Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2021 เวลา 05:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไขข้อสงสัย ใช้บรรจุภัณฑ์ “ฟอยล์บรรจุอาหาร” แล้วก่อให้เกิด "โรคอัลไซเมอร์" จริงเหรอ?
วันนี้พวกเรา InfoStory มีคำถามที่น่าสนใจ มาถามเพื่อน ๆ กัน
(ที่ตัวพวกเราเองเนี่ย ก็เคยสงสัยกันมานาน)
ถ้าเราใช้บรรจุภัณฑ์ฟอยล์ใส่อาหาร แล้วมันจะปลอดภัยไหม ?
มีเรื่องราวที่ น่าสนใจในอดีต
ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการแชร์ข้อความลูกโซ่ต่อ ๆ กัน ในประเด็นที่เกี่ยวกับ “WHO ออกมาเตือน ให้ระวังอันตรายเมื่อใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สำหรับการห่ออาหาร หรือ บรรจุอาหาร ว่าเป็นอันตราย”
โดยอ้างว่าอะลูมิเนียมเมื่อโดนความร้อนจะละลายเข้ากับอาหาร ทำให้เป็นอันตรายต่อระบบประสาท เพราะแคลเซียมจะถูกทําลาย ทำให้ความจําจะลดลงและสมองเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคอัลไซเมอร์ และเป็นการทําลายกระดูกโดยตรง
แต่ความเชื่อตรงนี้ คงต้องบอกว่า เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไร…
แล้วที่ว่าไม่ถูกนี้เนี่ย…
ใครกันละ ที่เป็นคนออกมาโต้แย้ง ว่าความเชื่อว่าแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ หรือ บรรจุภัณฑ์ฟอยล์ เนี่ย ไม่เป็นอันตราย
และข่าวที่เราแชร์กันเป็นลูกโซ่เนี่ย เป็นข่าวปลอม ?
กลุ่มคนเหล่านั้น คือ
-หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป European food safety authority (EFSA)
-กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทย
-สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป European food safety authority (EFSA)
โอโห… ดูเล่นใหญ่มาก
แต่นี่ดันเป็นเรื่องจริง
โดยต้นเรื่องของประเด็นการแย้งข่าวปลอม ก็เริ่มมาจากการที่ หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้ออกมาโต้เถียงว่า
“จริงอยู่ที่ว่าถ้าร่างกายได้รับสารอะลูมิเนียมจำนวนมาก จะเป็นพิษต่อร่างกาย
แต่ว่า ยังไม่เคยมีงานวิจัยบนโลกใบนี้ ออกมาพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ ที่เกิดมาจากการใช้บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมฟอยล์ รวมถึงยังไม่มีผลงานวิจัยยืนยันว่าอะลูมิเนียมที่ปนเปื้อนในอาหาร ทําให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ ได้อีกเช่นกัน”
อีกทั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ไม่เคยออกประกาศเตือนเรื่องการใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ ว่าเป็นอันตรายต่อระบบประสาท หรือ ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
เพราะพวกเขาเองก็ยังไม่มีงานวิจัยมาสนับสนุน ข้อความอันนี้
เห็นได้ชัดว่าในต่างประเทศยังคงมีการใช้อลูมิเนียมฟอยล์เพื่อห่อ หรือบรรจุอาหารในการประกอบอาหารและ สำหรับส่งเดลิเวอรี่กันอยู่
เพียงแค่ องค์การอนามัยโลก (WHO) มีแค่คำแนะนำว่า เราควรจะจำกัดปริมาณของอะลูมิเนียมที่คนเราจะกินเข้าไป ไว้ที่ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม เพียงเท่านั้น...
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดนี้ คือเหตุผลที่ทำให้ หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ออกมาโต้แย้งว่า ความเชื่อของเรื่องผลิตภัณฑ์ฟอยล์ ห่ออาหาร จะทำให้เกิด "โรคอัลไซเมอร์"นั้น ไม่เป็นความจริง !
กลับมาที่ฝั่งของประเทศไทยเรากันบ้าง
เรื่องราวนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทย และ กรมอนามัย เขาก็ไม่ได้นิ่งเฉย
โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทย นำทีมโดย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบหมายให้สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
โดยได้ทำการทดลอง ดังนี้
1. เตรียมแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้ในภาชนะประกอบอาหาร ที่ทำด้วยโลหะอะลูมิเนียมมีภาชนะหุงต้ม จำนวน 22 ตัวอย่าง และ แผ่นเปลวอะลูมิเนียมสำหรับบรรจุภัณฑ์ห่ออาหารอีก 6 ตัวอย่าง
2. ทำการทดสอบที่สภาวะสุดโต่ง ด้วยสารละลายกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 4 และร้อยละ 3 ตามลำดับ ในอุณหภูมิน้ำเดือด ประมาณ 100 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง
ตัวอย่าง แผ่นอะลูมิเนียม ที่นำมาใช้ในการทดลองจ้า
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังไขข้อสงสัยเรื่องสารละลายจากอะลูมิเนียม
หลังจากเตรียมการทั้งหมดแล้ว ก็จะนำเอาแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ไปเข้าในเครื่อง หาปริมาณธาตุและโลหะด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma (ICP) อย่างในภาพด้านล่างนี้เลย
Inductively Coupled Plasma (ICP)
ข้างในเครื่องอบก็จะเป็นแบบนี้จ้า
สีน้ำเงินอันนั้น คือแผ่นบรรจุภัณฑ์ฟอยล์นะ
ผลการทดลองพบว่า
- มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะหุงต้ม 20 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 11-953 มิลลิกรัม/ลิตร
- มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียม จากแผ่นเปลวอะลูมิเนียมทั้ง 6 ตัวอย่าง
ในช่วง 480-1,032 มิลลิกรัม/ลิตร
- การละลายออกมาของอะลูมิเนียมลงสู่อาหาร 4 อย่าง คือ ข้าวสุก ผัดผัก ต้มยำ และยำวุ้นเส้น ที่ใส่ในถาดหลุม ที่อุณหภูมิห้อง (22 องศา) ประมาณ 30 นาที เพื่อเลียนแบบการรับประทานอาหาร
ผลพบว่ามีการละลายออกมาเพียงแค่ 0.047-0.928 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เท่านั้น
ซึ่งปริมาณอะลูมิเนียมที่ละลายออกมาทั้งหมด จนมาถึงการบริโภคในอาหารของมนุษย์เนี่ย มีจำนวนที่น้อยมาก ๆ
อีกทั้ง การดูดซึมของอะลูมิเนียมจากอาหาร เข้าสู่ร่างกายเพียง พบได้ประมาณ 1% เท่านั้น
ซึ่งค่าที่ได้จากการละลายของอะลูมิเนียมเนี่ย ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ ซะอีกนะ
เพราะฉะนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมอนามัยของประเทศไทย จึงให้ความเห็นที่ออกไปในทิศทางเดียวกับ หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA)
และยืนยันว่า เราสามารถใช้บรรจุภัณฑ์ฟอยล์ ในการห่ออาหารและประกอบอาหารที่มีความร้อนได้ปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือ กระทบกับระบบประสาทแต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังของการใช้บรรจุภัณฑ์ฟอยล์ คือ
- หลีกเลี่ยงการใช้งานกับผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่มีความเป็นกรดสูง ที่จะต้องเจอกับความร้อนสูงอย่างการปิ้งย่าง
(ซึ่งคงไม่มีใครนำกรดมะนาวไปปิ้งหรอกจริงไหมเนอะ ?)
- ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ห่ออาหาร หรือ ภาชนะประกอบอาหารว่า ไม่มีรอยฉีกขาด
- ทางที่ดีควรใช้บรรจุภัณฑ์ฟอยล์ สำหรับการบรรจุหรือห่ออาหาร ให้ถูกประเภท และ ถูกต้องตามวิธีที่ตัวแบรนด์ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เขาแนะนำมา
สามารถทำได้ แต่ต้องทำตามข้อควรระวังที่ได้กล่าวไว้ทุกขั้นตอนนะ เพื่อน ๆ
วันนี้พวกเรา InfoStory ก็ขอจบเรื่องราวของบรรจุภัณฑ์ฟอยล์ ห่ออาหาร กับ เรื่องราวงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาหาร ไว้เพียงเท่านี้
(เพื่อน ๆ หลายคนคงแบบ เอ่อ... เรื่องนี้มันเบาสมองยังไงนะ.. ฮ่าๆ)
ในตอนต่อไป พวกเราก็มาไขข้อสงสัยให้ฟังกันอีกว่า
"บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร อะลูมีเนียมฟอยล์ เอาเข้าไมโครเวฟได้ จริงเหรอ ?"
ขอขอบคุณแบรนด์ "สตาร์โปรดักส์ (Star Product)" ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ถาดอะลูมิเนียมฟอยล์ และ ฟอยล์ห่ออาหาร ที่แชร์ความรู้ที่มีประโยชน์เรื่องนี้
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://www.sgethai.com/article/
https://www.voicetv.co.th/read/LN3ULCtRu
http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/2017/06/24/
https://www.atsdr.cdc.gov/ToxProfiles/tp22-c1-b.pdf
-สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
-หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป European food safety authority (EFSA)
-กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทย
6 บันทึก
6
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไขข้อสงสัย ? (Into the Curious World)
6
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย