22 ส.ค. 2021 เวลา 05:00 • ปรัชญา
"ความเป็นกลางของธรรมชาติที่แท้จริง ... เป็นยังไง ?"
"... การวางใจที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ทั้งในระดับเบื้องต้น ท่ามกลาง แล้วก็ที่สุด
1
พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของ
การเดินในเส้นทางสายกลาง
แล้วกลับคืนสู่ธรรมชาติ
ที่มีความเป็นกลางที่แท้จริง
เพราะฉะนั้น การวางใจที่ถูกต้อง
ก็คือการวางใจที่เข้าถึงความเป็นกลาง
เข้าถึงความตั้งมั่น
เคล็ดลับของสติปัฏฐาน 4
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็คือ
มีความเพียร มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ ละความพอใจ ไม่พอใจในโลก
ให้สังเกตเวลามีความรู้สึก
หรือ สิ่งที่ดีเกิดขึ้น
เราจะเกิดความพอใจ
หลงติดในความพอใจ
ให้รู้เท่าทัน ละความพอใจ
กลับมารู้สึกตัวทั่วพร้อม
กลับมาสู่ความตั้งมั่น
กลับมาสู่ความเป็นกลาง
เวลามีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น
จะเกิดความหงุดหงิดใจ
เกิดความไม่พอใจขึ้นมา
ก็รู้เท่าทันความไม่พอใจ
กลับมารู้สึกตัวทั่วพร้อม
กลับมาสู่ความตั้งมั่น
กลับมาสู่ความเป็นกลาง
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตของเรา
การฝึกจริง ๆ มันอยู่ในโลกความเป็นจริง
เวลาโยมไปทำงานทำการ ใช้ชีวิตต่าง ๆ
แล้วมันเจอทั้งเรื่องที่ดี และเรื่องที่ไม่ดี
การวางใจที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ให้รู้เท่าทัน
สิ่งที่ดีเกิดขึ้น มักจะเกิดความพอใจ
รู้เท่าทัน รักษาความตั้งมั่นไว้
พอสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น เกิดความไม่พอใจ
รู้เท่าทัน ละความไม่พอใจ
ตรงนี้โยมจะทำได้ดีเนี่ย
โยมต้องอาศัยการเพาะบ่ม
กำลังของสติสัมปชัญญะ
ทำความรู้สึกตัวให้มาก
จนจิตมันตื่นรู้ขึ้นมา
แล้วโยมจะเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า
"อุเบกขา" นั่นเอง การวางเฉย
อุเบกขามีทั้งระดับโลกียธรรม
และระดับโลกุตรธรรม
ในเบื้องต้นก็คือเข้าถึงจิตที่ตั้งมั่นก่อน
กลางยังไง ?
ความเป็นกลางจะเกิดขึ้น
เมื่อโยมเริ่มฝึกทำความรู้สึกตัว
จนเกิดภาวะจิตตั้งมั่นขึ้นมา
มันก็จะเกิดเรื่องของความเป็นกลางขึ้นมา
แต่ความเป็นกลางที่แท้จริง
จะเกิดเมื่อเราเข้าถึงเนื้อธรรมที่บริสุทธิ์
ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
คือความเป็นกลางที่แท้จริง
ไม่อะไรกับอะไร
ทั้งสิ่งที่ปรุงแต่งที่ดี หรือไม่ดีก็ตาม
มันเป็นกลางที่แท้จริง
แต่ความเป็นกลางที่แท้จริง
ไม่ใช่กลางแบบจืดชืดนะโยม
เป็นกลางแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีแต่ความปรารถนาดี มีแต่ความเกื้อกูลกัน
ความเป็นกลางที่แท้จริง
ไม่ใช่การวางเฉยแบบฤาษีดาบสนะโยม
นิ่ง ไม่เอาอะไรกับใคร ไม่อะไรกับใคร
1
ความเป็นกลางของธรรมชาติ
เปรียบเหมือนแผ่นดิน
เปรียบเหมือนสายน้ำ
แผ่นดินอะไรกับใครไหม ?
แต่ที่เราต้องเหยียบต้องย่ำ ต้องทำทุกอย่างนี้
เพราะเราอยู่บนอะไร ?
โอบอุ้มทุกสรรพสิ่ง
เหมือนสายน้ำ
อะไรกับใครไหม ?
ใครจะทำอะไรกับน้ำ น้ำทำอะไรไหม ? ไม่
แต่ที่เรามีชีวิตอยู่ได้ เพราะเราต้องมีน้ำไหม ?
ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ก็เป็นเช่นนั้น
ความเป็นกลางแบบนั้น
เป็นกลางที่ไม่อะไรกับอะไร
แต่ว่ามีแต่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกสรรพสิ่ง
โยมจะเข้าถึงสภาวะนี้ได้
เมื่อโยมสามารถสลัดคืน
เข้าถึงความบริสุทธิ์ได้
แล้วโยมจะรู้จักสิ่งที่เรียกว่า
ความเป็นกลางที่แท้จริง
เพียงแต่ว่าการเข้าถึงเนื้อธรรมตรงนี้
มันไม่ได้อยู่ได้ตลอดเวลานะ
อาจจะเข้าถึงที่เรียกว่าหลุดพ้นได้ชั่วคราว
โดยเฉพาะเวลาที่พาฝึก
ผู้ที่จะเข้าถึงความเป็นกลางที่เป็นสมุจเฉทได้
มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นนะ
พระอรหันต์เป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์
ก็คือการเข้าถึงความเป็นกลางแบบเป็นสมุจเฉทแล้ว
แต่เรา ๆ ท่าน ๆ ก็อาจจะเข้าถึงได้ชั่วคราว
ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ผลุบมากกว่าโผล่เยอะ
ก็ต้องค่อย ๆ ปฏิบติไปนะ
โดยเฉพาะช่วงที่ลงสอนเช้าลงสอนค่ำ
เป็นโอกาสให้ท่านทั้งหลาย
ได้สัมผัสความเป็นกลางที่แท้จริง ... "
ธรรมบรรยายโดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา