1 ก.ย. 2021 เวลา 08:26 • ไลฟ์สไตล์
มารู้จัก "พืชกระท่อม (Kratom)" กันเถอะ !
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา (วันที่ 24 สิงหาคม) พืชกระท่อม ได้ถูกถอดออกจากเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 หลังจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์พระราชกิจจานุเบกษา
(แต่ว่า...การที่นำพืชกระท่อมไปผสมทำยา 4×100 หรือน้ำกระท่อม โค๊กและยาแก้ไอ ก็จะถือว่าผิดอยู่นะจ้า)
ซึ่งก่อนหน้านี้เอง เหล่าเพื่อนของพืชกระท่อม ที่เคยเป็นพืชสารเสพติดอย่างกัญชาและกัญชง ก็เพิ่งถูกปลดล็อคยาการเป็นยาเสพติดให้โทษ (แต่ยังไม่ใช่ทั้งหมดทุกส่วนนะ)
ซึ่งพืชสมุนไพรโบราณทั้ง 3 ชนิดนี้ ก็เป็นที่ถูกพูดถึงกันเป็นอย่างมากเลย
เพราะว่า นี่อาจจะเป็นโอกาสสำคัญของพืชเศรษฐกิจไทย และการสร้างรายได้อีกช่องทางนึงของเกษตรกรไทยเลยละ
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ความได้เปรียบของสภาพอากาศและภูมิประเทศของไทยเรา ก็เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืชกระท่อมมากที่สุด (คู่ขนานมากับมาเลเซียและอินโดนีเซีย)
พืชกระท่อมเนี่ย ไม่ได้เป็นพืชเสพติดที่น่ากลัวมากขนาดนั้น (แบบที่เมื่อก่อนเราอาจเคยเข้าใจ)
จากที่เราไปนั่งค้นหาและดูสารคดีมา ก็พบว่าคนใต้พื้นเมือง เขาก็เปรียบการเคี้ยวใบกระท่อม เหมือนกับเป็นการทานกาแฟยามเช้า ก่อนไปทำงานของคนเมืองกรุงเลยละนะ !
โอเค งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับใบกระท่อมในแบบฉบับของมือใหม่กับภาพอินโฟกราฟิกสุดสบายตา กันเลยดีกว่า !
พืชกระท่อม (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.) เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) ลำต้นสูงประมาณ 4-16 เมตร
เป็นพืชที่ชอบขึ้นในบริเวณป่าดิบชื้น ริมลำธาร ทนแดด ชอบฝน และไม่ชอบอากาศหนาว จึงทำให้พืชกระท่อมสามารถเติบโตได้ดีในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พืชกระท่อมยังหาพบมากในภาคใต้ ของประเทศไทย โดยชาวบ้านปลูกภายในบริเวณบ้าน ทุ่งนา แต่พบได้มากในป่าธรรมชาติ
ต้นกระท่อม สูงเอาเรื่องอยู่นะ
ใบกระท่อมก้านแดง
ใบกระท่อมก้านเขียว
ต้องบอกว่ากระท่อม ไม่ได้เป็นเพียงแค่พืชทั่ว ๆ ไป หรือ เป็นพืชแห่งการเสพติดอย่างที่หลาย ๆ คนเคยเข้าใจนะ
กระท่อม ยังเปรียบเหมือนกับวิถีชีวิตของชาวบ้านพื้นเมืองภาคใต้ ที่นิยมใช้ทางการแพทย์ รักษาอาการปวดเมื่อย ใช้เป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้ชาวไร่ชาวสวนมีแรงทำงาน รวมไปถึงการใช้เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และการสังสรรค์ของผู้คนพื้นบ้าน อีกด้วยนะ
ส่วนเรื่องราวที่พืชกระท่อม ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในพืชเสพติดเนี่ย…
ก็คงจะต้องกล่าวไปถึงเรื่องราวของ “ฝิ่น” สักเล็กน้อย
เรื่องราวนี้ เริ่มมาจากสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ของ
กรุงศรีอยุธยา ที่ได้ออกกฎหมายมาเกี่ยวกับการควบคุมฝิ่น (แต่ยังไม่ได้มีเรื่องของกระท่อมนะ) แต่ยังไม่ได้มีอะไรที่เป็นรูปเป็นร่างมากขนาดนั้น (แค่ควบคุม)
ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 3 ที่ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามามีอิทธิพลทางการค้า อย่างเช่น อังกฤษ จีน และ อินเดีย ที่ต่างก็ถาโถมกันเข้ามาค้าขาย ผ้าไหม เครื่องเทศ แล้วก็..ฝิ่น
ซึ่งคนไทยในสมัยนั้นก็คือเสพติดฝิ่นกันมากเลยละ
ฝิ่น
ฝิ่น
ในช่วงรัชกาลที่ 4 นี่เองจึงได้มีการพระราโชบายควบคุมฝิ่นแทนการปราบปราม เพราะสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการค้ากับประเทศจีน จึงต้องทำให้ฝิ่นเนี่ย มันถูกค้าขายอย่างถูกกฎหมาย (และจำกัดปริมาณการเสพของคนไทย)
ต่อมารัชกาลที่ 5 ก็ทรงเห็นว่า ไม่ได้การละ ! ฝิ่นกลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนเสียแล้ว จึงได้รับสั่งให้มีการออกกฎยกเลิกการค้าและการเสพฝิ่น
ใกล้แล้ว ใกล้ถึงคิวของ “กระท่อม” พระเอกขอเราในบทความนี้ ! !
ช่วงรัชกาลที่ 6 นี้เอง ท่านได้ออกสนธิสัญญานครเฮก
มาออกพระราชบัญญัติยาเสพติด ซึ่งนอกเหนือจากฝิ่นแล้ว ยังได้ระบุใบโคคาและอัลคาลอยด์จาก
ใบโคคาเป็นสิ่งเสพติดที่ผิดกฎหมาย
อ่านถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ คุ้นชื่อสารอัลคาลอยด์ไหม ?
เจ้าสารที่ว่านี้เป็นสารที่ถูกพบอยู่ในใบกระท่อมด้วยนะ
ในใบกระท่อมก็จะมี "สารไมทราไจนีน (Mitragynine)" เป็นสารเสพติดในกลุ่มอัลคาลอยด์ ที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) ช่วยบรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ มีฤทธิ์คล้ายกับมอร์ฟีน
แต่ว่า...โชคยังดีกับคนไทยในช่วงรัชกาลที่ 6 เพราะยังไม่ได้มีการพูดถึง “พืชกระท่อม”
จนกระทั่ง… (เอาละนะ)
ในช่วงสมัยของรัชกาลที่ 8 ทางรัฐบาลก็ได้มีการกำหนดเพิ่มให้กัญชาเป็นยาเสพติดต้องห้าม
และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก็ได้กำหนดให้กระท่อมเป็นพืชเสพติด โดยตรา
พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ซึ่งระบุการห้ามปลูกและครอบครอง รวมทั้งห้ามจำหน่าย
และเสพใบกระท่อม
และในช่วงปีพ.ศ. 2522 กระท่อมได้ถูกจัดให้
เป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
จนมาถึงยุคปัจจุบัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 กระท่อมก็ได้ถูกถอดออกจากเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ไปเรียบร้อยจ้า
(เพิ่มเติมนานาจิตตัง : แต่ข้อมูลอีกมุมหนึ่งที่มีการบันทึก ได้บอกไว้ว่ามีเบื้องลึกเบื้องหลังของการออกกฎหมายห้ามใช้งานใบกระท่อมและกัญชา หรือ หากมีการปลูกก็จะต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ก็เพราะว่ามันไปทำให้ผู้คนหันไปเสพติดกระท่อม กันมากกว่าเสพติดฝิ่น…
ซึ่งทำให้คนบางกลุ่มเสียผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นกับประเทศคู่ค้า
ส่วนเรื่องของผลประโยชน์ที่ว่านี้ ก็คือ การลดลงของรายได้จากการเก็บภาษีฝิ่น นั่นเอง เพราะว่ากระท่อม กัญชา มันถูกกว่าแถมให้ผลที่ใกล้เคียงกัน)
ใบกัญชา
อันที่จริงแล้ว เรื่องราวของใบกระท่อมเนี่ย ได้ถูกนำมาวิจัยกันเยอะพอสมควรเลย ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเรื่องราวแบบจัดเต็ม (เต็มจริง ๆ มีอธิบายเรื่องการทดลองเป็นยาในมนุษย์ด้วย รวมถึงเรื่องราวทางพฤกษศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ก็สามารถตามไปอ่านกันต่อได้ที่ลิ้งนี้เลย
แต่กว่าจะอ่านจบนี้ ใช้เวลาอยู่พอสมควรเลย แต่ก็ได้รับความรู้ในมุมที่ถูกต้อง
หรือถ้าเพื่อน ๆ อยากอ่านเพิ่ม ก็สามารถกดไปตามลิ้งในแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมด้านล่างกันได้เลย มีเยอะมากกก
โอเค ก็พอหอมปากหอมคอกันไป
ถ้าหยั่งงั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอตัวพักเรื่องราวสาระสบายสมองไว้ที่ตรงนี้ก่อนนะ 🙂
โฆษณา