20 ส.ค. 2021 เวลา 06:35 • สุขภาพ
Live กับ Fat Fighting 2021.08.19
สรุปจาก: "Fat Talk เม้าท์เรื่องราวในวงการฟิตเนสและสุขภาพ 19 ส.ค. 2564" (https://youtu.be/pTKYQnpqbT0)
[1]9 ท่าบริหารไหล่แบบไม่
ต้องใช้อุปกรณ์
1) Dolphin pushup (0:26)
2) Pike pushup (1:26)
3) Side plank crunch (2:11)
4) Towel Lat Pulldown (2:55)
5) Reverse Fly Shoulder Variation (3:32)
6) Dive Bomber (4:09)
7) Lateral raise (4:53)
8) Bent over reverse fly (5:34)
9) Push up แบบเน้นไหล่ (ไหล่จะเลยมือไปด้านหน้า) (6:27)
10) Suspension training exercise หรือท่าออกกำลังกายที่ต้องมีการห้อยตัวเช่น TRX (7:12)
https://youtu.be/Cu90EiS6NLw
[2]TUT ยิ่งมาก ยิ่งเพิ่มกล้ามเนื้อได้ดีจริงหรือไม่?
-TUT หรือ Time Under Tension ก็คือ ระยะเวลาในแต่ละ rep ที่กล้ามเนื้อของเราอยู่ภายใต้การสู้กับแรงต้าน
-เมื่อเราลด TUT เราก็จะเล่นได้จำนวนครั้งมากขึ้นในแต่ละเซ็ต เพราะการเล่นเร็ว ๆ ทำให้ล้าน้อยกว่า กลับกันเมื่อ TUT เพิ่มจำนวนครั้งที่เล่นได้ก็จะน้อยลงจากความล้านั่นเอง และถ้าทั้ง 2 แบบนี้เล่นจนหมดแรงเหมือนกัน ผลก็คือมีการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อได้เท่า ๆ กัน
-จะเห็นว่าแม้จะเล่นจนหมดแรงเหมือนกันแต่ TUT ที่น้อยกว่าก็จะมี volume ที่มากกว่า (volume ในแบบ น้ำหนัก x จำนวนครั้ง x จำนวนเซ็ต) แต่ทำไมถึงสร้างกล้ามเนื้อได้เท่ากันทั้ง ๆ ที่งานวิจัยจำนวนมากกล่าวว่าการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อแปรผันตาม volume นั่นก็เพราะว่าแท้จริงแล้ว volume ที่ใช้กันในปัจจุบันไม่ได้มาจาก น้ำหนัก x จำนวนครั้ง x จำนวนเซ็ต แต่มาจากการนับจำนวนเซ็ตที่เล่นจนถึงหมดแรงนั่นเอง
-ส่วนการที่ TUT เข้ามามีผลต่อ Hypertrophy ก็เพราะว่ายิ่งเราเล่นด้วยความยากที่สูง ความเร็วในการเล่นของเรามันก็จะช้าไปเอง และทำให้ในหนึ่งเซ็ตเราเล่นได้จำนวนครั้งน้อยลง ดังนั้นการเล่นด้วยความยากที่ไม่ได้สูงแต่ไปพยายามทำให้ TUT ช้าด้วยตัวเองก็จะไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ
-การตั้งใจเล่นให้ช้าอาจจะเหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่ชินกับการสั่งงานกล้ามเนื้อและการจัดท่าทาง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้เกิด hypertrophy ได้ดีกว่า TUT น้อย ๆ
-จังหวะเร็วช้าในการเล่นเวทควรจะเลือกให้เหมาะกับคนเล่นเอง แต่ก็ให้ควบคุมจังหวะ eccentric เอาไว้
-ถ้าเป้าหมายคือ hypertrophy ควรให้ความสำคัญกับ progressive overload มากกว่า TUT
https://www.instagram.com/p/CSmXkmCDWhz
[3]Rest pause และ Drop set มีส่วนช่วยสร้างกล้ามเนื้อมากแค่ไหน?
-คำตอบก็คือ เท่า ๆ กับการเล่นตามปกติ
-งานทดลองในปี 2021 ได้เปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยวิธีปกติกับการฝึกด้วย Rest pause set และ Drop set พบว่าส่งผลต่อการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ quadriceps ของผู้ทดลองแทบไม่แตกต่างกัน
-แต่ในการเพิ่มความแข็งแรงหรือ 1RM พบว่า Rest pause set ช่วยได้ดีกว่าการฝึกแบบปกติอย่างค่อนข้างชัดเจน
-แนวทางในการนำเทคนิค Rest pause และ Drop set มาใช้คือ ใช้เพื่อลดระยะเวลาในการฝึกโดยที่ยังได้ผลดีต่อกล้ามเนื้อเท่าเดิม และ Rest paus set ก็ยังสามารถนำมาใช้เพิ่มความแข็งแรงได้ด้วย
-ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ หากเราเล่นตามปกติเซ็ตละ 10 ครั้ง 3 เซ็ต เมื่อมาเล่นเป็น Drop Set เราก็จะเล่นเซ็ตแรกไปก่อน 10 ครั้ง จากนั้นลดน้ำหนักที่ใช้ลงเรื่อย ๆ เซ็ตละ 10-20% แล้วเล่นจนหมดแรง ทำแบบนี้ 3 เซ็ต ส่วนถ้าเป็น Rest Pause ก็จะเล่นรวดเดียว 30 ครั้งต่อกันเลย แต่จะให้หยุดพักได้ประมาณครั้งละ 20 วินาทีเมื่อรู้สึกหมดแรง แล้วก็กลับมาเล่นต่อให้จบเซ็ต
https://www.instagram.com/p/CSsOxMiJImZ
[4]เรื่องเล่าเกี่ยวกับ “ท่าออกกำลังกายที่ดีที่สุด”
-บางคนมักจะพูดถึง "ท่าบริหารก้นที่ดีที่สุด" "ท่าบริหารไบเซ็ปที่ต้องเล่นให้ได้" ซึ่งเรามักจะได้ยินอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในยูทูบ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเรื่องพวกนี้ค่อนข้างจะไร้สาระ
-เมื่อไหร่ที่ทำให้ท่าออกกำลังกายท่าใดท่าหนึ่งเป็นท่าที่แย่?:
1. เมื่อมันทำให้คุณได้รับบาดเจ็บ
2. เมื่อมันไม่ได้กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อให้กับคุณ
3. เมื่อมันก่อให้เกิดความล้ามหาศาล
4. เมื่อเล่นฝึกไม่สามารถพัฒนาการทำท่าฝึกให้ดีขึ้น
-เมื่อไหร่ที่ทำให้ท่าออกกำลังกายท่าใดท่าหนึ่งเป็นท่าที่ดี?:
1. เมื่อมันไม่ได้ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ
2. เมื่อมันก่อให้เกิดความรู้สึกถึงแรงต้านหรือการเบิร์นที่กล้ามเนื้อเป้าหมาย
3. เมื่อมันไม่จำเป็นใช้ปริมาณการฝึกที่มากเกินไปเพื่อแลกกับการกระตุ้น
4. เมื่อมันก่อให้เกิดความล้าของร่างกายโดยรวมไม่มากเมื่อเทียบกับระดับของ RPE ที่ใช้
5. เมื่อมันช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้อย่างดีเยี่ยมหลังผ่านไปหลายเดือน
-ท่าออกกำลังกายที่ดีที่สุดที่คุณใช้ จะดีที่สุดตลอดไปหรือไม่?:
แนะนำให้เราจัดลำดับท่าออกกำลังกายที่เราใช้ด้วย SFR (Strength-to-Fatigue Ratio) หรืออัตราส่วนความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นเทียบกับความกับความล้าที่ได้รับ ซึ่งจะทำให้เราได้ท่าออกกำลังกายที่ดีที่สุดในคอนเซ็ปต์นี้สำหรับแต่ละมัดกล้ามเนื้อ แต่หลังจากผ่านการฝึกไปหลายเดือนเราก็จะพบว่าร่างกายเริ่มเบื่อกับท่าออกกำลังกายที่ใช้ การตอบสนองเริ่มลดลงขณะที่ความล้ากลับเพิ่มสูงขึ้น หากมาจัดอันดับกันใหม่ก็จะพบว่ามีท่าอื่นที่ได้คะแนน SFR แซงท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนไปเล่นท่าที่ได้คะแนนแซงขึ้นมาใหม่นี้ให้มากขึ้นจึงถือเป็นความคิดที่ดี และพักจากท่าเดิมไปบ้างเพื่อให้ร่างกายได้มีเวลารีเซ็ท SFR ของมันใหม่อีกครั้ง
-ดังนั้น หากกล่าวว่ามีท่าออกกำลังกายท่าใดท่าหนึ่งเป็นท่าที่ดีที่สุดสำหรับคน ๆ นั้นอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
-ความแตกต่างในแต่ละคน:
ยิ่งพูดถึงการเหมารวมแล้ว คำกล่าวเรื่องท่าออกกำลังกายที่ดีที่สุดยิ่งเป็นไปได้ยากขึ้นไปอีก เนื่องจากผู้ฝึกแต่ละคนล้วนแตกต่างกันในด้านของรูปทรงกล้ามเนื้อ มุมที่ใช้ในการออกแรง ความยาวของแขนขา สัดส่วนของชนิดเส้นใยกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่การทำงานของระบบประสาท จึงเป็นไปได้ว่าท่าออกกำลังกายที่ดีเยี่ยมสำหรับบางคนอาจะเป็นท่าที่แย่มากสำหรับอีกคนก็ได้ ซึ่งสามารถบอกได้ด้วย SFR
-แม้กระนั้นเรายังสามารถกล่าวได้ว่ามีท่าออกกำลังกายบางท่าที่มีแนวโน้มจะดีกว่าท่าอื่น ๆ จากค่า SFR ที่เฉลี่ยจากหลาย ๆ คน
-วิธีเลือกท่าออกกำลังกายที่ถูกต้องสำหรับตัวเราเอง:
เราสามารถเริ่มจากท่าออกกำลังที่เค้าว่ากันว่า "ดีที่สุด" ก่อนก็ได้ โดยสมมติว่าคนที่พูดเค้าหมายถึง "ดีที่สุดเมื่อวัดจากค่า SFR โดยเฉลี่ย" จากนั้นก็ลองฝึกมันเป็นเวลาหนึ่ง mesocycle แล้วประเมินค่า SFR ให้กับมัน แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับมันโดยพยายามฝึกด้วยเทคนิคที่ปรับให้เข้ากับตัวเราเองเพื่อจะให้ได้ค่า SFR ออกมาสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย หากพบว่าค่า SFR สูงก็ให้เก็บท่านั้นไว้ และเมื่อร่างกายเริ่มไม่ค่อยตอบสนองกับท่านี้ก็ให้หมุนเวียนไปฝึกด้วยท่าอื่น และไม่ต้องอายที่จะทดลองท่าที่กูรูฟิตเนสอาจจะไม่ได้แนะนำหรือแม้แต่บอกว่ามันเป็นท่าที่แย่
https://youtu.be/tiwxwOQ88_8
[5-1]อัตราการใช้พลังงานต่อวันในแต่ละช่วงวัย
-เรามันได้ยินคนพูดกันว่าระบบเผาผลาญของเราจะตกลงหลังสามสิบ งานวิจัยนี้ซึ่งถือเป็นงานที่ครอบคลุมมากที่สุดในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้น
-จากข้อมูลพบว่าอัตราการเผาผลาญของเรานั้นค่อนข้างคงที่ตั้งแต่อายุประมาณ 20 จนถึง 60 หากตัดผลจาก medical condition ออกไป
-ดังนั้นเราไม่ควรโทษว่าเราอ้วนเพราะระบบเผาผลาญของเราตกลงในช่วงวัยกลางคน และแม้จะพ้นวัย 60 แล้ว อัตราการเผาผลาญของเราก็ลดลงเพียงเฉลี่ยปีละประมาณ 1% เท่านั้นซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
-ตัวอย่างเช่น การทำงานของระบบเซลล์ในอวัยวะภายในร่างกายมีแนวโน้มที่จะช้าลงในคนที่มีอายุมาก ซึ่งนำไปสู่การทำงานของระบบเผาผลาญที่น้อยลงด้วย
-ดังนั้นการลดต่ำลงของระบบเผาผลาญในช่วงปลายของชีวิตจึงเป็นสิ่งทีหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างน้อยการพยายามใช้ชีวิตให้แอ็คทีฟและออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งก็จะช่วยหักล้างกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้บ้าง
https://www.instagram.com/p/CSj-8FvL1WI
[5-2]ระบบเผาผลาญของเราถูกทำลายได้หรือไม่
-บางคนอาจจะเคยได้ยินว่าการคุมอาหารโดยที่ caloic deficit มาก ๆ หรือคุมอาหารติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้ระบบเผาผลาญของเราพังจนกระทั่งแม้จะกินในระดับ deficit แล้วก็ยังอ้วนได้
-แม้ว่าการทำ deficit มาก ๆ หรือการไดเอทนาน ๆ จะไม่ใช่วิธีที่ดีต่อสุขภาพ แต่จริง ๆ แล้วระบบเผาผลาญของเราก็ไม่ได้พังเพียงแต่มันปรับตัวมันเองตามระดับพลังงานจากอาหารที่ได้รับและระดับไขมันในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการที่มันลดระดับการใช้พลังงานของตัวเองลงและเพิ่มความหิวของเราให้มากขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้จะย้อนกลับได้ค่อนข้างเร็วเมื่อระดับไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น
-ย้อนกลับไปพูดถึงโพสเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกรณี "Minnesota Human Starvation Experiment" ซึ่งให้ผู้ทดลองกินแค่ 50% ของ TDEE แถมให้เดินทุกวัน ผลคือพวกเขาสูญเสีย body fat ไปเกือบหมดและอัตราการเผาผลาญลดลงประมาณ 40% เมื่อพวกเขากลัมากินมากขึ้นและน้ำหนักมากขึ้น ระบบเผาผลาญของพวกเขาก็กลับมาเป็นปกติ
-บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วทำไมตัวเองถึงลดไขมันต่อไม่ได้ล่ะ?
-ตามหลักฟิสิกส์ การกิน caloric deficit ยังไงก็ต้องทำให้ไขมันลดลง ถ้าไขมันเพิ่มขึ้นแสดงว่าเราไม่ได้กิน deficit จริง
-แน่นอนว่าระบบเผาผลาญของเราปรับตัวมากขึ้นเมื่อเรายิ่งลดไขมันให้ต่ำลง ๆ ดังนั้นมันยิ่งยากขึ้นที่เราจะทำได้ตามแผนเพราะเรามีแนวโน้มที่จะใช้ร่างกายน้อยลงและกินมากขึ้น
-ซึ่งสามารถตรวจสอบให้แน่ใจได้ด้วยการ double check อาหารที่เรากิน รวมถึงการใช้พลังงานของเราในแต่ละวัน แล้วปรับให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญที่สุดเราต้องซื่อสัตย์กับตัวเองด้วย
https://www.instagram.com/p/CSfAXp_jEkF
[6-1]ทำไมถึงต้องทำไดเอทเบรค
1) ทำนองเดียวกับ periodization ในการออกกำลังกายที่ควรจะต้องมีทั้งช่วง high volume ช่วง high intensity และช่วงพักฟื้นเพื่อให้มีพัฒนาการที่ดี การที่แบ่งช่วงไดเอทให้มีทั้งช่วงพลังงานต่ำและพลังงานสูงก็จะช่วยให้เราลดไขมันได้ดีเช่นกัน
2) คอนเซ็ปต์ของ diet break คล้ายกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องก่อนที่เครื่องจะพัง หรือก็คือแทนที่จะไดเอทจนสติหลุดแล้วกินไม่ยั้ง เราสามารถวางแผนให้มีการเบรคเพื่อลดผลข้างเคียงที่จะเกิดจากการไดเอทในระยะยาวได้ ในทางจิตวิทยาก็ต้องบอกว่ามันเหมือนกับเลือกว่า เราจะควบคุมไดเอท หรือ ปล่อยให้ไดเอทมาควบคุมเรา
3) งานวิจัยที่ศึกษาผลของการทำไดเอทเบรคด้วยความตั้งใจพบว่าไม่ได้ส่งผลให้การลดน้ำหนักได้ผลน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เบรค
4) ยิ่งเราอยู่ใน deficit นาน ๆ การใช้พลังงานของร่างกายจะยิ่งลดลงอย่างช้า ๆ ทำให้การลดไขมันยิ่งยากขึ้นเพราะต้องยิ่งกินลดลงแต่ใช้พลังงานมากกว่าเดิม ที่ใช้พลังงานลดลงก็เพราะว่าน้ำหนักตัวของเราน้อยลง การใช้พลังงานของร่างกายที่ลดลงนี้เรียกว่า "adaptive thermogenesis" หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "Metabolic Adaptation"
5) โชคดีที่การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถ reverse ได้ด้วยการเพิ่มพลังงานที่ร่างกายได้รับ จากงานวิจัยในปี 2018 ผู้ชายที่เป็นโรคอ้วนเมื่อไดเอาเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้วเบรคด้วยการกินที่ระดับ maintenance 2 สัปดาห์ สามารถลดไขมันได้มากกว่าและรักษาระดับการเผาผลาญได้ดีกว่าอีกกลุ่มที่ไม่มีการเบรค
6) แม้ว่าเราจะยังไม่มีการศึกษาวิจัยในนักกีฬา แต่ก็เชื่อได้ว่าการทำไดเอทเบรคจะช่วยให้นักกีฬามีคุณภาพการฝึกและรักษามวลกล้ามเนื้อดีกว่า จากการลดความล้าของกล้ามเนื้อและช่วยเติมระดับไกลโคเจน
7) แต่ที่มองว่าสำคัญที่สุดก็คือ ไดเอทเบรค ทำให้เราได้มีโอกาสพักฟื้นสภาพจิตใจ คล้ายกับการที่เราดำน้ำแล้วขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ แล้วดำกลับลงไปใหม่ให้ลึกกว่าเดิม
https://www.instagram.com/p/CSc_O3MMMXg
[6-2]Tips สำหรับการ Maintenance
1) อย่าไดเอทนานเกินไป ระยะเวลา 6-9 สัปดาห์ถือว่าเพียงพอแล้วที่จะลดไขมันให้ได้ผล ในกรณีส่วนใหญ่ 12 สัปดาห์ถือว่าเป็นระยะเวลานานที่สุดที่ควรทำ
2) อย่าไดเอทหนักเกินไปในช่วงที่ลดไขมัน ลดน้ำหนักลงแค่ประมาณ 0.8% ต่อสัปดาห์ก็ถือว่าดีแล้วสำหรับการลดไขมันในระยะยาว
3) กลับมากินของที่ชอบก่อนที่จะจบไดเอท หลังจบช่วงไดเอทการได้กลับมากินก่อนที่ชอบจะทำให้เราอยากกินมากขึ้น ๆ ให้เราเริ่มกลับมากินของที่ชอบก่อนจะจบไดเอทสักประมาณ 1 เดือน
4) ใช้เวลาอยู่ในช่วง maintenance ให้มากขึ้น โดยให้มีช่วงนี้คิดเป็น 60% ขึ้นไปในการลดไขมันของเรา
https://www.instagram.com/p/CShPBL2HylV
[7]อย.เตือน! พบกาแฟลดน้ำหนักไม่มีเลขอย.พบสารไซบูทรามีน
-อ.ย.พบกาแฟยี่ห้อ 3-in-1 Slimming Coffee ไม่ได้รับอนุญาตจากอย. ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ ระบุว่าเป็นกาแฟลดน้ำหนัก มีสารไซบูทรามีนซึ่งอาจเป็นตรายถึงชีวิต
-โดยไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่มีผลข้างเคียง โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต โรคต้อหิน หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดยจะมีอาการข้างเคียง คือ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ท้องผูก ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
-หากผู้บริโภคต้องการลดความอ้วน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและควบคุมอาหาร โดยไม่กินอาหารพร่ำเพรื่อ ควรกินอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสมครบ 5 หมู่ ลดการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และขอให้ผู้บริโภคคำนึงไว้เสมอว่า อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถช่วยบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ อย. ไม่เคยอนุญาตให้โฆษณากาแฟเป็นอาหารลดน้ำหนัก จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
https://bit.ly/3k2Wjc2
[8]ระวัง “ตับพัง” ในช่วงโควิด
-หลายคนซื้ออาหารเสริมหรือสมุนไพรมากินเพราะอยากให้ช่วยป้องกันการป่วยเป็นโรคโควิด แต่การทำเช่นนี้อาจส่งผลเสียต่อตับได้
-ปกติแล้วตับเป็นอวัยวะที่อึดมาก ๆ เหมือนกับตายแล้วฟื้นได้ แต่ก็มีบางภาวะที่พังแล้วซ่อมกลับมาไม่ได้อยู่เหมือนกัน
-โดยปกติแล้วตับต่างจากไตตรงที่ ไตจะจัดการกับสิ่งที่ร่างกายต้องการกำจัดออกที่ละลายอยู่ในน้ำ แต่ตับจะจัดการสิ่งที่ละลายในไขมัน การกินสารที่ละลายในไขมันเข้าไปมากเกินอาจทำให้การทำงานของตับมีปัญหาหรือเกิดภาวะ ตับวายเฉียบพลัน (acute liver failure) ได้ ซึ่งมักจะไม่มีอาการที่ช่วยให้เรารู้ล่วงหน้าเหมือนเวลาที่ไตมีปัญหา มารู้ตัวอีกทีก็คือพังไปแล้ว
-ในโลกตะวันตกมีข้อมูลว่าเมื่อก่อนคนมักจะตับพังจากการกินยาพาราเซตามอลซึ่งเป็นยาที่หาซื้อได้ง่าย แต่ในช่วง 10 ปีหลังมีข้อมูลว่าสาเหตุเปลี่ยนไปเป็นการกินอาหารเสริมและสมุนไพร และมีสถิติว่าคนส่วนใหญ่ที่มีอาการนี้มักเป็นคนเอเชียอายุมาก เนื่องจากคนเอเชียมีแนวโน้มที่จะกินสมุนไพรเป็นประจำมากกว่าที่จะกินยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาเป็นครั้งคราว
-ปัจจุบันในไทยเริ่มพบคนที่กินสมุนไพรและอาหารเสริมเป็นประจำโดยหวังว่าจะช่วยป้องกันโควิด แต่พอป่วยขึ้นมาจริง ๆ แพทย์กลับไม่สามารถให้ยารักษาแผนปัจจุบันได้เนื่องจากตับพังไปแล้ว ดังนั้นหากเรากินยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมเป็นประจำเพื่อหวังว่าจะช่วยป้องกันโควิดจึงเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังให้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
https://www.instagram.com/p/CSqldmoLE79
[9]ผลของเบียร์ต่อการออกกำลังกาย
-พบว่าเบียร์แบบแอลกอฮอล์ต่ำให้ประสิทธิผลที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเติมของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกาย หรือ rehydrate หลังออกกำลังกาย
-การเติม Na+ เข้าไปช่วยให้การ rehydrate ทำได้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับความไม่อร่อย
-โดยงานวิจัยนี้สรุปจากงานศึกษาที่ทำมีการกำหนดมาตรฐานของปริมาณที่ดื่ม และผลที่ได้นี้อาจไม่สามารถใช้อธิบายผลจากการดื่มเบียร์กันตามปกติของคนทั่วไปได้
-ถ้าหลังออกกำลังกายกินเบียร์ที่แรงกว่า 4% ควรจับคู่กับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ด้วยเพื่อลดอาการปัสสาวะมากเกินไป โดยเฉพาะในการออกกำลังกายที่มีการสูญเสียเหงื่อมาก ๆ
-เบียร์แบบไม่มีแอลกอฮอล์ ที่มีโพลีฟีนอลนั้นถูกพบว่ามีฤทธิ์ช่วยปกป้องทางเดินหายใจในการวิ่งมาราธอน ซึ่งอาจจะสามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจในระหว่างการออกกำลังกายที่หนักหน่วงได้
-สำหรับผลต่อร่างกายในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นการทำงานและการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ การฟื้นตัว พบว่าแทบจะไม่มีผล หากดื่มเบียร์ในระดับที่ไม่มาก
-แบรดบอกว่า ไหน ๆ เบียร์ก็ถือเป็นเครื่องดื่มทางกีฬา (Ergogenic aid) แล้ว เค้าเชื่อว่าไวน์เองก็เป็นได้เช่นกัน และจะได้ผลดีกว่าอีก และเขาเห็นภาพว่าอาจจะมีบริษัทอาหารเสริมเอาชื่อของ creatine ไปผสมกับเบียร์กลายเป็น Creabeer
(https://www.instagram.com/p/CSuDmSordoj)
[10]นักวิทยาศาสตร์ค้นพบยาลดความอ้วนชนิดใหม่ ขับไขมันออกทางเหงื่อ
-นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนายาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โดยใช้การฉีดโปรตีนชนิดหนึ่งเข้าไปในหนูทดลอง ก่อนจะไปทดลองในมนุษย์
-พบว่าหนูทดลองได้รับยาไปแล้วตัวเปียกชุ่ม แต่ปกติแล้วหนูจะไม่มีเหงื่อออกทางรูขุมขน เพราะมันระบายความร้อนด้วยวิธีอื่น ไม่เหมือนในมนุษย์ พอตรวจสอบถึงได้รู้ว่าเป็นไขมัน แถมหลังจากได้รับการฉีดโปรตีนนี้หนูก็ขับไขมันในร่างกายออกมาเรื่อย ๆ โดยไปดึงไขมันจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายออกมาจนตัวของมันผอม
-รูขุมขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมากแม้ว่ามันจะไม่มีต่อมเหงื่อแบบมนุษย์แต่สามารถหลั่งไขมันออกมาได้ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันที่เอาไว้ป้องกันเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย เป็นสาเหตุว่าทำไมขนของพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถึงมีความมัน โดยโปรตีนที่นักวิทยาศาสตร์ฉีดเข้าไปนี้กระตุ้นให้ระบบดังกล่าวทำงานมากขึ้น
-แต่เนื่องจากนี่เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ จึงยังต้องการการศึกษาวิจัยอีกมากกว่าจะนำมาใช้เป็นยาที่สามารถลดไขมันในมนุษย์ได้จริง
https://www.instagram.com/p/CSix121Jpoh
สนใจเทรนออนไลน์โดยออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายและแนะนำโภชนาการเบื้องต้นให้เหมาะสมกับเป้าหมายด้านสุขภาพหรือด้านรูปร่างเฉพาะตัว รวมถึงให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโปรแกรม (มีใบรับรอง NBCC จากสมาคมเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย) สามารถดูรายละเอียดบริการได้ที่ https://www.facebook.com/2fifinancefitness/services
"2Fi-รายวัน" ประจำวันที่ 2021.08.20 ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ ขอให้ทุกท่านมีการเงินดี มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ดี แล้วพบกันใหม่ครับ 😊
#ฟิตเนส #ออกกำลังกาย #โภชนาการ #ลดไขมัน #เพิ่มกล้ามเนื้อ #สุขภาพ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา