Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
19 ส.ค. 2021 เวลา 01:34 • สุขภาพ
รู้จัก "วีแกน (Vegan)" คอนเซปต์การใช้ชีวิต เน้นสุขภาพ ไม่ยุ่งกับเนื้อสัตว์ (ฉบับมือใหม่)
ถ้าพูดถึง วีแกน (Vegan) เพื่อน ๆ จะนึกถึงเรื่องอะไรก่อนเอ่ย ?
กลุ่มคนที่ทานแต่ผัก หรือ กลุ่มคนถือศีลกินเจ..
หรือว่า อาจจะเป็น “ก็คงไม่ต่างอะไรกับการทานเจ ทานมัง แหละมั้ง ? เรียกไว้เท่ ๆ …”
อันที่จริงแล้ว “วีแกน (Vegan)” มันเป็นคอนเซปต์ที่มากกว่าการจัดระเบียบการทานอาหารเพียงอย่างเดียว
แต่เป้าหมายของพวกเขาไปไกลมากกว่านั้น… !
โอเค งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory จะพาเพื่อน ๆ รู้จัก “วีแกน (Vegan)” คอนเซปต์การใช้ชีวิต ที่เน้นสุขภาพดีกันเลย
“วีแกน (Vegan)” คือ ไลฟสไตล์การใช้ชีวิตที่มีคอนเซปต์ “การไม่เบียดเบียนสัตว์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม” เป็นหัวใจสำคัญ
เพราะสิ่งสำคัญคือ กลุ่มคนที่ปรับใช้วีแกน เขาไม่ได้เชื่อเพียงแค่ว่า สุขภาพของเราจะดีได้ด้วยการจำกัดหรือมีระเบียบแค่ในเรื่องของการทานอาหาร
แต่ยังเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเรื่องของการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิต
ก็คือ ดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต นั่นเองจ้า
ซึ่งเรื่องราวตรงนี้เนี่ย ก็สามารถอ้างอิงไปจนถึง ต้นกำเนิดของคอนเซปต์วีแกน ได้เหมือนกันนะ
กลุ่มคน “วีแกน (Vegan)” ได้ถูกเริ่มต้นมาจากกลุ่มคนที่ทานมังสวิรัติ (Vegetarian) ในประเทศอังกฤษ
โดย ในปี 1944 เนี่ย ก็ได้มีชายอังกฤษผู้หนึ่งนามว่า “Donald Watson”
เขารู้สึกว่า เขาอยากจะจำกัดการทานอาหารอย่าง ไข่ นม น้ำผึ้ง หรือ เอาง่าย ๆ คือ ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่ทำมาจากสัตว์นั่นแหละ เพราะเขาเชื่อว่า ถ้าอยากสุขภาพดีจริง ๆ ไม่เป็นโรคภัย ก็จะต้องหยุดบริโภคเบียดเบียนสัตว์ซะก่อน...
เพราะว่า การที่เราเบียดเบียนสัตว์ มันจะทำให้เราได้รับผลกระทบกลับมาคืนมา
ซึ่งในขณะนั้นเอง ก็ได้เกิดเหตุการณ์โรค “วัณโรค” ระบาดทั่วประเทศอังกฤษ
ในเวลาเดียวกัน ก็ได้มีงานวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษ ออกมาเผยถึงภูมิคุ้มกันของชาวอังกฤษต่อวัณโรค ที่ต่ำกว่า 40% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการตรวจภูมิจากคนที่ดื่มนมวัวเป็นประจำ
(ขออนุญาตแจ้งว่า ตรงนี้พวกเราไม่ทราบจริง ๆ ว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไงนะ)
ต่อมาเนี่ย นาย Donald Watson จึงได้ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส
โดยบอกว่า “เห็นไหมละ ! การที่มนุษย์ที่หลีกมาทานมังสวิรัติ แต่ยังคงบริโภคสิ่งที่ทำจากสัตว์ ก็ยังจะติดเชื้อโรคและไม่แข็งแรงแบบนี้”
เขาจึงได้จัดตั้งคำนิยามว่า “วีแกน (Vegan)” สำหรับกลุ่มคนมังสวิรัติแบบเคร่งครัด ที่ไม่บริโภคและไม่ใช้สิ่งของอุปโภคที่เกี่ยวข้องกับการเบียดเบียนสัตว์ นั่นเองจ้า
จนมาถึงปัจจุบันนี้ “วีแกน” ก็ได้เป็นเทรนด์การใช้ชีวิตยอดนิยม แพร่ขยายไปทั่วโลก
ซึ่งเราก็พอจะเห็นได้ชัดเจนจาก การที่เมนูในร้านอาหาร
ที่เริ่มมีสัญลักษณ์ตัว “V” ไว้หน้าเมนูที่ไม่ได้มีการใช้เนื้อสัตว์
หรือการที่เริ่มเห็นผู้ผลิตนวัตกรรมทางอาหารอย่าง “Plant-based food” หรือ อาหารที่ทำมาจากพืช ผัก ผลไม้ เห็ดต่างๆ รวมไปถึงธัญพืช และถั่ว (ที่เขามาทำให้คล้ายกับสเต็กเนื้อหรือเบอร์เกอร์ต่าง ๆ)
ว่าแต่.... เจ กับ มังสวิรัติ(แบบไม่เคร่งครัด) แตกต่างอย่างไรกับ “วีแกน” ?
โอเค ตรงนี้พวกเราขอเริ่มต้นอธิบายด้วยจุดที่ ทั้ง 3 คอนเซปต์นี้ มีเหมือนกัน
คือ “การไม่งดการบริโภคเนื้อสัตว์ และ เน้นทานพืชผักผลไม้ ให้มากขึ้น”
สำหรับคนที่ทานเจ
พวกเขาจะงดทานอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก
ซึ่งในที่นี้ ก็จะรวมผักฉุน 5 ชนิด เช่น หอม กระเทียม หลักเกียว กุยช่าย และ ใบยาสูบ
(ซอสหอยนางรม ก็ไม่ใช่เจนะ เขาไม่ทานเหมือนกัน ซึ่งตรงนี้ หลายคนอาจเข้าใจผิดกันได้บ่อย)
และกลุ่มคนที่ทานเจ ก็จะมีการประพฤติตนอยู่ในศีล 5 ข้อ รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์
ซึ่งตรงจุดนี้ ก็จะแตกต่างกับคอนเซปต์ของวีแกนไปโดยสิ้นเชิงเลย
(วีแกนสามารถทานผักฉุนหรืออาหารรสสจัดได้ปกตินะจ้า)
และ สำหรับ วีแกน และ มังสวิรัติ ก็จะมีความแตกต่างกัน
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ วีแกน จะเป็นกลุ่มมังสวิรัตบริสุทธิ์ หรือ มังสวิรัตแบบเคร่งครัด
ในขณะที่กลุ่มคนที่เราเรียกว่ามังสวิรัติแบบปกติ ก็เป็นประเภทที่ไม่ได้เคร่งครัดมาก
(ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วยละนะ)
แต่ต้องบอกเพิ่มเติมว่า “ไม่เคร่งครัด” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า กลุ่มคนมังสวิรัติประเภทนี้ จะมีแบบแอบมีกินเนื้อสัตว์นะ
เพียงแต่ พวกเขาไม่เคร่งครัดโดยสามารถสามารถทานผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ได้ เช่น ไข่ นม ชีส น้ำผึ้ง
(แต่จะไม่ทานน้ำปลานะ)
ในขณะที่วีแกน จะเคร่งครัดโดยไม่สามารถบริโภคหรือใช้งานที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ได้เลย
พอจะเห็นภาพกันแล้วเนอะ ว่า เจ มังสวิรัติ และ วีแกน แตกต่างกันอย่างไร 🙂
ขออนุญาตแปะรูปภาพเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับคอนเซปค์ของวีแกน เราค้นหามาจาก Pinterest
พอเป็นแบบนี้ เพื่อน ๆ หลายคนที่เพิ่งรู้จักคอนเซปต์วีแกน (อย่างพวกเราเองก็ด้วยเช่นกัน)
งั้นพวกเราจะพามาไขข้อสงสัย จากการสอบถามผู้ที่ทานวีแกนรอบข้างพวกเรากัน
[ข้อสงสัย 1 : “เอ้อ ! จำกัดการกินซะขนาดนี้ แล้วจะได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีน จากไหนกันละ ?”]
คำตอบ : ก็โปรตีนที่มาจากพืชยังไงละ เช่น ถั่วเหลือง อย่างเต้าหู้ถั่วเหลืองเนี่ย โอโห เป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอดเลยละ (อาจมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดด้วยนะ)
ชั้นยอดในที่นี้ กล่าวคือ ถั่วเหลือง 1 ถ้วย จะมีโปรตีนประมาณ 29 กรัม
ซึ่งถ้ามาแปรรูปเป็นเต้าหู้ถั่วเหลือ 1 ถ้วย ก็จะมีโปรตีนประมาณ 10 กรัม
หรืออาหารประเภทโปรตีนอื่น ๆ ที่ชาววีแกนนิยมทานกัน ยกตัวอย่างเช่น
- ถั่ว (Chickpea) จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 19 กรัม
- ถั่วเหลือง จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 36 กรัม
- โปรตีนเกษตร จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีนมากกว่า 50 กรัม
- จมูกข้าวสาลี (Wheat Germ) จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 23 กรัม
- ถั่วลิสง จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 26 กรัม (แต่ไขมันสูงนะ)
- ข้าวโอ๊ต จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 17 กรัม
- ควินัว จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 14 กรัม
- เมล็ดฝักทอง จำนวน 100 กรัม ให้โปรตีน 19 กรัม (มีไขมันเหมือนกันนะ)
โอโห ก็เยอะอยู่นะนี่ !
พวกเราสังเกตได้ว่า แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารที่เราเรียกกันว่า “ซุปเปอร์ฟู้ด (Superfood)”
โดยส่วนตัวจากการสอบถามเพื่อนรอบตัวแล้ว
พวกเราเองก็เพิ่งทราบว่าเพื่อน ๆ หลายคนได้ปรับใช้คอนเซปต์วีแกนกันมา 5 ปี บ้าง หรือ มากถึง 10 ปีแล้ว ก็ยังมีเลย
ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย (กล้ามแน่นมาก)
ตรงจุดนี้ พวกเราเองก็ยืนยันได้ว่า การทานวีแกน ไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอ หรือ กลายเป็นคนไม่มีแรง ไม่เหมือนที่พวกเราเคยคิดกันไปเอง...
[ข้อสงสัย 2 : เบียร์และเหล้า ทานได้ไหม ? เป็นมังหรือเปล่า ?]
คำตอบ : ทานได้ปกติเลยจ้า !
หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊า ! แต่เหล้าเบียร์ มันให้ความมึนเมานะ ?!
ต้องบอกว่า คนทานวีแกน (Vegan) ไม่ได้เหมือนกับกลุ่มคนที่ทานเจ
คือ พวกเขาไม่ได้ถือศีล 5 นั่นเอง
ตรงนี้ต้องมาเข้าใจในเรื่องของส่วนผสมด้วยนะ
เพราะองค์ประกอบการผลิตหลาย ๆ อย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัตว์
จึงทำให้กลุ่มวีแกนสามารถทานเหล้าเบียร์ได้อย่างสบายใจ
(ยกตัวอย่างเช่น เบียร์ ผลิตมาจาก น้ำ ฮ็อป มอลต์ และ ยีสต์)
แต่ว่า จะติดนึงนึงก็ตรงเครื่องดื่มค็อกเทลที่มีการใช้ครีมนม เป็นส่วนผสมหรือนำมาตกแต่ง
ตรงนี้ชาววีแกนก็จะไม่ดื่มนะจ้า (อาจต้องระวังเลือกเมนูให้ถูกแทน)
แต่ทั้งนี้ พวกเราขออนุญาตไม่ลงลึกไปถึงเรื่องของการจัดตารางอาหาร หรือว่า การใช้ชีวิตแบบวีแกนต้องทานกี่มื้ออาหาร.. ส่วนตรงนี้ พวกเรามองว่า มันขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนเนอะ
อ่านถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ว่า "วีแกน (Vegan)" ไม่ใช่แค่คอนเซปต์ของการเลือกทานอาหาร แต่มันคือคอนเซปต์ของการใช้ชีวิต
(ซึ่งดูเหมือนว่าเราเน้นพูดแค่เรื่องราวของอาหารไปเนอะด้านบน)
เพราะหากเรากลับมาที่คอนเซปต์ที่เป็นหัวใจของวีแกน ก็คือ
“การไม่เบียดเบียนสัตว์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม”
กลุ่มคนวีแกนเอง พวกเขายังไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์หรือหนังของสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น กระเป๋าหนังแกะ เสื้อคลุมกันหนาวขนเป็ด โซฟาหนังสัตว์
สิ่งเหล่านี้ พวกเขาจะไม่นำมาใช้งานเลยจ้า
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม :
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า นักกีฬาที่มีชื่อเสียงต่างประเทศหลายท่าน ก็ยังนิยมนำคอนเซปต์ของ "วีแกน (Vegan)" เช่น
- Tia Blanco นักเล่นเซิร์ฟมืออาชีพจากเปอร์โตริโก
- James Wilks ชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะป้องกันตัวและยังเป็นครูฝึกนาวิกโยธิน
- Lewis Hamilton นักแข่งรถที่ครองแชมป์โลก F1 ได้ถึง 5 สมัย
หรือ แม้แต่นักแสดงนักร้องที่มีชื่อเสียงอย่าง Ariana Grande และ Joaquin Phoenix ก็ปรับใช้คอนเซปต์ของวีแกน อีกด้วยนะ
Tia Blanco นักเล่นเซิร์ฟมืออาชีพจากเปอร์โตริโก
อ่านถึงตรงนี้ พวกเราก็เชื่อว่าเพื่อน ๆ คงจะได้รับสาระความรู้สบายสมองกันพอหอมปากหอมคอแล้ว
ถ้าอย่างไร วันนี้พวกเรา InfoStory ขอตัวลาเพื่อน ๆ ไปก่อน 🙂
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
-
https://goodlifeupdate.com/lifestyle/90723.html
-
https://time.com/3958070/history-of-veganism/
-
https://www.livekindly.co/history-veganism-around-world/
- Youtube : “โปรตีนจากพืช กินอะไรดี และ เจกับ Vegan ต่างกันไหม” โดย ครูฟ้าใส Fitjunction
- Youtube : “วีแกนคืออะไร?” | เล่าเรื่องการใช้ชีวิตแบบ Vegan โดย ช่องสุขกับการกิน
- Youtube : “มังสวิรัติ วีแกน เจ ต่างกันยังไง? โดย ช่องไอแอมอ้อ I am Oar
4 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องราวความรู้รอบตัว รอบโลก ที่น่าสนใจ
4
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย