Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน
•
ติดตาม
19 ส.ค. 2021 เวลา 12:03 • การศึกษา
การประกาศขอ Priority ในการลงจอดกรณีฉุกเฉิน
ถ้ามี 2 เครื่องขอลงฉุกเฉินพร้อมกัน ลำแรกเกิดเหตุเครื่องยนต์ดับทุกเครื่อง กับอีกเครื่องเกิดการจี้เครื่องบิน คำถามมีอยู่ว่าเครื่องไหนจะได้ลงจอดกรณีฉุกเฉินก่อน?
อาจารย์ปวินท์ สว่างอารมย์ (อ.SQ) อาจารย์ประจำหลักสูตร #ธุรกิจการบิน #CADT ได้อธิบายหลักการการประกาศขอ Priority ในการลงจอดกรณีฉุกเฉินตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (#ICAO) ไว้ว่า
การขอ Priority ในการลงจอดฉุกเฉินนั้น มี 3 ประเภท ได้แก่ Uncertainty Phase, Urgent Phase และ Distress Phase
Uncertainty Phase คือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนที่อาจจะส่งผลต่อความปลอดภัยของเครื่องบิน บุคลากร หรือผู้โดยสาร
Alert Phase / Urgent Phase สถานการณ์ฉุกเฉินที่ส่งผลให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องบิน บุคลากร หรือผู้โดยสาร แต่ไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนบนเครื่องในทันที (คือยังมีเวลารับมือสถานการณ์) เช่น เครื่องบินถูกจี้ (Hijack) หรือ มีผู้ป่วย เป็นต้น นักบินต้องประกาศ คำว่า Pan-Pan Pan-Pan Pan-Pan ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องให้ Priority เหมือนกัน
Distress Phase คือ ขั้นตอนต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนขนาดไม่สามารถปฏิบัติการบินได้ นักบินต้องประกาศคำว่า Mayday 3 ครั้ง (คำว่า Mayday มาจากภาษาฝรั่งเศส m'aider แปลว่า "come help me" และที่ต้องพูด 3 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการฟังผิดที่อาจจะเกิดขึ้นจากสัญญาณถูกรบกวนขณะเกิดเหตุ)
เช่น เครื่องบินเกิดไฟใหม้ ชิ้นส่วนที่สำคัญเสียหาย หรือกรณีเครื่องยนต์ดับทั้งหมด เช่น กรณีของ Captain #Sully ที่นกชนเครื่องยนต์ (#A320) ต้องนำเครื่องลงอย่างเร่งด่วน แต่ไปไม่ถึงสนามบินต้องลงที่แม่น้ำแทน ซึ่งการต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างนี้ นักบินต้องประกาศคำว่า #Mayday Mayday Mayday ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (#ATC) ต้องให้ priority เป็นอันดับแรก ต้องเคลียร์เครื่องบินที่เกี่ยวข้องออกให้หมด
แล้วสรุปว่าระหว่าง ลำแรกเกิดเหตุเครื่องยนต์ดับทุกเครื่อง กับอีกเครื่องเกิดการจี้เครื่องบิน คำถามมีอยู่ว่าเครื่องไหนจะได้ลงจอดกรณีฉุกเฉินก่อน?
คำตอบก็คือ เครื่องที่มีปัญหาเครื่องยนต์ดับหมด หรืออยู่ในรูปแบบ Distress phase นั่นเอง
สรุปว่าเหล่านี้คือขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่มีกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของการเดินทาง แต่สำหรับผู้โดยสารแล้วในเวลานั้นคงขวัญเสีย กลัว ตื่นตระหนก และเครียดมากอย่างแน่นอน แต่ด้วยเป้าหมายหลักของหน้าที่ของนักบิน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ไม่ใช่การบริการ แต่เป็น ความปลอดภัยของผู้โดยสาร และลูกเรือทุกคน ลูกเรือย่อมต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา และต้องทำหน้าที่ตามทีได้รับการฝึกมาอย่างหนัก เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Emergency Landing
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย