31 ก.ค. 2021 เวลา 03:01 • สุขภาพ
ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น และมั่นใจว่าไม่มีโรคทางกาย ก็ให้การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSR2 ได้แก่ ฟลูออกซีทีน เริ่มด้วยขนาด 20 มก.วันละครั้งหลังอาหารเช้า
หากมีอาการวิตกกังวลหรือกระวายร่วมด้วยให้ไดอะซีแพม ครั้งละ 2 มก.วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นร่วมด้วยในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ไดอะซีแพม 2-5มก.หรืออะมิทริปไทลีน10 มก.กินก่อนนอน
ถ้าอาการดีขึ้นไม่มาก ให้ค่อย ๆ เพิ่มฟลูออกซีทีนจนถึงขนาด 40-60 มก./วัน ถ้าอาการหายดีควรให้ยาต่อไปอีก 4-9 เดือน แล้วค่อย ๆ  ลดขนาดยาลงทุก 2-3 สัปดาห์ จนหยุดการรักษา แต่ถ้าลดยาลงแล้วพบว่าผู้ป่วย อาการเริ่มกลับมาอีก ให้เพิ่มยาขึ้นจนกระทั่งอาการหาย แล้วคงขนาดยานั้นต่อไปประมาณ 2-3 เดือน แล้วลองละครั้งหลังอาหารเช้า
ถ้าให้ยานาน 4 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และป้องกันไม่ให้มีการทำลายตัวเอง แพทย์จะพิจารณา ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องให้ยารักษาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2-3 ปี
ในรายที่ให้ยารักษาไม่ได้ผล หรือทนต่ออาการข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง  แพทย์อาจทำการรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy/ECT) วิธีนี้เพียงแต่ช่วยให้อาการดีขึ้น ไม่ได้ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบซ้ำดังนั้นจะต้องให้ยารักษาต่อเนื่องแม้หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว
นอกจากนี้  อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธี อื่น ๆ เช่นจิตบำบัดซึ่งมีอยู่หลายวิธีแสงบำบัด (light therapy) ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (seasonal affective disorder)
ผลการรักษา การใช้ยานับว่าได้ผลดีมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งจะลดระยะอาการลงเหลือประมาณ 3 เดือน ถ้าไม่รักษามักมีอาการประมาณ 9 เดือน ซึ่งจะทุเลาไปได้เอง แต่ก็จะกำเริบได้อีกในเวลา 6 เดือนต่อมา
หลังหยุดยา อาจมีอาการกำเริบได้ใหม่ประมาณ
ร้อยละ 50 (สำหรับอาการป่วยครั้งแรก)
ร้อยละ 70 (สำหรับอาการป่วยครั้งที่ 2)
และร้อยละ 90 สำหรับอาการ ป่วยครั้งที่ 3)
โฆษณา