Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่างสมอง :: BRAIN Tank ::
•
ติดตาม
7 ส.ค. 2021 เวลา 08:19 • สุขภาพ
เลือกเครื่องวัดออกซิเจนอย่างไร ? ขาดออกซิเจนจริงไหม ? จะเชื่อผลที่อ่านได้อย่างไร ? และอีกหลายคำถามที่ชวนสงสัย 😲
ถ้าจะเรียกชื่อเต็มของ Pulse Oximeter (พัลซ์ ออกซีมิเตอร์) ว่า “เครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจน ของฮีโมโกลบินจากชีพจร” ตลอดบทความ ก็อาจขาดออกซิเจนก่อนอ่านจบ
4
3
ขออนุญาตเรียกว่า เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
แบบที่คุ้นหู น่าจะสื่อสารเข้าใจง่ายกว่า
1
และก่อนที่จะรู้วิธีแปลผลแบบที่น่าเชื่อถือ
ลองมาดูก่อนว่า ค่าที่เราได้จากเครื่องนี้คือค่าอะไร ?
🖐 ค่าที่วัดได้จากเครื่องออกซิเจนปลายนิ้ว
การนำออกซิเจนของร่างกาย ใช้เม็ดเลือดแดง
(Red Blood Cell, RBC) เป็นตัวนำ เพื่อให้ออกซิเจนไปเลี้ยงตามอวัยวะต่าง ๆ ได้
ซึ่งในเม็ดเลือดแดง มีสารประกอบที่สำคัญ
คือ ฮีโมลโกลบิน (Hemoglobin, Hb)
โดยปกติแล้ว Hb 1 โมเลกุล
จับกับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล
เพราะฉะนั้นในคนปกติทั่วไป Hb และ O2
ควรจับกัน ด้วยอัตราส่วน Hb : O2 = 1 : 4
จะถือว่า “ Hb มีความอิ่มตัวด้วยออกซิเจน ”
ซึ่งเราวัดค่านี้ ได้จากเครื่อง Pulse oximeter
ค่าที่ได้จะถูกเรียกว่า “ ระดับความอิ่มตัวออกซิเจน ” (Pulse oxygen saturation, SpO2)
10
หรืออาจเคยได้ยินคนใน รพ. เรียกสั้น ๆ ว่า
Sat (แซท) หรือ O2 Sat (ออกแซท)
เครื่องส่วนใหญ่ สามารถวัดชีพจร
(Heart rate, HR หรือ Pulse rate, PR) ได้ด้วย
ซึ่งควรอยู่ที่ประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที (bpm)
นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีการนำการวัด
“ คลื่นการไหลเวียนโลหิต ”
(Plethysmography waveform)
มารวมไว้ใน Pulse oximeter อย่างแพร่หลาย
ซึ่งควรดูประกอบการแปลผล SpO2 ทุกครั้ง
1
Pulse waveform ที่ดีควรเป็นตามรูปบนสุด (A, Normal signal) [ที่มา : www.uptodate.com]
🔥 สรุป 🔥
- ค่าที่วัดได้จากเครื่อง Pulse oximeter
เรียกว่า ระดับความอิ่มตัวออกซิเจน (SpO2)
- SpO2 ปกติ 95 - 100%
- ควรอ่านค่า SpO2 ร่วมกับดู Pulse waveform
หรือคลื่นการไหลเวียนโลหิตทุกครั้ง
2
ที่มา : healthcare-manager.com
🖐 ค่าปกติของ SpO2
ถ้าเราให้คนปอดปกติ 1 คน ไปยืนที่ระดับน้ำทะเล (ใช้เป็นค่าอ้างอิงของความดันบรรยากาศ 1 atm หรือ 760 mmHg)
1
1
ในอุดมคติแล้ว ควรวัดค่า SpO2 ได้ 100%
แต่ในความเป็นจริง ยอมรับค่า SpO2 ที่ 95-100%
1
💥 แต่ควรระวัง 💥
ในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง (COPD) อยู่เดิม
หรือคนที่สูบบุหรี่, ยามวน, ยาเส้นมานาน
อาจมีค่า SpO2 ปกติอยู่ที่ 88 - 92%
เพราะร่างกายปรับตัว ให้อยู่กับภาวะออกซิเจน
ที่น้อยกว่าปกติ มาเป็นเวลานาน
1
การรักษา ด้วยการพยายามให้ออกซิเจนมากเกินไป อาจทำให้สูญเสียรูปแบบการหายใจแบบเดิม
(Hypoxic drive) ได้
ในทางปฏิบัติ นิยมรักษาระดับออกซิเจนคนกลุ่มนี้
ให้อยู่ในช่วง 92 - 95% โดยพิจารณาร่วมกับลักษณะการหายใจด้วย
🖐 เลือกเครื่องวัดออกซิเจนอย่างไร ?
- เลือกขนาดของตัววัด ให้พอดีกับนิ้วมือ
ปกตินิยมใช้นิ้วชี้ หรือนิ้วกลางในการวัด
- ผู้ใหญ่กับเด็ก ควรเลือกใช้ Pulse oximeter ต่างขนาดกัน แต่ถ้ามีเครื่องเดียว แนะนำให้หนีบนิ้วโป้งเท้าเด็ก อาจได้ค่าที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น
2
- โดยส่วนตัว แนะนำให้เลือกเครื่องแบบที่มี
Pulse waveform ด้วย เพราะจะได้แน่ใจว่า
ค่า SpO2 ที่ได้ มีความน่าเชื่อถือจริง
2
- เลือกบริษัทที่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีราคาสูงเล็กน้อย แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะซื้อครั้งเดียวใช้ได้นาน ใช้ได้ทั้งบ้าน และสามารถตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว
2
เพราะถ้าเครื่องไม่ได้มาตรฐาน ค่าที่ได้อาจไม่ถูกต้อง อาจนำไปวัดไส้กรอก, วัดปลา แล้วค่าขึ้นได้ แบบนี้ 🤣 👇
2
7
blockdit.com
[รีหวิว] OXYGEN METER เครื่องวัดออกซิเจนจากปลายนิ้ว
OXYGEN METER เครื่องวัดออกซิเจนจากปลายนิ้ว
🖐 ก่อนทำการวัด อย่าลืม !
1
👉 ทำความสะอาดนิ้วมือ และเครื่องวัดก่อนใช้
👉 ล้างเล็บ หรือถอดเล็บปลอมออกก่อนทุกครั้ง
👉 ทำให้นิ้วมืออุ่น ด้วยการถูนวด ซุกรักแร้ 🤭
เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมาที่ปลายนิ้ว
👉 ถ้าคนไข้ตัวสั่น ยังไม่ควรวัด เพราะจะทำให้แปลผลไม่ได้ ค่าที่ได้อาจผิดพลาด
1
3
🖐 ขั้นตอนการใช้ Pulse Oximeter
สรุปตามคำแนะนำของ WHO ใน Pulse Oximetry Training Manual ให้คำแนะนำการใช้เครื่องไว้ดังนี้
👉 เปิดเครื่อง แล้วรอให้เครื่องบูสต์ตัวเองก่อน
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำ การใช้งานของแต่ละบริษัทด้วย
👉 หนีบเครื่องลงบนนิ้วที่สะอาด อย่าหนีบแน่นหรือหลวมจนเกินไป
👉 ควรลดการรบกวนจากแสงภายนอก เพี่อลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดจากแสงภายนอก รบกวนแหล่งกำเนิดแสงของเครื่อง
4
👉 วางแขนที่ทำการวัดให้อยู่นิ่ง ระหว่างรอเครื่องประมวลผล
👉 อ่านค่า SpO2 เมื่อ Pulse waveform หรือคลื่นของชีพจร อยู่ในรูปแบบปกติที่คงที่แล้ว
1
3
👉 อย่าลืมตั้งค่าเดือนไว้เสมอ หากออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์ อาจตั้งไว้ที่ประมาณ 92%
🖐 การแปลผลค่า SpO2
💥 อยากย้ำอีกครั้งว่า การแปลผล SpO2 ควรดูประกอบกับ คลื่นการไหลเวียนโลหิตเสมอ ซี่งถ้าเครื่องทั่วไปวัดค่า ได้ต่ำกว่าประมาณ 70% อาจแปลผลได้ยาก เนื่องจากมีข้อจำกัด ทางด้านเทคนิคของเครื่อง
💥 และควรอ่านค่าที่ได้ ประกอบกับสังเกต
ลักษณะการหายใจ หรือดูอาการโดยรวมร่วมด้วยเสมอ
1️⃣ คนปกติ 95 - 100%
2️⃣ ขาดออกซิเจนเล็กน้อย
(Mild hypoxemia) 90 - 95%
3️⃣ ขาดออกซิเจนปานกลาง
(Moderate hypoxemia) 70 - 90%
อาการที่พบ ได้แก่ ซีด, ปลายมือปลายเท้าเย็น, หอบเหนื่อย, หายใจเร็ว, ชีพจรเต้นเร็ว, ปวดหัว, เวียนหัว, ถามตอบไม่ค่อยรู้เรื่อง, ถ้าวัดความดันโลหิต อาจพบว่า สูงขึ้นกว่าค่าเดิมเล็กน้อย
1
4️⃣ ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง
(Severe hypoxemia) < 70%
อาการที่พบนอกเหนือจาก Moderate hypoxemia แล้ว อาจเริ่มมีตัวเขียว, ริมฝีปากม่วงหรือเขียวคล้ำ, ตาลาย, ซึม, สับสน, ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองช้ากว่าปกติมาก, อาจพบได้ทั้ง มีชีพจรเร็วร่วมกับความดันโลหิตสูง หรืออาจพบในทางกลับกัน คือชีพจรช้า และความดันโลหิตต่ำ
ภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง จนปลายมือเขียว [ที่มา : https://medicoapps.org/m-cyanosis/]
🖐 ข้อควรระวังในการแปลผล SpO2
💥 ความน่ากลัวของโควิด-19
คือการทำให้เกิดภาวะ Happy Hypoxia
หรือ Silent Hypoxia ได้ คือมีค่า SpO2 ต่ำ
อาจต่ำจนถึง 60-70% แต่ยังสามารถพูดคุยได้ปกติ โดยไม่มีอาการหอบเหนื่อย
1
2
ซึ่งถ้าเราไม่มี Pulse Oximeter จะไม่สามารถ ตรวจพบความผิดปกตินี้ได้เลย อาจรู้อีกทีตอนอาการหนักมากแล้ว
ซึ่งกลไกการเกิดยังไม่ชัดเจน แต่บางการวิจัยสันนิษฐานว่า เกิดจากการที่ ไวรัสโคโรนา สามารถหลอกสมอง ให้เข้าใจว่า ร่างกายไม่อยู่ในภาวะขาดออกซิเจน จึงไม่มีอาการแสดงต่าง ๆ ออกมา
💥 คนที่เป็นโรคปอดอยู่เดิม เช่น ถุงลมโป่งพอง (COPD), หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, เป็นหรือเคยเป็นวัณโรคปอด อาจมีค่า Baseline SpO2 ต่ำกว่าคนทั่วไปได้
ปอดของคนเป็นถุงลมโป่งพอง จะเห็นเป็นสีดำกว่าปกติ เพราะมีอากาศค้างอยู่เยอะ [ ที่มา : https://radiopaedia.org/cases/chronic-obstructive-pulmonary-disease-marked-hyperinflation?lang=us ]
💥 คนที่หัวใจมีปัญหาเรื่อง การบีบตัวอยู่เดิม
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจโต, กล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน ก็อาจมี SpO2 เดิม ที่ต่ำกว่าปกติได้เช่นกัน
💥 คนที่มีภาวะซีด โดยเฉพาะค่าความเข้มข้นเลือด (Hematocrit, Hct) < 10%
💥 คนที่มีผิวคล้ำ มีเม็ดสีที่ผิวหนังมาก
อาจทำให้ค่าต่างไปจากความเป็นจริง
บางการศึกษาบอกว่าอยู่ในช่วง -4 ถึง +8%
1
2
💥 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ หรือมีบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในที่สูง อาจมี SpO2 เดิม ต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว
1
2
💥 กรณีที่ไม่แน่ใจค่าที่ได้ ถ้าอยู่ รพ.อาจนำเครื่อง ไปตรวจสอบกับเครื่องมาตรฐาน เพื่อทำการตั้งค่าใหม่
แต่ในทางปฏิบัติข้างเตียงผู้ป่วย บุคลากรนิยมนำมาวัดกับมือตัวเอง เพื่อดูว่า เครื่องทำงานได้ปกติหรือไม่ และอาจช่วยให้เครื่องหายงงได้
(แต่นี่ไม่ใช่วิธีมาตรฐานนะคะ 🤭)
แต่ถ้าอยู่บ้าน ลองวัดกับคนในบ้าน ที่ดูปกติสุดก่อนก็ได้ ถ้าโชคไม่ดี สงสัยติดโควิดทั้งครอบครัว อาจวัดค่า SpO2 แล้วพิจารณา ประกอบกับอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นค่ะ 🤗
🔥 สรุป 🔥
- เลือกเครื่อง Pulse oximeter ที่มีกราฟแสดง
คลื่นการไหลเวียนโลหิตด้วย จะดีมาก
- ทำความสะอาดเล็บทุกครั้ง
และทำนิ้วมือให้อุ่นก่อนใช้งานทุกครั้ง
- ค่า SpO2 ปกติอยู่ที่ 95 - 100%
- ถ้า SpO2 < 70% ถือว่า มีภาวะ
ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง (Severe hypoxemia)
- แต่ควรระวังในคนที่มีโรคประจำตัวเดิม
อาจมีค่า SpO2 ต่ำกว่าปกติ ถ้ามีเครื่องอยู่แล้ว
วัดค่าปกติไว้เป็นเกณฑ์ (Baseline SpO2) จะดีมาก
1
- ถ้าค่าที่ได้ผิดปกติ ต้องพิจารณาอาการโดยรวม
และสังเกตการหายใจที่ผิดปกติร่วมด้วยเสมอ
- ในโรคโควิด-19 อาจมี SpO2 ต่ำ แต่ไม่แสดงอาการ (Happy Hypoxia หรือ Silent Hypoxia)
หวังว่าพอมีประโยชน์บ้างนะคะ 🤭
หมายเหตุ : กราบขออภัยผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
หากบทความนี้ ให้ข้อมูลที่รวบรัดในส่วนของ SaO2, SpO2 และไม่ได้กล่าวถึง Partial pressure โดยละเอียด หรือใช้คำบางส่วน ไม่ถูกต้องตามหลักสรีรวิทยาแบบ 100%
14
แต่เพื่อเป็นการง่าย ต่อการทำความเข้าใจ
และการนำไปใช้จริงค่า
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🧠 😄🙏
อ้างอิงจาก
Egan’s Fundamental of Respiratory care. 2020
Pulse Oximetry Training Manual.
https://www.who.int/patientsafety/safesurgery/pulse_oximetry/who_ps_pulse_oxymetry_training_manual_en.pdf?ua=1
AARC Clinical Practice Guideline: Transcutaneous Monitoring of Carbon Dioxide and Oxygen: 2012
http://rc.rcjournal.com/content/57/11/1955
Oxygen Saturation Index: A new predictor for respiratory failure
http://www.aarctimes.com/publication/?i=648568&article_id=3593889&view=articleBrowser
15 บันทึก
64
173
47
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อ่างกาย 🧠👫✨
15
64
173
47
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย