Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สัตตวิฬาร์ บทความจิตวิทยา ปรัชญา นิยาย
•
ติดตาม
3 ส.ค. 2021 เวลา 01:12 • ปรัชญา
จิตวิทยาว่าด้วยการถูกครองวิญญาณ spirit possession psychosis
หลายพื้นที่ทั่วโลกพบผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าสามารถจัดอยู่ในอาการผิดปกติทางจิตวิทยาประเภทถูกวิญญาณร้ายเข้าสิงสู่หรือครองร่าง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันในแต่ละประเทศ กล่าวว่าผู้ที่ถูกครองร่าง มักเคยประสบปัญหาการถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจมาก่อน ถูกกดขี่ กลั่นแกล้งรังแก จนเกิดเป็นสุขภาพจิตตามมา รวมถึงวิธีการขับผี ไล่ปีศาจ ในแต่ละสถานที่ทั่วโลกมักเกี่ยวข้องกับการเฆี่ยนตี พันธนาการไว้กับที่ ล่าม ผูก กักขัง และให้อดอาหาร ซึ่งวิธีการดังกล่าวกลายเป็นการทำร้ายผู้ป่วยมากขึ้น แทนที่จะรักษาให้หายดี
ในหลายครั้ง ผู้ป่วยที่มีอาการไม่เป็นตัวของตัวเอง สูญเสียการควบคุม คุ้มดีคุ้มร้ายหรือเหมือนถูกผีเข้านั้น อาจเป็นโรคทางจิตวิทยาที่มีความซับซ้อนตั้งแต่ระดับอ่อนไปจนถึงเบาได้ทั้งหมด
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการ spirit possession psychosis มักจะมีลักษณะที่เด่นชัด คือ..
1. มีความเจ็บปวดทางร่างกายโดยปราศจากสาเหตุของโรค เช่นอยู่ๆก็ปวดหัว อยู่ๆก็ร้อนเหมือนมีไฟแผดเผา เหมือนมีเข็มตำตามร่างกาย บางคนจะรู้สึกทุกข์ทรมานจนต้องดิ้นทุรนทุราย
2. มีความเจ็บปวดทางจิตใจ เพราะไม่สามารถควบคุมความคิดของตนเองได้ รู้สึกเหมือนมีใครบางคน เอาความคิดที่ไม่ใช่ของตนเองมาใส่หัว หรือกระซิบความคิดนั้นเข้ามาข้างหูตลอดเวลา
3. ควบคุมร่างกายของตนเองไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวไปตามคำสั่งของความคิดแปลกประหลาดนั้น หรือไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ รู้สึกว่าร่างกายนั้นถูกยกขึ้น และชักใยให้เคลื่อนไปเอง
4. เห็นภาพหลอน เห็นภาพลวงตาของสิ่งที่น่าหวาดกลัว
5. ฝันร้าย ถึงสิ่งที่น่าหวาดกลัวจนถึงกับละเมอออกมาตอนหลับ และฝันซ้ำๆหลายต่อหลายครั้ง
6. สูญเสียสติสัมปชัญญะ หรือความทรงจำบางส่วนไป
หากปรากฏอาการในครั้งแรกแล้ว ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดอาการเป็นๆหายๆ คือเมื่อรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านหรือผ่านพิธีกรรม ผู้ที่ป่วยก็นึกว่าตนเองหายดีแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้รับการกระทบกระเทือนทางใจอีก อาการเดิมก็กลับมากำเริบใหม่ ผู้ป่วยบางคนสามารถเป็นอาการนี้ได้หลายๆครั้งในชีวิต
คลิกภาพของคนที่มักเป็นโรค spirit possession psychosis อาจมีลักษณะร่วมกันดังนี้
1.อยู่ในสังคมที่มีการกดขี่ มีความไม่เท่าเทียม เช่น สังคมที่ให้คุณค่าเพศหญิงน้อยกว่าเพศชาย สังคมที่กีดกันคนข้ามเพศ หรือสังคมที่มีการเหยียดเชื้อชาติ มีช่องว่างระหว่างชั้นวรรณะสูง
2.ผู้ป่วยแต่เดิมเป็นคนมีบุคลิกภาพแบบพึ่งพาสูง อ่อนไหว และค่อนข้างมีภูมิต้านทานทางจิตใจต่ำ
3.มีความคิดไม่เป็นระเบียบซึ่งจะแสดงออกผ่านการพูดที่ไม่ปะติดปะต่อกัน เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่ตอบอีกเรื่องหนึ่ง คุยเรื่องหนึ่งอยู่ดีๆก็วกไปพูดอีกเรื่องหนึ่ง ขาดความต่อเนื่องทางความคิด
4.ผู้ป่วยไม่มีความสนใจในการเข้าสังคม หมดความตื่นเต้นในกิจกรรมประจำวัน เบื่อหน่าย เฉื่อยชา ซึมเศร้า ไม่ค่อยพูดหรือสบตากับใคร เก็บตัว
เราสามารถสังเกตคนรอบตัวหรือตัวเองได้ว่าเราเป็นหนึ่งในบุคคลที่เข้าข่ายว่าต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ โดยสังเกตแต่เนิ่นๆ และตั้งสมมุติฐานว่าเขาคือผู้ป่วยไว้ก่อน มิใช่เรื่องของอำนาจลึกลับของสิ่งที่มองไม่เห็น ซึ่งคนๆนั้นอาจมีลักษณะที่คนภายนอกมองว่าล้มเหลวทางสังคม ไม่รับผิดชอบการงาน หรือเกียจคร้าน แต่จริงๆนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าเขาคนนั้นหรือสักวันอาจเป็นเราเอง...อาจมีปัญหาทางสุขภาพจิตที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ก็ได้
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ปีศาจศึกษา
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย