28 ส.ค. 2021 เวลา 23:30 • หนังสือ
(29) สรุปเนื้อหาสาระสำคัญจากหนังสือ
ลงทุนแบบป้าแอนน์ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตอนที่ 29
อ่านเกมหุ้น
เกมหุ้นนั้นก็คือ สิ่งที่นักลงทุนใช้ในการที่จะเล่นหุ้น หรือลงทุนในหุ้นแต่ละตัว เพื่อที่จะะได้เปรียบและ/หรือได้ "ชัยชนะ" นั่นก็คือ ทำกำไรได้งดงามจากการซื้อขายหุ้นในตลาด โดยเฉพาะในระยะสั้น
ในระยะยาวแล้ว การ "เล่นเกม" ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ และผลกำไรขาดทุนจากการลงทุนก็อาจจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการมากขึ้นเรื่อยๆ และสำหรับคนที่ "ถือหุ้นตลอดชีวิต" เกมก็จะไม่มีความหมาย
แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมาก เพราะแม้แต่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เอง เขาก็ยังขายหุ้นอยู่เนื่องๆ
เวลาที่ผมพบว่าหุ้นตัวไหนปรับขึ้น หรือตกลงมาแรงในช่วงเร็วๆ นี้ โดยสิ่งที่ผมอยากจะรู้ก่อน ก็มักจะอยู่ในข้อมูล เช่น ราคาที่ปรับตัวขึ้นหรือลดลง ปริมาณการซื้อขายที่มักจะมากขึ้นมาก ผลประกอบการของบริษัทย้อนหลังอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่บริษัททำอยู่ หรือมีแผนที่จะทำ
และที่สำคัญที่สุดก็คือ สตอรี่ หรือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ผมจะดูไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่นก็คือ
ใครคือ "เจ้าของบริษัท" และผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ โดยเฉพาะที่เพิ่งเข้ามาถือหุ้นในเร็วๆ นี้
และสุดท้ายของสุดท้ายก็คือ ค่าความถูกความแพงของหุ้นที่คิดจากค่า PE, ค่า PB, ปันผลตอบแทน และ Market Cap. หรือ มูลค่าหุ้นของทั้งบริษัท รวมถึงหนี้ที่มีอยู่และดูฟรีโฟลตหรือปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดหุ้น
นั่นคือความคิด หรือการเล่นของนักลงทุนส่วนใหญ่ สิ่งที่ผมจะคิดก็คือ สิ่งต่างๆ เหล่านั้นจะเป็นความจริงไหม
คำถามต่อมาก็ต่อมาก็ยังเป็นปัญหานั่นก็คือ กำไรที่จะได้มานั้นเพียงพอที่จะทำให้ค่า PE ลดลงมาจนคุ้มค่าน่าลงทุนหรือไม่ และถ้าคำตอบของผมก็คือ ค่า PE ก็ยังสูงเกินไป ก็ไม่มีเหตุผลที่จะลงทุนในหุ้นตัวนั้น
นอกจากนั้น ถ้าค่า PE จะลดลงมาต่ำพอในวันหนึ่ง ปัญหาก็คือ บริษัทจะรักษารายได้และกำไรไว้ได้ไหม หากคำตอบก็คือ ไม่ เนื่องจากนั้นประเทศคงไม่มีโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่อแล้ว ราคาหุ้นก็จะไม่สามารถยืนอยู่ได้
ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ ผมเห็นต่างกับตลาด และคิดว่าราคาที่ขึ้นไปนั้น ไม่น่าจะยืนอยู่ได้ในระยะยาว และดังนั้น ผมก็จะไม่เล่นเกมนี้
ในกรณีของหุ้นขนาดเล็ก และ/หรือมี Free Float ต่ำ แม้ว่าจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ผมจะต้องระมัดระวังมากก็คือ หุ้นอาจจะโดนนักลงทุนรายใหญ่เข้ามา "เล่นเกม" ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจ "ปั่นหุ้น" หรือเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจในความเห็น หรือการวิเคราะห์ของตนเองว่า หุ้นตัวนั้นกำลังจะมีสตอรี่และ/หรือมีผลประกอบการที่ดี อยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ร้อนแรงและเติบโตเร็ว และบริษัทมีความได้เปรียบ รวมทั้งผลงานเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้ชี้ไปในทิศทางนั้น
ดังนั้น เขาจึงเข้าไปซื้อหุ้นอย่างหนัก ส่งผลให้แรงซื้อมากกว่าแรงขายมหาศาล เพราะมีหุ้นปริมาณน้อย ผลก็คือ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นแรงมากอย่างต่อเนื่อง อาจจะเนื่องจากมีนักลงทุนคนอื่นตื่นเต้น และเข้ามาร่วมซื้อด้วยอย่างมาก ทำให้ค่า PE สูงเกิน 50 เท่า และมูลค่าตลาดหุ้นขึ้นไปแบบมโหฬารเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่มานานในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ในกรณีแบบนี้ นอกจากจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ตามมาตราฐานแล้ว ผมก็มักจะนำ "ประวัติศาสตร์" หรือแม้แต่ "ปรัชญา" เข้ามาประกอบด้วย เช่น เคยมีบริษัทแบบนี้ในโลกไหมที่มีขนาด Market Cap. ใหญ่มาก โดยธุรกิจที่ทำ ไม่ได้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่มาก และเป็นกิจกาารที่ขายสินค้าที่ไม่จำเป็น และไม่ได้มีอำนาจทางการตลาดที่จะปกป้องสินค้าจากคู่แข่ง เป็นต้น ถ้าไม่มีผมก็จะไม่เข้าไปเล่นเกมนี้
หลายๆ ครั้งผมเองเห็นด้วยกับความเชื่อของนักลงทุนในตลาดในเรื่องต่างๆ แทบทั้งหมดว่า หุ้นตัวนั้นเป็นกิจการที่ดีเยี่ยม แต่พบว่าราคาหุ้นนั้นสูงเกินกว่าที่จะคุ้มค่าหรือไม่มี Margin of Safety ที่ทำให้ผมไม่สามารถผิดพลาดได้เลย ดังนั้นผมก็จะไม่เข้าไปเล่น
เขียน ณ วันที่ 12/8/2559
หากเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์กับคุณ อย่าลืมซื้อ เพื่อเป็นการสนับสนุน ผู้เขียนด้วยนะ
หาซื้อได้ที่ ร้านหนังสือ Se-Ed Book Center หรือร้านจำหน่ายหนังสือใกล้บ้านคุณ ราคา 220 บาท
สามารถกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เพื่อรับบทความดีๆจาก เพจคลังปัญญา ได้ในทุกวันเวลา 06.30 น. สามารถติชม แนะนำ
ในทางสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเพจในทางที่ดีขึ้นได้นะ ขอขอบคุณผู้ติดตามทุกท่านมานะที่นี้
โฆษณา