Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2021 เวลา 12:19 • การศึกษา
กองทุนเงินทดแทน คืออะไร?
กองทุนเงินทดแทน คือกองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบ อันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยขึ้น
ส่วนเงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี ซึ่งจะประเมินจำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน (คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี) คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0%
โดยนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัย ตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้างนั้นๆ
นอกจากนี้ ทางกองทุนก็มีนโยบายให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ เพื่อให้นายจ้างให้ความสนใจในการจัดสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัยรวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันให้แก่ลูกจ้างให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย หลังจากนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ 4 ปี ติดต่อกัน
2
แล้วจากนั้นจะมีการคำนวณอัตราส่วนการสูญเสียเพื่อลดหรือต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินสมทบหลักที่นายจ้างต้องจ่ายในครั้งแรกที่ขึ้นทะเบียน โดยจะเริ่มจ่ายเงินตามอัตราประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป
1
อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนนั้น มิได้บังคับให้ทุกกิจการต้องจ่าย แต่ยังมีบางกิจการที่ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องจ่ายเงินสบทบ ได้แก่
1
- ราชการส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค/ส่วนท้องถิ่น
- รัฐวิสาหกิจ
- นายจ้าง ซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย ว่าวด้วยโรงเรียนเอกชน
- นายจ้างที่ด าเนินกิจการที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาก าไรทางเศรษฐกิจ
- นายจ้างอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง
1
⛳ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างจากกองทุนเงินทดแทน
เมื่อนายจ้างขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนแล้ว ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานให้กับนายจ้างจะได้รับการคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนทันที เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายหรือสูญหาย เนื่องจาการทำงานให้นายจ้าง
1
ซึ่งลูกจ้างจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน (กรณีหยุดงาน กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพของอวัยวะกรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ ดังนี้
2
1. กรณีเจ็บป่วย
- ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท ต่อการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย 1 ครั้ง หากเกินเบิกเพิ่มได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฏกระทรวงอีกไม่เกิน 200,000 บาท
1
- ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง หากแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี
1
2. กรณีสูญเสียอวัยวะ
- ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะ และระยะเวลา ที่กำหนด
1
กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูจะได้รับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
1
- ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท
1
- ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท
1
3. กรณีทุพพลภาพ
- ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง เป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี
4. กรณีตายหรือสูญหาย
- ค่าทำศพจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน (ปัจจุบันจ่าย 18,100 บาท)
- ค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 8 ปี แก่ทายาท
💦.....ก็นับว่าเป็นสิทธิประโยชย์ที่ลูกจ้างจะได้รับจากกองทุนเงินทดแทน ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียวนะคะ ขอบคุณสำหรับการติดตาม แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ
1
Cr. กระทรวงแรงงาน
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
สามารถเยี่ยมชมเราผ่านช่องทางอื่นตามลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ :
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
http://bsv-th.com/
Website :
http://acc.bsv-th.com/
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ ❤❤🙏🙏❤❤
4 บันทึก
28
50
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความรู้นอกตำรา
4
28
50
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย