15 ส.ค. 2021 เวลา 11:19 • สุขภาพ
รู้จักอาการไอ ให้มากกว่าเดิม 😷
1
ไอมีเสมหะ แล้วกินแต่ยาแก้ไอ
เมื่อไหร่จะหาย ?
2
บางคนไอแห้ง ๆ แล้วจิบแต่ไบโซลวอน
ส่วนคนไอมีเสมหะ กลับกินแต่ยาแก้ไอเม็ดเหลือง
ซื้อยาแก้ไอกินเอง ผิดประเภทแบบนี้
เมื่อไหร่จะรักษาหาย ? 🤷‍♀️
ยาแก้ไอ เป็นหนึ่งในยาที่คนทั่วไปซื้อได้เอง
โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
(Over-the-counter-drugs, OTC)
แต่หลายครั้งที่พบว่า ยาแก้ไอที่ใช้ รักษาไม่ตรงจุด ทำให้คนไข้เสียโอกาส ที่จะหายจากอาการไอ หรือไข้หวัดตั้งแต่ในช่วงแรก
บางครั้งอาจกลายเป็นไอเรื้อรัง
หรือกลับทำให้ไข้หวัดธรรมดา
กลายเป็นปอดอักเสบติดเชื้อไป
📚 บทความนี้จะพูดถึง
1. สาเหตุของการไอ
2. หลักการรักษาการไอ
3. กลุ่มยาแก้ไอในปัจจุบัน
4. ตัวอย่างของยาแก้ไอ
🤧 ทำไมต้องไอ ?
อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย
ที่มีต่อสิ่งแปลกปลอม
1
เช่น เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสในคอ ตัวรับรู้การไอ (Cough receptors) ในทางเดินหายใจ จะส่งสัญญาณไปที่สมอง เพื่อกระตุ้นให้กระบังลม, กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง และกล้ามเนื้อช่วยหายใจต่าง ๆ ให้เกิดการไอ เพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกมา
กลไกการไอ
เพราะฉะนั้นการไอ คือกระบวนการปกป้องร่างกายอย่างหนึ่ง
1
การทานยาเพื่อกดการไอ จึงไม่ใช่คำตอบหลัก
ของการรักษาอาการไอ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
2
🤧 หัวใจสำคัญของการรักษาอาการไอ
🔥 การรักษาอาการไอ ที่สำคัญที่สุด
คือการ ระบุสาเหตุของการไอ
บางคนมา รพ. เพื่อต้องการให้หยุดไอทันที
แต่ต้องเสียใจที่บอกว่า มันไม่มียานั้น
และหลายครั้งที่พบว่า บางคนไอเรื้อรัง
ซื้อยาทานเองมาหลายเดือน
เพราะเข้าใจว่า เกิดจากภูมิแพ้
แต่แท้จริงแล้ว กลับเป็นกรดไหลย้อน (GERD)
บางคนเป็นไซนัสเรื้อรัง ที่ไม่ได้ทานยาฆ่าเชื้อ
ส่วนอีกกลุ่มเกิดจากยาลดความดัน
กลุ่ม ACE inhibitors เช่น Enalapril, Captopril
2
ยาลดความดัน กลุ่ม ACE Inhibitors ที่ทำให้เกิดอาการไอได้
ส่วนที่รุนแรงที่สุดคือ ผู้สูงอายุหลายราย
มีหัวใจขาดเลือดอยู่เดิม มีภาวะหัวใจวาย
จนน้ำท่วมปอด ทำให้เกิดอาการไอไม่หายก็มี
3
ยิ่งช่วงโควิดแบบนี้ อาการไอทั้งหลาย
อาจทำให้ญาติคนไข้สับสนกว่าเดิม
ถ้าไอนานเป็นสัปดาห์ยังไม่หาย
ไป รพ. ดีกว่าค่ะ
2
🤧 การเลือกใช้ยาแก้ไอ
ปัจจุบันยาแก้ไอแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
1️⃣ ยากดการไอ
(Antitussives, Cough Suppressants)
เวลาเรียกยาแก้ไอ ในทางการแพทย์
จะหมายถึงยากลุ่มนี้ โดยยาจะออกฤทธิ์กดการไอ ที่ศูนย์การไอโดยตรง
🔥 ซึ่งถ้าไอแห้ง ๆ ควรเริ่มจากยากลุ่มนี้ ส่วนคนที่ไอมีเสมหะ แล้วเริ่มใช้ยากลุ่มนี้ อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
3
เพราะแทนที่จะได้ไอ เพื่อขับเอาเชื้อโรค
และของเสียออกมากับเสมหะ กลับไปใช้ยา กลุ่ม Dextromethorphan (ยาแก้ไอเม็ดเหลือง) เพราะอยากหยุดไอ
แต่นั่นยิ่งทำให้เชื้อโรค คลาคล่ำในทางเดินหายใจ พอยาหมดฤทธิ์ ก็จะกลับมาไอยิ่งกว่าเดิม
📌 สรุปว่า ยากดการไอ เหมาะสำหรับอาการไอแห้ง ๆ อย่างคนที่เริ่มเป็นหวัดในระยะแรก หรือเคสโควิดที่ไอมาก ๆ จนเหนื่อย แต่ไม่ค่อยมีเสมหะ ก็เหมาะกับการใช้ยากลุ่มนี้
2️⃣ ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
หลายครั้งที่ยาละลายเสมหะ อย่างเช่น
Bisolvon (ไบโซลวอน), Ambroxol (แอมบรอกซอล) ถูกเรียกว่า ยาแก้ไอ
ทำให้เกิดความเข้าใจผิด จนนำไปรักษาไอแห้ง ๆ ที่เกิดจากหวัด ซึ่งเป็นการใช้ยาไม่ถูกวัตถุประสงค์ ที่พบได้บ่อยมากกกกกกกก 😷
🔥 หลักการของยาละลายเสมหะ คือลดความเหนียวของเสมหะ โดยลดพันธะระหว่างไกลโคโปรตีนในเสมหะ
📌 หากไอแบบมีเสมหะ จึงควรนึกถึงยากลุ่มนี้เป็นอันดับแรก ร่วมกับการดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
1
3️⃣ ยาขับเสมหะ (Expectorants)
ยากลุ่มนี้กระตุ้นให้เกิดการขับเสมหะออกมา
เน้นการทำทางเดินหายใจให้โล่ง
โดยเพิ่มการหลั่งสารน้ำออกมา
เพื่อให้ขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น
การใช้ในระยะแรก อาจพบว่า ทำให้มีเสมหะเยอะกว่าเดิม อาจรู้สึกว่าทานยาแล้วรักษาไม่หาย
แต่เมื่อเสมหะออกหมด อาการไอจะดีขึ้น
ยากลุ่มนี้ยังมีหลักฐานเรื่องประสิทธิภาพ
ไม่ชัดเจน สำหรับ อย.อเมริกา รับรองการใช้แค่ตัวเดียว คือ Guaifenesin
📌 การใช้ยากลุ่มนี้ ร่วมกับยาละลายเสมหะ
จะช่วยขับเสมหะได้มากขึ้น
🔥 สรุปการเลือกยาแก้ไอ 🔥
😷 ไอแห้ง : ใช้ยาแก้ไอ กลุ่มกดการไอ
😷 ไอมีเสมหะ : ใช้ยาขับเสมหะ กับยาละลายเสมหะร่วมกัน
3
🤧 ตัวอย่างยาแก้ไอ
1️⃣ ยากดการไอ (Antitussives, Cough Suppressants)
Dextromethorphan
💊 Dextromethorphan (เดกซ์โทรเมโทรแฟน)
ยารักษาอาการไอแห้งที่พบบ่อยที่สุด เป็นกลุ่ม
NMDA receptor antagonist
ชื่อการค้า : A-Tussin, Romilar, Strepsils Dry Cough, Dextromed
💊 Codeine (โคเดอีน)
บางคนเรียกว่า ยาแก้ไอเม็ดม่วง
เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น ที่ต้องให้แพทย์สั่ง
หรือมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น
🔥 แต่มียาแก้ไอน้ำดำ (Brown mixture) บางชนิด ที่สามารถซื้อทานเองได้ แต่ถ้าใช้ต่อเนื่องนานเกินไป อาจทำให้ติดได้เช่นกัน
ชื่อการค้า : Ropect, Codipront, Codepect
💊 Levodropropizine
1
ชื่อการค้า : Levopront
4
Codeine ชื่อการค้า Codepect®
2️⃣ ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
Bromhexine ชื่อการค้า Bisolvon®
💊 Bromhexine (บรอมเฮกซีน)
ชื่อการค้า : Bisolvon, Bromcolex, Cohexine, Disol
💊 Ambroxol (แอมบรอกซอล)
ชื่อการค้า : Strepsil Chesty Cough, Mucolid, Mucosolvan, Amtuss
💊 Acetylcysteine (อะเซทิลซิสเทอีน)
ชื่อการค้า : NAC Long, Flemex-AC, Fluimucil, Mucolid-SF
ยาละลายเสมหะ NAC Long
3️⃣ ยาขับเสมหะ (Expectorants)
Guaifenesin
💊 Guaifenesin (ไกวเฟนิซิน)
ชื่อการค้า : Bronchonyl, Glycolate, Royalin
⏺ ยากลุ่มที่ผสมยาแก้ไอ แต่ละกลุ่มรวมกัน
ชื่อการค้า : เช่น Bisolvon Ex, Robitussin
ยาผสม
🔥 คำเตือน 🔥
ปัจจุบันมีการนำยาแก้ไอ มาใช้ผิดประเภทมากขึ้น เช่น การนำยาแก้ไอน้ำดำ, ยาโคเดอีน
มาผสมเป็นสูตรยาเสพติด 4x100
3
ถึงแม้จะเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แต่ก็ยังเห็นคนไข้ซื้อเองได้ และมักจะใช้เกินขนาด จนเกิดอาการชักเกร็ง จนถูกนำส่ง รพ. ได้เรื่อย ๆ
หรือการใช้ Dextromethorphan ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน ร่วมกับการดื่มสุรา เพื่อทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ซึม จนต้องส่ง รพ. ก็ยังมีให้เห็น
1
ถ้าบ้านไหนมีลูกวัยรุ่น แล้วลูกซื้อยาแก้ไอบ่อยเกินไป ก็ลองสังเกตลูกดูดี ๆ นะคะ
ขอบคุณค่า
อ่างสมอง 🧠🙏
🤓🙏 อ้างอิงจาก
Goodman & Gilman’s The Pharmacological Basis of Therapeutics (2018)
Basic & Clinical Pharmacology (2020)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา