo Olympics 2020 อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา หลังจากที่ต้องเลื่อนมาจากปี 2020 เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
การจุดพลุขึ้นท้องฟ้าเป็นสัญลักษณ์ว่าโตเกียวโอลิมปิกได้เริ่มขึ้นแล้ว (Credit : https://edition.cnn.com/world/live-news/tokyo-2020-olympics-07-23-21-spt/index.html)
10 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Tokyo Olympics 2020 มีอะไรบ้าง
2
1. ญี่ปุ่นได้รับเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้จัดงานโอลิมปิกที่โตเกียว เมื่อปี 2013 โดยคู่แข่งของโตเกียวคือ เมืองอิสตันบูล และ มาดริด
2. ชื่อว่า Tokyo Olympics 2020 แต่แข่งในปี 2021
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั่วโลก ทำให้ญี่ปุ่นต้องเลื่อนการจัดงานโอลิมปิกในปี 2020 มาปีนี้ โดยยังใช้ชื่องานเป็นปีเดิม คือ 2020
3. ในงานพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก จะไม่มีผู้เข้าชมในสเตเดียม
ในตอนนี้โตเกียวและอีกหลายๆเมืองในญี่ปุ่น ยังคงผชิญกับโรคโควิด 19 ทำให้ต้องใช้หลัก social distancing และทำให้ผู้คนไม่สามารถรวมตัวกันในที่สาธารณะหลายๆคนได้ ดังนั้นในพิธีเปิดงานจึงไม่อนุญาตให้มีผู้เข้าชมเข้ามาด้านใน
การแสดงบินโดรนเป็นลูกโลกในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก (Credit: https://edition.cnn.com/world/live-news/tokyo-2020-olympics-07-23-21-spt/index.html)
4. เหรียญโอลิมปิกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
แม้ว่าประเทศญี่ปุ่น จะไม่ใช่ประเทศแรกที่ทำเหรียญโอลิมปิกจากขยะรีไซเคิล แต่ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการทำเหรียญโอลิมปิก
เนื่องจากทางการญี่ปุ่นขอรับบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประชาชน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือเก่าๆที่ไม่ใช่แล้ว คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป เกมส์ ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2019 เพื่อนำมารีไซเคิลเป็นเหรียญโอลิมปิก กว่า 5,000 เหรียญที่จะมอบให้กับนักกีฬา โดยรวบรวมขยะเหล่านี้ได้เกือบ 80,000 ตันเลยทีเดียว
เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ทั้งหมดตัวเหรียญมีการออกแบบใหม่ นอกจากมีโลโก้ของงานแล้ว ด้านหลังของเหรียญจะมีรูปของเทพีกรีกแห่งชัยชนะหรือเทพีไนกี้ อยู่ด้วย
ทั้งหมดนี้ตรงตามคอนเซ็ปต์งานโอลิมปิกปีนี้ที่ญี่ปุ่นวางไว้ รวมถึงต้องการที่จะแสดงศักยภาพของประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ที่ควบคู่ไปกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอีกด้วย
Credit : https://olympics.com/tokyo-2020/en/news/tokyo-2020-olympic-medal-design-unveiled
Credit : https://olympics.com/en/news/designs-of-tokyo-2020-s-recycled-medals-unveiled
5. ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จัดงานโอลิมปิก
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชียทีได้จัดงานโอลิมปิกฤดูร้อน โดยจัดในปี 1964 ที่เมืองโตเกียว ต่อด้วยโอลิมปิกฤดูหนาวที่ซัปโปโรในปี 1972 และ นากาโนะในปี 1998 โดยโอลิมปิกที่จัดที่โตเกียวในปี 2020 นี้ถือเป็นครั้งที่ 4
ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศเดียวในทวีปเอเชียที่ได้จัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนถึง 2 ครั้ง
นอกจากนี้โตเกียวยังเป็นเมืองเดียวในโลกที่จัดพาราลิมปิกที่เดียวถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อปี 1964 และอีกครั้งคือที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้
พิธีเปิดงานโอลิมปิกที่โตเกียว เมื่อปี 1964 (Credit : https://www.japantimes.co.jp/sports/2021/07/17/olympics/summer-olympics/japan-olympic-history/)
6. แต่จริงๆแล้วโตเกียวจะได้จัดงานโอลิมปิกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3
จริงๆแล้วโตเกียวจะได้จัดโอลิมปิกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรกสุดญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 1940 ทว่าตอนนั้นมีสงครามระหว่างประเทศญี่ปุ่นและจีน ทำให้ต้องเปลี่ยนเป็นเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์แทน
แต่สุดท้ายก็เป็นอันต้องยกเลิกไปเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น
7. กีฬาใหม่ที่จะแข่งใน Tokyo Olympics 2020
ในโอลิมปิกที่โตเกียวครั้งนี้ จะมีกีฬาใหม่ที่เปิดตัวจัดแข่งขันเป็นครั้งแรกด้วย เช่น คาราเต้ สเกตบอร์ด ปีนเขา และ กีฬาโต้คลื่น
นอกจากนี้เบสบอลและซอฟท์บอลที่เลิกแข่งขันไปตั้งแต่ปี 2008 ก็จะกลับมาแข่งขันในปีนี้ด้วย
8. มาสคอตประจำโตเกียวโอลิมปิก
ญี่ปุ่นเปิดตัวมอสคอตประจำโตเกียวโอลิมปิกแล้ว โดยตัวสีน้ำเงิน-ขาว มาสคอตประจำงานโอลิมปิก มีชื่อว่า มิไรโทวะ (Miraitowa) โดย มิไร แปลว่า อนาคต และ โทวะ แปลว่า ไม่สิ้นสุด
ส่วนตัวสีชมพู-ขาว เป็นมาสคอตของพาราลิมปิก มีชื่อว่า โซเมตี้ (Someity) เป็นชื่อสายพันธุ์ของดอกซากุระ และพ้องเสียงกับภาษาอังกฤษว่า So Mighty ที่แปลว่ายิ่งใหญ่อีกด้วย
มาสคอตทั้งสองสะท้อนความเป็นญี่ปุ่น โดยมิไรโทวะ สะท้อนความดั้งเดิมของญี่ปุ่น แต่ก็มีความทันสมัย ส่วนโซเมตี้ มีความสง่างาม นิ่งขรึม แต่ขณะเดียวกันก็แสดงถึงความแข็งแกร่งด้วย
ทั้งสองตัวนี้มาจากการโหวตจากนักเรียนชาวญี่ปุ่น จำนวนมากถึง 16,769 โรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รู้สึกมีส่วนร่วมกับงานยิ่งใหญ่ระดับโลกที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้
1
Credit : https://www.dw.com/en/tokyo-introduces-mascots-for-2020-olympic-games/a-44777302
9. แรงบันดาลใจของคบเพลิงโตเกียวโอลิมปิก
สำหรับคบเพลิงที่จะใช้ในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิกนี้ ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากดอกซากุระ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นก็ว่าได้ โดยตัวคบเพลิงนี้ทำมาจากสังกะสีที่รวบรวมขึ้นจากซากความเสียหายบ้านเรือนผู้คน หลังจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2011
โดยตัวคบเพลิงนี้ใช้เทคนิคการหล่อหลอมให้เป็นเหล็กแผ่นเดียว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเดียวกันกับที่ใช้กับการผลิตรถไฟชินกันเซนของญี่ปุ่น
Credit : https://japan-forward.com/2020-tokyo-olympics-paralympics-torch-014/
การวิ่งคบเพลิงนี้จะเดินทางผ่าน 47 จังหวัดในญี่ปุ่น โดยเริ่มวิ่งมาตั้งแต่เมืองฟุคุชิมะ (Fukushima) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2020 โดยเปลวไฟนี้จะเป็น เปลวไฟแห่งการฟื้นฟูความหวัง และช่วยเยียวยาจิตใจผู้คนหลังจากเหตุการณ์สึนามิที่ภูมิภาคโทโฮคุ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011
และคบเพลิงนี้จะวิ่งในเส้นทางพิเศษไปที่อิวาเตะ และ มิยางิด้วย ซึ่งทั้งสองได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิเช่นเดียวกัน
การวิ่งคบเพลิงดังกล่าวเป็นการให้กำลังใจ ส่งต่อคำอวยพรให้ทุกคนเอาชนะอุปสรรคไปด้วยกัน และเป็นคำขอบคุณที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามประสบภัยพิบัติ
การแลกเปลวเพลิงระหว่างพิธีเปิดโอลิมปิกที่โตเกียว (Credit: https://edition.cnn.com/world/live-news/tokyo-2020-olympics-07-23-21-spt/index.html)
10. โตเกียวโอลิมปิกภายใต้การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
แน่นอนว่าภายใต้สถานการณ์ที่โควิด 19 ที่ยังแพร่ระบาดหนักทั่วโลก รวมถึงญี่ป่นเอง ทำให้มีประชาชนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลยืนยันที่จะจัดโอลิมปิกในครั้งนี้ แต่รัฐบาลก็ได้มีการเลื่อนจากปี 2020 มาในปี 2021 รวมถึงทำโพลเพื่อฟังเสียงของประชาชนด้วย
ท้ายที่สุดหลังจากผ่านการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังคงยืนยันจัดงานโอลิมปิกตามเดิม ภายใต้มาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็น ไม่อนุญาตให้ผู้คนรวมตัวกันเข้าชมงานพิธีเปิด และการแข่งขันกีฬา การตรวจหาเชื้อโควิดจากนักกีฬาและผู้ทีเกี่ยวข้องทุกคนก่อนและหลังเข้าประเทศ รวมถึงระหว่างที่แข่งขันด้วย
นักกีฬาไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากขณะที่ทำการแข่ง แต่นอกเวลาแข่งทุกคนต้องสวมหน้ากาก และไม่อนุญาตให้พบปะ สังสรรค์กับนักแข่งชาติอื่นๆ ให้อยู่แต่กับทีมที่ตนเดินทางมาด้วยเท่านั้น
Credit : https://olympics.com/ioc/news/version-2-of-tokyo-2020-playbooks-released
ทั้งหมดนี้เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่เรานำมาฝากกันเกี่ยวกับโตเกียวโอลิมปิกที่เริ่มต้นขึ้นแล้ว สำหรับตอนหน้าเราจะนำเรื่องอะไรมาเล่า รอติดตามกันนะคะ
เขียนและเรียบเรียงโดยทีมงานคิดก่อน ไม่อนุญาตให้แก้ไข ดัดแปลง และคัดลอก โดยไม่ได้รับอนุญาต
References:
โฆษณา