27 ก.ค. 2021 เวลา 04:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ไขข้อสงสัย] ฟอยล์แบบไหน ที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ ?
พวกเราได้ทดลองถามคำถามนี้ กับสมาชิกในครอบครัวและคนรอบตัวเรา
ปรากฎว่า คำตอบที่ได้มานั้น 7 ใน 10 คน ตอบมาอย่างรวดเร็วว่า
“อย่าเอาไปเข้าเชียวนะ บ้าเหรอ เดี๋ยวก็ไหม้คาไมโครเวฟกันพอดีสิ !”
มีเพียงแค่ 2 ท่าน เท่านั้น ที่ตอบพวกเราว่า
“เอาเข้าได้ ไม่เป็นไร พวกเธอลองไปหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ดู แล้วก็จะเข้าใจเอง..”
1
ฟังแล้ว... ก็แอบจุก เลยทีเดียว
สารภาพว่า พวกเราเคยเชื่อว่า ฟอยล์ทุกแบบทุกชนิด มันนำเข้าไมโครเวฟไม่ได้ เพราะมันเป็นโลหะ
พวกเราขออนุญาตเล่าจากประสบการณ์ตรงเพิ่มเติม
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา พวกเราได้รับขนมที่บรรจุมาในถาดฟอยล์ และจำเป็นต้องอุ่นร้อนทาน
ทีนี้ ความกล้า ๆ กลัว ๆ มันก็เลยเกิดขึ้น
เอ ถ้าเรานำถาดฟอยล์นี้เข้าไป… แล้วตู้ไมโครเวฟ มันจะระเบิด รึเปล่านะ ?
หรือ ถาดฟอยล์จะเกิดเพลิงลุกไหม้ รึเปล่านะ ?
1
เมื่อเกิดคำถามแบบนี้
พวกเราจึงต้องรีบไปค้นหาคำตอบในทันที
หลังจากที่พวกเราได้รับความรู้จากแบรนด์ STAR PRODUCTS
รวมถึงไปดูสารคดีสั้น ๆ มาแล้ว ก็เลยมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น ว่าฟอยล์แบบไหน สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้
หลังจากนั้น พวกเราเลยเกิดความมั่นใจ ลองนำขนมที่บรรจุมาในถาดฟอยล์อันนั้น นำไปเข้าในไมโครเวฟดู
ผลปรากฎว่า “ใช้งานได้ปกติเลย ไม่ระเบิด ไม่เกิดเพลิงไหม้ใด ๆ แถมรสชาติอาหารก็อร่อย ปลอดภัย เหมือนเดิม” ไม่ต่างกับการที่เราใช้ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ เลยละ
อะ ไหน ๆ พวกเราก็ไปหาคำตอบกันมาทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติมาแล้ว
ถ้าหยั่งงั้น ขอพวกเราแชร์ความรู้ดีดี ให้เพื่อน ๆ ได้รับชมกัน
อย่างน้อยที่สุด ก็จะได้คลายกังวลและใช้งานบรรจุภัณฑ์ฟอยล์กันได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
เรื่องราวเป็นอย่างไร ?
ไปรับชมกันได้เลย
ก่อนอื่น เราต้องมารู้กันก่อนว่า “ไมโครเวฟ” ทำงานอย่างไร ?
1
คอนเซปต์ง่าย ๆ ของการทำงานของไมโครเวฟ คือ
 
“คลื่นไมโครเวฟจะถูกแผ่กระจายไปสู่อาหาร ทำให้โมเลกุลของอาหารเสียดสีกัน ก่อให้เกิดพลังงานความร้อน จึงทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว “
แล้วคลื่นไมโครเวฟ มาจากไหน ?
1
ก็จะมาจากขดลวดภายในตู้ไมโครเวฟ ที่พร้อมจะแปลงพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นพลังงาน “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” ที่มีความถี่มากกว่า 2450 MHz หรือ 2450 ล้านรอบในหนึ่งวินาที
โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทะลุผ่านอาหารไปสั่นพ้องกับโมเลกุลของน้ำ ทำให้โมเลกุลของน้ำเกิดการสั่นไหว ตามความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
หรือ ที่เราเรียกว่าคลื่นไมโครเวฟ นั่นเองจ้า
ซึ่งแน่นอนว่า เพื่อน ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องของคลื่นไมโครเวฟ ว่าจะหลุดไหลออกมาจากตัวไมโครเวฟเลย
เพราะเพื่อน ๆ จะสามารถสังเกตได้จาก รูเล็ก ๆ บริเวณหน้าตู้ไมโครเวฟ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้เจ้าตัวคลื่นนี้ เล็ดลอดออกมาสู่ภายนอก นั่นเอง
ถึงตรงนี้ เราก็คงจะเข้าใจกันคร่าว ๆ แล้วว่า ไมโครเวฟทำงานได้อย่างไร
ประเด็นต่อมา จึงเป็นเรื่องของ วัสดุหรือบรรจุภัณฑ์แบบไหน ที่สามารถเอาเข้าไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิดการสะสมความร้อนจนเผาไหม้หรือระเบิด ?
โอเค ตามที่พวกเราเข้าใจกันเบื้องต้นเลย
ก็ต้องเป็นวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่ทนต่อคลื่นไมโครเวฟ เช่น เครื่องแก้วทนความร้อน เครื่องปั้นดินเผา กระดาษเคลือบแวกซ์ หรือ เซรามิก
ส่วนวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่ควรนำมาใช้งานกับเตาไมโครเวฟ นั่นคือ
ภาชนะโลหะหรือภาชนะอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของโลหะ พลาสติกเมลามีน ถุงพลาสติกห่ออาหาร ฟอยล์ห่ออาหาร
แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
เพราะเหตุใด วัสดุที่เป็นโลหะ ถึงเข้าไมโครเวฟไม่ได้ละ ?
เราก็จะต้องมาดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้โลหะเกิดการเผาไหม้ในตู้ไมโครเวฟ
ก็เพราะ คลื่นไมโครเวฟ ที่ได้รับการกระทบกับโลหะที่ไม่เป็นทรง หรือมีมุมแหลม ยกตัวอย่างเช่น ส้อม ที่เราไว้จิ้มอาหารนั้นแหละ
มันก็จะเกิดการสะท้อนกลับ ซึ่งเป็นผลทำให้ เกิดการรวมของประจุไฟฟ้า แบบไม่เป็นระเบียบ
1
พอการสะสมแบบไม่เป็นระเบียบนี้ มันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นผลทำให้เกิดประกายไฟคล้ายแสงแฟลชสะสมจนเกิดการเผาไหม้
หรือ ที่เราเรียกว่าภาวะ "Super Heat" นั่นเอง
ห่อแบบนี้แล้วนำเข้าไมโครเวฟ ไม่ได้นะ เกิด Superheat แน่นอน
Superheat กำลังเริ่มแล้วจ้า
ตรงจุดนี้ มันเลยทำให้พวกเราเข้าใจว่า วัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นโลหะทั้งหมด รวมไปถึงฟอยล์ห่ออาหารทุกประเภท ก็คงจะต้องเป็นอันตรายอย่างแน่นอน
แล้วยังไงนะ... ฟอยล์ทุกประเภท ไม่สามารถเอาเข้าไมโครเวฟได้เหรอ ?
ต้องบอกว่า หากเราเชื่อแบบนั้น
ก็คงจะเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้อง เท่าไรนะ…
เพราะฟอยล์บางประเภท สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้แบบปลอดภัย อย่างที่พวกเราได้ทดลองกันมาแล้ว (และสามารถมานั่งเขียนบทความนี้ถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันนี่เองละ)
เพียงแต่ ฟอยล์ที่จะนำเข้าไมโครเวฟ จะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ “ถาดฟอยล์ หรือที่บางคนเรียกว่าถ้วยฟอยล์” เท่านั้น
ถ้าเป็นแค่แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหาร จะไม่สามารถนำเข้าได้...
แล้วเพราะอะไรกันละ ?
เหตุผลที่จะมาซัพพอร์ท ก็คงต้องอ้างอิงจากคอนเซปต์ของสภาวะ “Super Heat” ที่ได้กล่าวไป
เพราะว่า แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหาร มี “รูปร่างไม่เป็นทรง” เปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย
อันนี้ตรงตัวเลย เพราะว่า ส่วนใหญ่เราจะใช้แผ่นฟอยล์มาห่ออาหารกันเนอะ รูปร่างของเจ้าแผ่นฟอยล์ มันจะต้องเปลี่ยนรูปที่ไม่เป็นทรง ตามลักษณะของอาหารที่ห่อหุ้ม ทำให้เกิดมุมยับ มุมแหลมหลายมุม
ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดภาวะ "Super Heat" ลงเอยด้วยแสงวาบหรือประกายไฟที่เกิดจากการเผาไหม้...
ถ้าเรานำแผ่นฟอยล์เข้าไปแบบนี้... ภาพด้านล่างจะ ก็เกิดขึ้น อย่างแน่นอน
หรือ ถ้าเราเอาเผลอแผ่นฟอยล์อลูมิเนียมไปห่อปลาเผา แล้วนำเข้าไมโครเวฟ ผลที่ได้ จะเป็นแบบนี้
**แต่ฟังทางนี้ก่อน เรื่องราวอันตรายที่ว่ามานี้ จะไม่เกิดขึ้น**
หากเรานำบรรจุภัณฑ์ “ถาดฟอยล์” ที่ได้รับการออกแบบขึ้นรูปอย่างสมบูรณ์ มีรูปทรงที่แน่นอนและได้มาตรฐาน มาใช้งานกับเตาไมโครเวฟที่ผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ.1983 หรือ ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา หรือเมื่อ 38 ปีมาแล้ว
ถาดฟอยล์ที่กล่าวมานี้ จะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของประจุไฟฟ้าอย่างเป็นระเบียบ ไม่ส่งผลให้เกิดประกายไฟหรือความร้อนสะสม จึงสามารถนำเข้าได้ อย่างปลอดภัย
ตัวอย่าง “ถาดฟอยล์” ที่ได้รับการออกแบบขึ้นรูปอย่างสมบูรณ์
แต่พวกเรา ไม่แนะนำให้นำถาดฟอยล์เปล่าๆเข้าเตาไมโครเวฟนะ จะต้องมีอาหารหรือน้ำอยู่ด้วยเสมอ
วิธีการใช้งานอย่างถูกต้องคือ ต้องนำฝาทุกชนิดออกก่อน แล้ววางไว้กึ่งกลางถาดของเตาไมโครเวฟ โดยเว้นระยะห่างของถาดฟอยล์และผนังไมโครเวฟอย่างน้อย 2 เซ็นติเมตร จากนั้นกดปุ่มเริ่มทำงานได้ตามปกติ
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถอุ่นอาหารหรือทำให้อาหารสุกพร้อมรับประทานได้แล้วจ้า
และเมื่อเทียบอาหารที่อุ่นร้อนในไมโครเวฟ ด้วยถาดฟอยล์ และ ถ้วยชามเซรามิก หรือ ถาดพลาสติกนั้น อาหารที่อุ่นในบรรจุภัณฑ์ฟอยล์ จะอุ่นร้อนได้ไว้กว่า เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย
แบรนด์นี้ เข้าผลิตถาดฟอยล์ ที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยจ้า
เพื่อน ๆ สามารถอ่านเรื่องราวความรู้เพิ่มเติมกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ฟอยล์ ในหัวข้อ
ไขข้อสงสัย ใช้บรรจุภัณฑ์ “ฟอยล์ใส่อาหาร” หรือ “บรรจุอาหาร” แล้วก่อให้เกิด "โรคอัลไซเมอร์" จริงหรือ ?
ได้ที่ลิ้งนี้เลยจ้า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา