23 ก.ย. 2021 เวลา 03:15 • ปรัชญา
บทที่ 21 ความอุดมสมบูรณ์ของทวีปสุทัสสนะ (สระฉัททันต์ 1/2)
เราได้สำรวจที่ราบทวีปฝั่งไกรลาสและทวีปฝั่งจิตตกูฏและกาฬกูฏไปแล้ว ต่อไปเราจะเวียนขวาไปสำรวจทวีปด้านยอดเขาสุทัสสนะหรือ"กุรุทวีป"กันบ้าง โดยเราจะเริ่มเดินทางไปตามสายน้ำ โดยใช้ภูเขาหิมพานต์เป็นต้นทางและไปสุดปลายทางกันที่ขั้วโลกใต้ของโลกหิมพานต์เมื่อน้ำไหลลงสู่มหาสมุทรเช่นเดิม
1
สายน้ำที่ไหลผ่านเชิงเขาหิมพานต์ด้านสุทัสสนะนั้นไหลผ่านระหว่างกาญจนบรรตซึ่งมีลักษณะพิเศษ เพราะกาญจนบรรพตบริเวณนั้นมีถ้ำทองอยู่แห่งหนึ่ง ภายในถ้ำเป็นที่อยู่ของเหล่ากุมภัณฑ์และรากษสนับพันตน เส้นทางของถ้ำทอดยาวสู่ใจกลางกาญจนบรรพตอันเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ ภายในโถงนั้นร้อนระอุและลุกโชนจากพลังของแมกมาอยู่ตลอดกัปราวกับเปลวเพลิงจากอเวจีมหานรก ณ ใจกลางเปลวเพลิงมรณะ มีต้นไม้ทิพย์ต้นหนึ่งงอกงามขึ้น นั่นคือต้นมะม่วงนามว่า"อัพภันตระ" มิหนำซ้ำต้นมะม่วงอัพภันตระยังถูกครอบห่อหุ้มด้วยตาข่ายเหล็กทรงกลมลึกลงไปห่อหุ่มแม้กระทั้งรากถึง 7 ชั้น เพื่อมิให้ผู้ใดเข้าไปกินผลมะม่วงทิพย์ได้ ต้นมะม่วงอัพภันตระอันเป็นทิพย์นี้ถูกปลูกโดยท้าวเวสสุวรรณมหาราชผู้เป็นนายแห่งยักษ์ทั้งหลาย และคอยสั่งการให้เหล่ากุมภัณฑ์และรากษสทำหน้าที่คอยคุ้มกันต้นไม้ทิพย์มิให้ถูกแตะต้องโดยผู้อื่น
1
Edit from Lava forge by silentfield concept artist On ArtStation
ท้าวเวสสุวรรณนั้นหวงแหนผลมะม่วงทิพย์อัพภันตระต้นนี้ยิ่งนัก ด้วยว่าหากผู้ใดได้กินผลสุกของมะม่วงอัพภันตระ ผู้นั้นจะกลายเป็นผู้มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ หรือหากแม้นนำผลมะม่วงสุกอัพภัณตระให้กับหญิงแพ้ท้องกิน เด็กในครรภ์ของหญิงผู้นั้นจะออกมาเป็นบุตรชายและได้ขึ้นเป็นถึงพระเจ้าจักรพรรดิราช ทำให้ท้าวเวสสุวรรณหวงแหนต้นมะม่วงอัพภันตระยิ่งนัก ในบางคราวท้าวเวสสุวรรณก็จะนำผลมะม่วงอัพภันตระไปถวายแด่มหาฤาษีผู้ทรงฤทธิ์เดชที่ตนเคารพบ้าง กินเองบ้าง แต่จะไม่ยอมให้ผู้อื่นเข้าไปแตะต้องได้โดยง่าย
1
เมื่อสายน้ำไหลผ่านกาญจนบรรพตออกสู่ที่ราบ สายน้ำจึงได้ชื่อว่า"ภัทรนที"อาณาบริเวณที่ภัทรนทีไหลผ่านเต็มไปด้วยป่าไม้ดอก ไม้ผล อันอุดมสมบูรณ์ ถ้าใช้แผนที่แบบโบราณโดยให้ภูเขาหิมพานต์เป็นศูนย์กลางทวีปด้านสุทัสสนะหรือกุรุทวีปจะถือว่าเป็นทิศเหนือของแผนที่ แต่ในแผ่นที่โลกหิมพานต์แบบปัจจุบันจะเป็นเพียงด้านข้างด้านหนึ่งของโลกหิมพานต์เท่านั้น
1
ผืนป่าของทวีปฝั่งสุทัสสนะนั้นเต็มไปด้วยไม้ดอกนาๆพันธุ์ โดยเฉพาะต้นปาริชาติ(ทองกวาว)และต้นชัยสุวัณณ์(ชัยพฤกษ์) รวมถึงพันธุ์ไม้อื่นๆต่างออกดอกงดงามหลากสีสันสลับกันไปตามฤดูกาลตลอดทั้งปี ทำให้เชิงเขาหิมพานต์ด้านสุทัสสนะและกุรุทวีปมีต้นกัลปพฤกษ์ชนิดต่างๆบังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณรอบสระฉัททันต์
1
และภาคพื้นแถบนี้ยังเต็มไปด้วยธัญญาหารและถั่วนาๆชนิด จึงมีสัตว์จำพวกช้างจำนวนมากต่างพากันมาอาศัยธัญญาหารอันอุดมสมบูรณ์ในแถบนี้เป็นอาหาร เมื่อภัทรนทีไหลลงใต้ผ่านป่าอันอุดมสมบูรณ์จึงเบี่ยงตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ถ้าใช้แผนที่แบบโบราณอันมีภูเขาหิมพานต์เป็นศูนย์กลาง ภัทรนทีนั้นจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อหลบติรัจฉานบรรพตทองคำของกุรุทวีป ชาวหิมพานต์สมมตินามติรัจฉานบรรพตด้านนี้ว่า"ทัญฑกหิรัญบรรพต" ภัทรนทีไหลเบี่ยงทัญฑกหิรัญบรรพตเข้าสู่สระขนาดใหญ่แห่งหนึ่งนามว่า"สระฉัททันต์" สระแห่งพญาช้างเผือก 6 สี
1
Modern Art Handmade Elephant Painting by Maa Ambey Industries, Jaipur
สระฉัททันต์มีความกว้างยาวประมาณ 50 โยชน์ (800 กม.) และใจกลางสระลึกประมาณ 50 โยชน์ (800 กม.) และมีรัศมีพื้นที่โดยรอบ 50 โยชน์ (800 กม.) รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด 150 โยชน์ (2,400 กม.) เช่นเดียวกับสระใหญ่อื่นๆ โดยพื้นที่รอบสระฉัททันต์มีลักษณะเป็นแนวเขาล้อมรอบคล้ายปากปล่องภูเขาไฟที่เกิดขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันมาถึง 7 ชั้น โดยวงแหวนแนวเขารอบนอกนั้นมีขนาดเล็กสุดไล่ไปหาวงแหวนแนวเขาด้านในซึ่งมีขนาดใหญ่สุด ส่วนบริเวณไหล่เขาด้านนอกของแต่ละแนวเขานั้นเต็มไปด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์ แต่ไหล่เขาด้านในกลับมีความชันมากและไม่มีพืชใดๆขึ้นบริเวณไหล่เขา จนเห็นเนื้อเขาอันเป็นแร่นาๆชนิดได้อย่างชัดเจน จึงได้เปรียบเทียบแนวเขารอบสระฉัททันต์คล้ายกับปากปล่องภูเขาไฟที่เกิดซ้อนกันเป็นชั้นๆแต่มีขนาดใหญ่กว่าโลกมนุษย์มาก
1
ภูเขาไฟซ้อนภูเขาไฟบนโลกมนุษย์ เกาะโอกะชิมะ ญี่ปุ่น
โดยชาวหิมพานต์ตั้งชื่อให้กับวงแหวนแนวเขาทั้ง 7 ชั้นไว้ดังนี้
ชั้นที่ 1 เป็นวงแหวนเทือกเขารอบนอก ชื่อ จุลลกาฬบรรพต วงแนวเขาเป็นแก้วไพฑูรย์ล้วน มีความสูงและหนา 1 โยชน์ (16 กม.) )
1
ชั้นที่ 2 ถัดเข้ามาด้านใน ชื่อ มหากาฬบรรพต วงแนวเขาเป็นแร่มรกตล้วน มีความสูงและหนา 2 โยชน์ (32 กม.)
1
ชั้นที่ 3 ชื่อ อุทกปัสสบรรพต วงแนวเขาเป็นอัญชันรัตนะ (แร่ลาพิส ลาซูลี) มีความสูงและหนา 3 โยชน์ (48 กม.)
1
ชั้นที่ 4 ชื่อ จันทปัสสบรรพต วงแนวเขาเป็นแก้วผลึกคริสตัล ที่ยามกลางวันจะสะท้อนแสงอาทิตย์เป็นประกายสีรุ้งงดงาม แข่งกับรุ้งที่เกิดจากละอองน้ำ เมื่อถึงยามกลางคืนก็ส่องแสงสว่างดุจแสงจันทร์ทรงกลด มีความสูงและหนา 4 โยชน์ (64 กม.)
1
ชั้นที่ 5 ชื่อ สุริยปัสสบรรพต วงแนวเขาเป็นชาติหิงคุ คือชาดผสมกับทองดอกบวบ(ทองสำริด) เมื่อชาติหิงคุต้องแสงอาทิตย์ระหว่างเขาก็สะท้อนแสงออกมาดังแสงสุริยะยามเช้า มีความสูงและหนา 5 โยชน์ (80 กม.)
1
ชั้นที่ 6 ชื่อ มณีปัสสบรรพต วงแนวเขาเป็นรัตนชาติหลากสีสันเป็นประกายงดงาม มีความสูงและหนา 6 โยชน์ (96 กม.)
1
ชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นวงแนวเขาชั้นในสุดและสูงที่สุด ชื่อ สุวรรณปัสสบรรพต เป็นทองคำบริสุทธิ์ล้วน มีความสูงและหนา 7 โยชน์ (112 กม.)
1
สระฉัททันต์ถือเป็นสระที่เข้าไปได้ยากรองจากสระอโนดาต เพราะถึงแม้แนวเขาจะมีความสูงไม่มาก แต่กลับไม่มีเส้นทางพื้นราบเข้าสู่สระ ต้องฝ่าด้านวงกำแพงเขาของสระฉัททันต์เข้าไปถึง 7 ชั้น หรือมิฉะนั้นก็ต้องเหาะเข้าไป
1
เมื่อภัทรนทีไหลมาถึงทุ่งหญ้าแพรกขนาดใหญ่อันเขียวขจีก็พบเข้ากับกำแพงรอบนอกของจุลลกาฬบรรพต อันมีไหล่เขาเต็มไปด้วยทุ่งเลาขนาดยักษ์(Pampas) ขึ้นสลับกับทุ่งหญ้าและป่าแขมหนาทึบ ดอกเลานั้นจะเบ่งบานเป็นช่อปุกปุยสีทองอ่อนๆในช่วงฤดูหนาว ทำให้ยามกลางวันทุ่งเลาจะส่องแสงสีทองอ่อนๆให้ความรู้สึกอบอุ่นสบายตา ยามอาทิตย์กำลังขึ้นและตกทุ่งเลาจะสะท้อนแสงจนกลายเป็นสีอำพันอันแสนงดงาม เมื่อถึงยามค่ำดอกเลากลับสะท้อนกับแสงจันทร์นวลจนทุ่งเลาสว่างดังสีเงินงดงามไปทั่ว สายน้ำจึงต้องใช้สติปัญญาในการหาทางไหลแทรกซึมเข้าไปตามรอยแยกใต้กำแพงจุลลกาฬบรรพตให้จงได้
1
ทุ่งเลา ภูชี้ฟ้า ไทย
เมื่อสายน้ำไหลผ่านจุลกาฬบรรพตไปได้จึงทำการเลือกเฟ้นเส้นทางอันเหมาะสมที่ตนจะสามารถไหลแทรกผ่านรอยต่อระหว่างจุลกาฬบรรพตและมหากาฬบรรพต ซึ่งมีป่าหวายและไม้หนามรกชัฏอยู่เบื้องบนไปให้ได้ เมื่อผ่านไปได้สายน้ำได้แทรกตัวผ่านใต้มหากาฬบรรพตอันมีไหล่เขาเต็มไปด้วยป่าอ้อหนาทึบ ในที่สุดความเพียรของสายน้ำก็ไม่สูญเปล่า เมื่อพบกับรอยแยกเล็กๆบริเวณรอยต่อของมหากาฬบรรพตและอุทกปัสสบรรพต จึงพากันแทรกซึมขึ้นไปจนพื้นที่รอยต่อนั้นกลายเป็นโคลนลึก ทว่านั้นกลับยังไม่เพียงพอให้น้ำจำนวนมหาศาลไหลขึ้นมาได้ สายน้ำจึงเพียรแทรกซึมขึ้นไปตามแนวเทือกเขา เกิดเป็นตาน้ำบริเวณยอดเขาอุทกปัสสบรรพต อันเป็นป่าไผ่และเป็นที่อยู่ของช้างจำนวนมาก
1
น้ำบางส่วนไหลผ่านใต้อุทกปัสสบรรพตจนไปพบเข้ากับรอยแยกที่ปลายทางบริเวณรอยต่อระหว่างอุทกปัสสบรรพและจันทปัสสบรรพตจึงเอ่อขึ้น เกิดเป็นแม่น้ำที่มีลักษณะเป็นวงแหวนบริเวณรอยต่อรอบนอกแนวเขาจันทปัสสบรรพต แม่น้ำสายนี้เรียกว่า “แม่น้ำโรหนะ”
1
The Guadian by albino-Z on deviantART | Creature Design Inspiration
แม่น้ำโรหนะนั้นส่องสว่างดุจแสงจันทร์ เพราะทรายก้นแม่น้ำของจันทปัสสบรรพตเต็มไปด้วยแก้วคริสตัลส่องประกาย เมื่อสัมผัสกับแสงและความใสบริสุทธิ์ดุจแก้วผลึกของน้ำ จึงส่องประกายเป็นสีขาวราวกับแสงจันทร์ไปทั้งแม่น้ำ ตัดกับสีของหญ้าเขียวชอุ่มนุ่มเท้าริมแม่น้ำ ก่อนที่น้ำบางส่วนจะไหลออกจากพื้นที่ผ่านรอยแยกของแนวเทือกเขาในอีกด้านของวงแหวน สายน้ำบางส่วนยังคงพยายามต่อไปด้วยการแทรกซึมเข้าสู่ภายในจันทปัสสบรรพตแล้วพุ่งขึ้นสู่ยอดเขา อันเป็นที่อาศัยของเหล่าฝูงนก รวมถึงกินนรและกินรีจำนวนมาก จนเกิดเป็นตาน้ำมากมายตามแนวยอดเขาโดยรอบ
1
น้ำนั้นพวยพุงออกมาจากตาน้ำแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโรหนะอีกครั้ง กลายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่มากมายรอบจันทปัสสบรรพต พวกกินนรและกินนรีเรียกตาน้ำเหล่านี้ว่า “ดวงตาแห่งสวรรค์” น้ำตกทุกสายบนจันทปัสสบรรพตต่างไหลลงไปเติมน้ำให้กับแม่น้ำโรหนะอย่างไม่เคยพร่อง ช่างเป็นภาพอันงดงามน่าปลื้มปิติ ราวกับเอายอดเขาไกรลาสมาย่อจำลองไว้ ณ ที่แห่งนี้เลยทีเดียว
1
Os belos cenários de Ryky – IntoxiArts
ทว่าภาระกิจของสายน้ำในการเข้าสู่สระฉัททันต์นั้นยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อสายน้ำสงบนิ่งลงได้ จึงพิจารณาว่า บัดนี้เราจะปล่อยสายน้ำอันแผ่ขยายของเราอย่างตามสบาย ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแสงอาทิตย์แผดเผาผิวน้ำแห่งโรหนะจนระเหยกลายเป็นเมฆหมอกแล้วเขาไปตกเป็นฝนโดยทั่ว ตั้งแต่สุริยปัสสบรรพตซึ่งเป็นผืนป่าใหญ่อันสงบร่มเย็น มณีปัสสบรรพตอันมั่งคงงดงามด้วยมณีทั้งหลาย และสุวรรณปัสสบรรพตอันเป็นวงแหวนแนวเขาทองคำด้านในสุดรอบสระฉัททันต์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุม ลมมรสุมที่พัดมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้จะพัดมาสมทบกับเมฆฝนเหนือสระฉัททันต์จนเกิดเป็นมหาพายุใหญ่ เมื่อสายฝนลดกำลังลง ผืนป่าก็พร้อมที่จะเบ่งบานความอุดมสมบูรณ์แห่งมวลธัญญาหารนาๆพันธุ์อีกครั้ง
1
qingkai yang Production designer,concept artist on ArtStation
เนื่องจากเราต้องใช้ความพยายามในการบันทึกการเดินทางเข้าสู่สระฉัททันต์อย่างมาก จึงจะขอยกเรื่องรายละเอียดและความงดงามภายในสระฉัททันต์ไว้ในบทต่อไป โดย ลามะน้อย
1
โฆษณา