14 ส.ค. 2021 เวลา 05:58 • ปรัชญา
"สภาวะรู้ เป็นยังไง ...? "
" ... ตรงนี้ กำลังสติสัมปชัญญะ
เราต้องมีกำลังพอ
จนมันจะหลุดจากแรงดึงดูดตรงนี้แหละ
แรงดึงดูดตรงวังวนตาพายุเนี่ย
มันจะมีแรงดึงดูดมาก
เราต้องสะสมกำลัง
สภาวะรู้ตรงนี้จนมีกำลังพอ
จนมันเกิดสภาวะเบิกบานออกมา
การเปลื้องจิตมันจึงเกิดขึ้น
หรือว่าการแยกตรงนี้ มันจึงเกิดขึ้น
เมื่อแยก ... เราถึงจะเห็น
การแตกดับของจิต หรือ วิญญานขันธ์ได้
สรุปก็คือ ให้สะสมกำลังสติสัมปชัญญะ
จนเกิดสภาวะรู้ตื่น แล้วก็เบิกบานออกมา
สังเกตง่าย ๆ
คนที่จะอยู่วิปัสสนาญานเนี่ย
มันจะเป็นสภาวะรู้แบบกว้าง ๆ
แยกออกไหม ?
บางทีรู้ มันรู้แค่ข้างใน
ถ้ารู้ข้างในก็คือ สภาวะของจิตตั้งมั่น
แต่บางคนจะรู้สึกว่ารู้เนี่ย มันกว้าง
เราไม่ได้อยู่แค่ข้างในแล้ว
แต่มันจะเป็นรู้แบบกว้าง แบบอากาศเลย
คือรู้กว้าง ๆ
แล้วทุกอย่างที่อยู่ในนี้
มันจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้
แตกดับของใครของมัน
ให้รู้สภาวะมันเหมือนเรดาร์
รู้จักเรดาร์ไหม ?
ข่ายเรดาร์เวลามันกางออกมาเนี่ย
มันรู้ได้รอบทิศเลย
ทุกอย่างที่อยู่ในข่าย
มันก็จะถูกตรวจจับทั้งหมด
สภาวะรู้ที่เข้าสู่วิปัสสนาญานแล้ว
มันจะเป็นแบบนั้น
คือมันจะรู้แบบกว้าง
ถ้ากำลังดี ๆ มันจะรู้แบบ 360 องศาเลย
มันจะไม่ได้รู้แคบอยู่แค่ตรงนี้
แต่ว่ามันจะรู้กว้าง
แล้วทุกอย่างที่อยู่ในข่ายมันน่ะ มันจะแตกดับอะไร
มันจะรู้การแตกดับทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้น แยกออกไหม ?
เวลารู้ที่มันรู้ข้างใน กับรู้ที่มันกว้าง ๆ
ใครที่รู้สึกว่ารู้ตัวเองมันกว้างนั่นแหละ
นั่นแหละอยู่ในสภาวะของวิปัสสนาญาน
แล้วมันพลิกไปพลิกมาได้
ก็คือ ถ้าพลิกมาเป็นรู้ จิตตั้งมั่น ก็จะเป็นสมาธิ
ถ้ารู้กว้าง ๆ ก็จะเป็นวิปัสสนา
มันพลิกไปพลิกมาแบบนี้เลย
ระหว่าง ฌาน กับ ญาน นั่นเอง ... "
.
ธรรมบรรยายโดย
พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา