Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2021 เวลา 11:30 • ไลฟ์สไตล์
ต้นไม้ที่เราชอบเห็นกันข้างทาง ชื่อว่าอะไรกันบ้างนะ ?
ต้นไม้ที่เราเห็นตามริมทางริมถนน หรือ แม้กระทั่งเวลาขับไปเที่ยว
บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่า เอ้ะ เจ้าต้นไม้นี่ มันชื่ออะไรนะ ?
โดยเฉพาะเวลาที่เราขับรถในช่วงหน้าร้อน หน้าฝน เราก็จะไม่ค่อยเห็นต้นไม้เหล่านี้ ออกดอกออกผลเลย จนทำให้อดคิดต่อไม่ได้ว่า
ต้นไม้เขียวๆเหล่านี้ หรือ บางทีเหลือแต่ก้านบ้าง ตอนที่พวกเค้าออกดอกผลิบานเนี่ย มีสีอะไรกันนะ ?
ถ้างั้น วันนี้ให้พวกเรา InfoStory ไขข้อข้องใจ นำเสนอต้นไม้ ที่เราชอบเห็นกันจนชินตา มาให้เพื่อนๆ รับชมกัน
ว่าแต่ว่า เพื่อนๆพอจะจำชื่อ และ รู้จักหมดทุกต้นเลยไหมเอ่ย ...
อันที่จริงแล้ว ยังมีอีกมากมายเลยละ อย่างเช่น
เสลา ที่มีดอกสีม่วงสลับขาว
เหลืองพันธุ์ทิพย์
ลีลาวดี
กัลปพฤกษ์
แต่เนื่องจากพื้นที่ของเรามีจำกัด เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆชอบ และอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องต้นไม้ หรือ ดอกไม้อีกละก็ บอกพวกเราได้นะ
เดี๋ยวพวกเราจะช่วยทำตอนต่อไปออกมาให้เอง :):)
สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับต้นไม้ ที่เราอยากหยิบมาพูดถึงก็คือ เรื่องของ “ซากุระเมืองไทย”
เพื่อน ๆ พอจะคุ้น ๆ กันบ้างใช่ไหมละ
ว่าที่บ้านเราก็สามารถรับชมความสวยงามคล้ายกับต้นซากุระของญี่ปุ่น ได้เหมือนกัน !
ใช่แล้ว ใน Infographic ของพวกเราก็มีอยู่ นั่นคือ “ต้นนางพญาเสือโคร่ง” ที่มีดอกสีชมพู 5 กลีบ ซึ่งคล้ายกับดอกซากุระของญี่ปุ่นมากๆ
ที่ต้องใช้คำว่าคล้าย ก็เพราะว่า ดอกนางพญาเสือโคร่ง จัดอยู่ในสกุลเดียวกันกับดอกซากุระของญี่ปุ่น นั่นคือ สกุลพรุน (Prunus) ซึ่งเป็น สกุลเดียวกับ บ๊วย และ ท้อ อีกด้วยนะ
แต่จุดที่ทำให้ ดอกนางพญาเสือโคร่ง เป็นได้แค่ความคล้าย แต่ไม่ใช่อันเดียวกันกับดอกซากุระ ก็เพราะว่า ทั้ง 2 อย่างนั่น ถูกจัดว่าอยู่คนละสปีชีส์กัน นั่นเอง
และ อีกจุดหนึ่งที่แสดงให้เห็นความแตกต่างเนี่ย คือ ช่วงเวลาการออกดอก
โดย ต้นซากุระ จะผลิดอกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ส่วน ต้นนางพญาเสือโคร่ง จะผลิดอกในช่วงฤดูหนาว
พอพูดถึงการผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ของ ต้นนางพญาเสือโคร่ง
รู้ไหมว่า คนญี่ปุ่นยังได้ขนานนามดอกชนิดนี้ว่า "ฮิมาลายาซากุระ" (ヒマラヤザクラ) หรือ “ซากุระหิมาลัย” อีกด้วยนะ
นั่นก็เป็นเพราะว่า ต้นนางพญาเสือโคร่ง มักจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตที่มีความสูงตั้งแต่ 500 - 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งมักจะมีชื่อเสียงในแถบประเทศอินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน และ บนแถบเทือกเขาหิมาลัย นั่นเอง
เพื่อนๆ อาจจะสงสัยว่า เอ้อ แล้วมันแพร่ออกมาได้ยังไงนะ ?
ต้องบอกว่าเจ้าพรรณไม้ชนิดนี้ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด
นั่นจึงทำให้ประเทศจีน (ตอนใต้) ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน เริ่มนำเมล็ดของต้นนางพญาเสือโคร่ง ไปเพาะปลูกกัน
โดยเฉพาะคนญี่ปุ่น ก็จะได้เห็นต้นไม้ที่มีความคล้ายคลึงกับดอกซากุระ และ ผลิดอกต่างฤดูกันอีกด้วย
หรือ เอาง่าย ๆ ถ้าเราจะต้องการเห็นต้นไม้ต้นนี้ผลิดอกอย่างสวยงาม เห็นทีก็คงต้องไปแอ่วแถวทางภาคเหนือ ยกตัวอย่างเช่น ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย หรือ ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะได้รับสาระความรู้เบาๆ จากพวกเรา InfoStory เช่นเคย
แหล่งอ้างอิง
https://medthai.com/
https://faceticket.net/blogs/wild-himalayan-cherry/
https://th.wikipedia.org/wiki/
3 บันทึก
6
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไขข้อสงสัย ? (Into the Curious World)
3
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย