Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 ก.ค. 2021 เวลา 02:50 • สุขภาพ
โรคอ้วนกับภาวะโรคกระดูกสันหลัง
เมื่อพูดถึงภาวะโรคอ้วนหรือภาวะที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเนื่องด้วยเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเกิดภาวะนี้แล้วโอกาสที่จะเกิดโรคอื่นๆตามมาไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่เราทุกคนทราบดีและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจริงๆแล้วโรคกระดูกสันหลังก็มีโอกาสเกิดได้ไม่น้อยไปกว่าโรคต่างๆดังที่ได้กล่าวเลย เรามาดูกันว่าโรคอ้วนนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะโรคกระดูกสันหลังได้อย่างไร
โรคอ้วนคืออะไร
มาทำความรู้จักโรคอ้วนกันก่อนว่า เรามีเกณฑ์หรือข้อพิจารณาอะไรว่าเรามีภาวะโรคนี้แล้ว ซึ่งหลายคนคงทราบดีว่าอาจมีเกณฑ์มาตรฐานในการวัดภาวะนี้อยู่หลายเกณฑ์แต่ที่เราใช้กันมาตรฐานนั้นเราจะใช้พิจารณาได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง คนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน ดังสูตรการคำนวณดังนี้ BMI =น้ำหนัก (กิโลกรัม) / [ส่วนสูง (เมตร)] ยกกำลัง 2
โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกสันหลังอย่างไร
เนื่องจากร่างกายต้องรับน้ำหนักมากทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งปกติแล้วกระดูกสันหลังเป็นแกนกลางหลักของร่างกายที่ต้องคอยแบกรับน้ำหนักตัวในทุกๆ อิริยาบถการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน ล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้กระดูกสันหลังทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไหร่ กระดูกสันหลังก็ยิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพราะน้ำหนักที่มากขึ้นบวกกับพุงที่ยื่นมาด้านหน้า จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องออกแรงมากขึ้น เอวแอ่นมากขึ้น หากกล้ามเนื้อ มีอาการอ่อนล้าเรื้อรัง จะทำให้ความสามารถในการช่วยกระจายน้ำหนักจากหมอนรองกระดูกสันหลังลดลง ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือเกิดภาวะหมอนรองกระดุกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงไปที่บริเวณขาได้ และในบางครั้งอาจมีอาการอ่อนแรงของขาร่วมด้วยในทางกลับกันเราพบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะโรคกระดูกสันหลังที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมด้วยบางรายหลังจากที่ได้มีการลดน้ำหนักตัวลงพบว่าอาการทางด้านกระดูกสันหลังกลับทุเลาร่วมด้วยเช่นเดียวกันดังนั้นจึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าภาวะโรคอ้วนนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะโรคกระดูกสันหลังได้โดยตรง
การดูแลร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดโรคอ้วน
หลายคนอาจพอทราบว่าปัจจัยหลักในการเกิดภาวะโรคอ้วนไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป การขาดการออกกำลังกาย ความเสี่ยงทางพันธุกรรมและถึงแม้ว่าปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนทางด้านกรรมพันธุ์นั้นเราไม่สามารถควบคุมได้แต่ปัจจัยด้านอื่นโดยส่วนใหญ่เราก็สามารถควบคุมได้เช่นเดียวกัน เช่นโดยการควบคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกายเป็นหลักสำคัญ ยกตัวอย่างเช่นคนที่มีภาวะโรคอ้วนควรลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย ผักใบเขียวและผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงหรือน้ำอัดลม ร่วมกับการเน้นออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหลังให้แข็งแรงเช่นการว่ายน้ำ เป็นต้น
ในโอกาสนี้ผมขอจะกล่าวถึงการออกกำลังกายในผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและต้องการลดน้ำหนักลงแต่พอสังเขปครับ โดยสำหรับคนอ้วนหรือคนที่น้ำหนักเกิน จะมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติคล้ายกับคนปกติทั่วไป แต่จะมีโอกาสเสี่ยงในเรื่องของการบาดเจ็บทางระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อมากกว่า เนื่องจากน้ำหนักมากจึงทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อที่ควรระมัดระวังมาก หรือในคนอ้วนบางคนอาจมีโรคต่างๆอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และบางคนอาจจะมีการระบายความร้อนได้ไม่ดี เนื่องจากมีไขมันอยู่มาก ทำให้มีปัญหาในเรื่องของระดับความร้อนที่เพิ่มขึ้น ในการออกกำลังกายควรเลือกในประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกที่รุนแรงนัก เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน การเต้นลีลาศ การว่ายน้ำ หรือการเต้นแอโรบิค และเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้อาจจะช่วยลดแรงกระแทกได้ เช่น รองเท้าพื้นนุ่ม เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อนั้นอาจมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างเพราะคนที่จะออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อที่ต้นแขน ก็จะออกกำลังกายเน้นในช่วงต้นแขนตามที่ต้องการ โดยจะมีวิธีการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่จะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก จะเน้นว่าทำอย่างไรให้น้ำหนักลดลง ซึ่งจะต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมอาหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การควบคุมความเครียด และโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่จะช่วยเผาผลาญพลังงานที่ต้องการให้ได้ 300-400 กิโลแคลอรี/วัน หรือ 1000-2000 กิโลแคลอรี/สัปดาห์ ซึ่งจะต้องออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ หรือทุกวัน และใช้เวลา 40-60 นาที/วัน หรืออาจจะแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงเช้า 20-30 นาที และช่วงเย็นอีก 20-30 นาที โดยจะเพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อเผาผลาญพลังงาน อีกประเด็นที่สำคัญที่สุดของการออกกำลังกาย คือ การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ฉะนั้นในการเลือกประเภทหรือรูปแบบของการออกกำลังกายจะต้องเลือกตามที่ตนชอบ รู้สึกสนุกกับการเล่นกีฬานั้น และไม่เป็นการฝืนจิตใจ และขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โอกาส อุปกรณ์ และสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการออกกำลังกายหรือไม่ ในการออกกำลังกายนั้นควรเริ่มจากช้า ๆ เบา ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาและความหนักมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความบาดเจ็บของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาได้หลายรูปแบบ รวมทั้งการทำงานบ้าน หรือการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เดิน เป็นต้น
2
ดังนั้นหากพอทราบกันแล้วว่าโรคอ้วนส่งผลต่อภาวะกระดูกสันหลังอย่างไรรวมถึงแนวทางหรือวิธีการในการลดน้ำหนักแล้วนั้นเราทั้งหลายควรหันมาดูแลไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโรคกระดูกสันหลังตามมา และพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ
เกี่ยวกับผู้เขียน
นพ.อิทธิพล โกมลหิรัณย์ เรียนจบเฉพาะทางด้าน ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ที่รพ. ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ไปเรียนต่อยอดด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการส่องกล้องเอ็นโดสโคปที่ประเทศเยอรมนี ปัจจุบันทำงานเป็นศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลังประจำที่ร.พ.บำรุงราษฎร์ แล้วยังเป็นแพทย์ผู้ฝึกสอนการผ่าตัดด้วยเทคนิคเอ็นโดสโคปในประเทศเยอรมนี
สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์
ชั้น 20 อาคารเอ (A) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
8.00-20.00 (BKK Time)
Hot line tel. +662 011 3091
6 บันทึก
13
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคกระดูกสันหลัง
6
13
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย